นโยบายส่งเสริม SMEs ญี่ปุ่น ต้นแบบการพัฒนายั่งยืน (จบ)

นโยบายส่งเสริม SMEs ญี่ปุ่น ต้นแบบการพัฒนายั่งยืน (จบ)

ในปี ค.ศ. 1956 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศใช้กฎหมายส่งเสริมช่วยเหลือทางการเงินของธุรกิจขนาดเล็ก (The Law on Finance Assistant for Promoting SMEs)

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม หรือ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น 

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ SMEs เข้มแข็ง โดยพยายามออกกฎหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานของ SMEs ออกมาอีก 2 ฉบับ คือ Small and Medium Enterprises Organization ในปี ค.ศ.1957 และได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการธุรกิจ ที่เป็นจุดอ่อนของ SMEs โดยการนำวิธีการของการบริการปรึกษาแนะนำมาใช้ โดยประกาศใช้กฎหมาย The Commerce and Industry Association Law ในปี ค.ศ.1960 และยังได้ส่งเสริม SMEs ทั้งด้านการจัดการทางการเงิน การผลิต การใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยในปี ค.ศ. 1963 ได้ประกาศใช้ The Small and Medium Enterprises Guidance Law

นอกจากนี้ เรื่องการถูกเอารัดเอาเปรียบของผู้ประอกบการขนาดเล็ก กับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ เป็นเรื่องที่รัฐบาลเข้ามาดูแลเป็นพิเศษ กลุ่มธรกิจขนาดใหญ่มักจะมีอำนาจต่อรองสูง จึงใช้ความได้เปรียบ จ่ายค่าจ้างในการผลิตอย่างไม่เป็นธรรม รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายที่สร้างความยุติธรรมในเรื่องการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับ SMEs ที่รับช่วงการผลิต เรียกว่า The Subcontractor’s Payment Law ตั้งแต่ปี ค.ศ.1956 ให้มีการจ่ายเป็นระบบ มีเงื่อนไขที่เป็นธรรมหลังจากผู้รับช่วงการผลิตและงานเสร็จสิ้นแล้ว

เมื่อญี่ปุ่นมีการเปิดเสรีทางการค้า เปิดให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รัฐบาลได้ส่งเสริม SMEs ให้เกิดความเข้มแข็ง โดยออกกฎหมายพื้นฐานของ SMEs เรียกว่า The Small and Medium Enterprises basic Law ในปี ค.ศ.1963 เพื่อส่งเสริมความสามารถพื้นฐานทางการบริหารของ SMEs ให้มีประสิทธิภาพ มีรากฐานที่มั่นคง รองรับการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนของประเทศ

เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถของ SMEs เมื่อภาครัฐได้สนับสนุน ช่วยเหลือในระยะยาว คือการออกกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต The SMEs the Small and Medium Enterprise Modernization Promotion Law and Measures for Upgrading by industry ซึ่งประกอบด้วย มาตรการหลายอย่าง บางมาตรการได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้อุตสากรรมโดยรวมของประเทศมีความเข้มแข็ง สามารแข่งขันกับการเปิดเสรีของประเทศได้

เรื่องคน ยังเป็นเรื่องที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญมาก โดยในปี ค.ศ.1980 ได้จัดตั้งสถาบันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เรียกว่า The Institute for Small Business Management and Technology มีการเปิดศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำหรับ SMEs ตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่เรียกว่า The Information Center for Small and Medium Enterprise เพื่อพัฒนาความรู้ของผู้ประกอบการเพื่อสร้างทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ มีการปิดกิจการการเลิกจ้างมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการเริ่มต้นกิจการ โดยออกกฎหมายส่งเสริมการสร้างธุรกิจใหม่ของ SMEs ที่เน้นการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในปี ค.ศ.1955 เป็นกฎหมายชั่วคราวที่เรียกว่า The Temporary Law Concerning Measures for the Promotion of the Creative Business

Activities of Small and Medium Enterprises

ในแต่ละช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ SMEs ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทั้งเรื่องของการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี่ รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ SMEs ลดต้นทุนทางการดำเนินการ สนับสนุนให้ความสำคัญกับเรื่องนวัตกรรม โดยออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อช่วยเหลือ กฎหมายส่วนใหญ่เพื่อปกป้องและเยียวยาจุดอ่อนของ SMEs กฎหมายทุกฉบับมุ้งเน้นการส่งเสริมความยั่งยืนของ SMEs หรือที่เรียกว่า Sustainable

นอกจากนี้ ยังมีการร่วมลงทุนกับธุรกิจ SMEs มีระบบการรับประกันสินเชื่อ กรณีที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น เช่น สงครามทางการค้า อัตราแลกเปลี่ยน การเกิดภัยพิบัติ การล้มละลายของคู่ค้า รัฐบาลได้มีมาตรการเพิ่มความเข้มแข็งเพื่อให้ SMEs พร้อมที่จะรับสถานะการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นโยบายและมาตรการต่างๆ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบติดตามดูแลและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และสามารถปฎิบัติได้

ไปญี่ปุนเที่ยวนี้ตระเวนไปตามชนบทบนเกาะ Hokkaido เกือบครึ่งเดือน ได้สัมผัส SMEs อย่างถึงแก่น ไม่แปลกใจในความสำเร็จของ SMEs ญี่ปุ่น นึกถึง SMEs ไทย และนโบายและมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐแล้ว เป็นห่วงครับ...