“กิจการเพื่อสังคม” กับเทรนด์ในปี2019

“กิจการเพื่อสังคม” กับเทรนด์ในปี2019

สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านทุกท่าน ในตอนก่อนดิฉันได้เขียนถึงเรื่องเทรนด์ของความรับผิดชอบต่อสังคม หรือCSRไปแล้ว

ฉบับนี้เรามาดูเทรนด์ของกิจการเพื่อสังคมหรือSocial Enterpriseกันบ้างนะคะ

อย่างที่ทราบดีว่าปัจจุบันกิจการเพื่อสังคมมีบทบาทต่อเศรษฐกิจและสังคมในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยหนึ่งในสามของStart-upทั่วโลกนั้นมีวิสัยทัศน์ในเรื่องของการแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเว็บไซต์ TriplePundit สื่อที่มุ่งนำเสนอเรื่องราวของ 3P หรือ People Planet Profit ได้ให้บรรดาผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคมทั่วโลกร่วมคาดการณ์แนวโน้มของกิจการเพื่อสังคมไว้ดังนี้

กิจการเพื่อสังคมจะยังมีขนาดเล็ก แต่ก็มีความว่องไว แม้จะมีกิจการเพื่อสังคมเกิดขึ้นมากมาย แต่การขยายธุรกิจให้เติบโตก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐและนักลงทุนควรตระหนักว่าหลายๆ กิจการนั้นเหมาะสมที่จะมีขนาดเล็กหรือ “Niche” มากกว่า แต่การที่มีขนาดเล็กก็มีข้อจำกัดทำให้อาจเสียเปรียบในการแข่งขัน เช่น ไม่สามารถลดราคาได้มากนัก แม้ผู้บริโภคจะเริ่มรับรู้และเริ่มมีMindsetที่เรียกร้องธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ แต่สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันก็ทำให้ผู้บริโภคอาจไม่มีทางเลือกในการซื้อสินค้าเพื่อสังคมมากนัก และสุดท้ายอาจหันไปหาผลิตภัณฑ์ที่Massและมีราคาถูกกว่า

องค์กรต่างๆ จะเน้นที่ ผลลัพธ์ทางสังคม”(Social Impact)มากขึ้นด้วยแรงกดดันจากอุตสาหกรรมเดียวกันและผู้บริโภค เช่น การรณรงค์การเลิกใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง หรืออย่างในประเทศจีนที่รณรงค์การจัดการปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจัง ทำให้ต่อไปเราจะเห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะในองค์กรใหญ่ๆ ที่เริ่มมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างเช่น อดิดาส ที่เปิดตัวรองเท้ากีฬารุ่นUltraBoostจากขยะพลาสติกในทะเล แต่ละคู่ทำมาจากขวดพลาสติก11ใบ โดยสามารถจำหน่ายได้กว่า ล้านคู่ในปี2017เป็นต้น ซึ่งต่อไปเราจะเริ่มเห็นความร่วมมือ การควบรวมกิจการ หรือJoint Ventureในลักษณะนี้มากขึ้น

กิจการมุ่งแสวงกำไรพร้อมสร้างประโยชน์ให้สังคม (B Corps)จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับคุณค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งนำมาสู่โมเดลธุรกิจแบบกิจการที่มุ่งแสวงหากำไรไปพร้อมๆ กับทำประโยชน์ให้สังคม(Benefit CorporationsหรือB Corps)ที่จะมีมากขึ้นB Corpsโดยเป็นองค์กรที่มีผลการดำเนินงานที่ได้มาตรฐานทั้งในมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ความโปร่งใส และการรักษาสมดุลทั้งด้านการสร้างกำไรและการสร้างประโยชน์ให้สังคม โดยปัจจุบันมีกิจการที่ได้การรับรองประเภทB Corporationsแล้วกว่า2,655กิจการ ในกว่า150อุตสาหกรรม ใน60ประเทศทั่วโลก โดยจากผลการสำรวจพบว่ากิจการB Corporationsในอังกฤษมีการเติบโตปีละประมาณ14%ซึ่งเติบโตมากกว่ากิจการอื่นๆ ในประเทศถึง28เท่าตัว

รูปแบบการระดมเงินทุนจะเปลี่ยนไป นอกเหนือไปจากการบริจาคแล้ว ต่อไปจะมีรูปแบบการลงทุนอื่นๆ ที่จะเข้ามาช่วยให้กิจการเพื่อสังคมขยายได้ เช่นประเภทการลงทุนแบบImpact Investingหรือการที่องค์กรการกุศลนานาชาติเข้ามาลงทุนสร้างกิจการเพื่อสังคมมากขึ้น รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาสังคม เป็นต้น

ภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยต่อไปจะเห็นภาพความร่วมมือของกิจการเพื่อสังคมที่หันมาร่วมมือกับภาครัฐมากขึ้นในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมอย่างเป็นระบบ เพราะการแก้ปัญหาสังคมในระดับชาติหรือระดับนานาชาตินั้นจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จะมีการใช้เทคโนโลยีและBig Dataมากขึ้นโดยจากรายงานของDeloitteได้ทำการศึกษาว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านของปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงMachine LearningและBig Dataซึ่งจะกลายเป็นโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสังคม โดยต่อไปต้นทุนของข้อมูลจะต่ำลง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการออกแบบการบริการข้อมูลต่างๆ ที่มีความแม่นยำและตอบโจทย์ให้แก่ชุมชนที่ขาดโอกาส

ไม่ว่าต่อไปกิจการเพื่อสังคมจะเติบโต หรือองค์กรต่างๆ จะหันมาให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบสังคมมากขึ้นอย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าอนาคตของโลกธุรกิจนั้นอยู่กับความสามารถในการตอบโจทย์ให้ครบทั้งสามด้าน นั่นก็คือ3P หรือ People Planet Profit นั่นเองค่ะ