โลกวิบัติ ... เพราะสัตว์ผันแปรจากธรรม !!

โลกวิบัติ ... เพราะสัตว์ผันแปรจากธรรม !!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ช่วงนี้ยังอยู่ในเขตกฐินกาล ที่ศรัทธาญาติโยมได้ร่วมกันถวายผ้ากฐินตามวัดวาอารามที่ศรัทธา

จึงเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จักฉลองศรัทธาอย่างถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย ที่แสดงเจตนากรรมไว้ชัดเจนในจุดประสงค์และความควร .. ไม่ควร ในเรื่องกฐินทาน ซึ่งเป็นทานอันถึงสงฆ์ ที่เป็นกาลทาน

จึงเป็นช่วงเวลาที่ต้องเดินทางไปร่วมฉลองศรัทธา เพื่อชักชวนเข้าสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องตรงตามพระวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต ในเรื่อง การถวาย-การรับผ้ากฐิน โดยให้งดเว้นเด็ดขาดในปัจจัยอันไม่ควรโดยเฉพาะเรื่องเงินทองที่รับมาอย่างไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย อันทาให้เกิดความเศร้าหมองต่อการถวายผ้ากฐิน...

หากในสังคมยังมีบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจในธรรม มีจิตใจตรงธรรม ดาเนินไปอย่างมีพรหมวิหาร สังคมของเราคงจะมีความสุข แม้โลกจะเริ่มวิบัติมากไปด้วยความเร่าร้อนด้วยไฟกิเลส

พรหมวิหารธรรม เป็นธรรมพัฒนาจิตหรือบริหารจิตที่สาคัญที่สุด ซึ่งนอกเหนือจะให้คุณค่าต่อชีวิตเพื่อสันติสุขแล้ว ยังเป็นบาทธรรมเพื่อการพัฒนาจิตเข้าสู่องค์ปัญญาชอบ (สัมมัปปัญญา) ตามกระบวนการวิปัสสนากรรมฐานในพุทธศาสนา

แม้ในระดับโลกียสุข ก็ให้คุณมากหลายต่อบุคคลที่ยังเกี่ยวข้องกับโลกธรรม โดยเฉพาะการมีจิตเกื้อกูลสงเคราะห์ต่อผู้อื่น ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ เพื่อหวังให้เกิดประโยชน์สุข ออกมาจากความทุกข์อย่าง “จริงใจและถูกต้องตรงธรรม .. มีความรู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน... ฯลฯ”

ดังการเจริญพรหมวิหาร ๔ ที่เราชอบพูดถึงกัน เมื่อพบเห็นสิ่งต่างๆ ที่ควรแก่การมีเมตตากรุณา ทั้งต่อคนที่เรารัก เราชอบ คนที่เราเฉยๆ หรือเราชัง หรือชังเรา ซึ่งเป็นแบบจาเพาะเจาะจงอยู่ในเขตแดนระหว่างเรา กับการมีเมตตาอย่างไม่มีเขตแดนในสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีเมตตาเสมอกัน ไม่ว่าคนนั้น สัตว์นั้น จะเป็นใคร มีความรู้สึกอย่างไรต่อกันกับเรา ด้วยความจริงใจที่เข้าใจในความทุกข์ของสัตว์โลก จึงมีจิตปรารถนาให้สัตว์เหล่านั้นมีความสุข เรียกว่า เมตตาสีมาสัมเภท เพื่อประหารข้าศึก คือ โทสะกิเลสโดยตรง แต่ต้องระวังมิให้เกิดราคะในเมตตานั้น ที่จะแปรจิตไปสู่ราคะจิต

แม้ในกรุณา ที่ควรเจริญควบคู่กับเมตตา ด้วยความสงสารในบุคคลหรือสัตว์ที่กาลังตกทุกข์ได้ยาก เผชิญกับความฉิบหาย จนเกิดความสังเวช จึงนาไปสู่ความปรารถนาที่ต้องการช่วยเหลือให้พ้น2

ทุกข์ภัย ด้วยความหวั่นใจต่อความทุกข์ของผู้อื่น เสมอด้วยความทุกข์ของตน จึงไม่คิดนาทุกข์ไปให้ใครๆ มีแต่ปรารถนาให้เขาเหล่านั้นพ้นทุกข์ ผู้มีจิตใจคิดกรุณา จึงออกมาจากจิตวิหิงสา คิดเบียดเบียนผู้อื่น แต่ต้องระวังมิให้จิตตกไปสู่บ่อแห่งความสงสาร จนเกิดความทุกข์ใจไปกับเขาด้วย ตรงนี้สาคัญยิ่งต่อการทดสอบความเข้มแข็งของสติปัญญาว่า มีความรู้ในธรรมแค่ไหน อย่างไร

ถึงในมุทิตาก็เช่นเดียวกัน เมื่อจิตใจคนเรามีเมตตากรุณา ก็จะเกิดมีมุทิตาขึ้น เพื่อยินดีในความสุข .. ความพ้นจากทุกข์ภัยของบุคคลหรือสัตว์เหล่านั้น ขจัดความริษยา ด้วยเป็นเรื่องสาคัญที่สุดต่อการดารงอยู่ในโลกอย่างสันติสุข ไม่ก่อเวรภัยให้กันและกัน

ดังนั้นการจะทาให้สังคมมนุษย์มีความสันติสุข จึงมีคาตอบอยู่ตรงนี้ คือ ต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจิตใจด้วยเมตตากรุณา เพื่อละออกมาจากความริษยา ที่ประกอบด้วย มุทิตาธรรม แต่ต้องระวังความฟุ้งซ่าน .. ความร่าเริงยินดี จนจิตเสียสมดุล ซึ่งต้องค้าชูด้วย อุเบกขาธรรม ที่จะบริหารธรรมทั้งสาม ได้แก่ เมตตากรุณา, มุทิตา ไม่ให้เสียสมดุล ไม่ปรับเปลี่ยนไปสู่ อคติธรรม !! ซึ่งทั้งหมดทั้งหลายที่กล่าวมา จะสาเร็จได้ เมื่อมีการเจริญสติปัญญา ประกอบความเพียรชอบ ตรงตามแนวทางมัชฌิมาปฏิปทาจริงๆ...

เจริญพร

[email protected]