กฎหมายเศรษฐกิจการค้าสมัยรัชกาลที่ 5

กฎหมายเศรษฐกิจการค้าสมัยรัชกาลที่ 5

ในสมัยรัชกาลที่5 เป็นช่วงที่ประเทศไทยต้องปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยแบบตะวันตก เพื่อให้รอดพ้นจากการคุกคามของชาติตะวันตกในการล่าอาณานิคม

เป็นช่วงของการปฏิรูปประเทศในด้านต่างฯ ที่สำคัญคือการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ การคลัง การปกครอง ระบบศาลและการปฏิรูปกฎหมาย

ารปฏิรูประบบการคลัง พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 โปรดเกล้าให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น รวมงานเก็บภาษีอากรไว้แห่งเดียวกันที่หอรัษฎากรพิพัฒน์นี้ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีอากร มีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ.2418 ประกาศใช้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กรมพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ.2418 จัดระเบียบราชการในกรมพระคลังหาสมบัติ โดยกำหนดวิธีการส่งเงิน รับเงิน ตรวจเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้น ทรงปฏิรูปการจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของแผ่นดินในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นระบบ โดยโปรดเกล้าให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณ

โปรดเกล้าให้แยกรายจ่ายส่วนพระองค์ออกจากรายจ่ายของแผ่นดิน ในปี 2441ได้มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของแผ่นดิน แล้วมอบให้พระคลังข้างที่เป็นฝ่ายบริหารทรัพย์สินส่วนพระองค์ต่อไป

การปฏิรูประบบเงินตราให้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายทรัพย์สิน ในปี พ.ศ.2442 โปรดเกล้าให้สร้างหน่วยเงินตรา ที่เรียกว่า “สตางค์”ขึ้นใช้โดยกำหนดให้100สตางค์เป็น 1 บาท พร้อมทั้งผลิตเหรียญสตางค์ขึ้น 4 ราคาคือ 20 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์ และสองสตางค์ครึ่ง ซึ่งต่อมาให้ยกเลิกหน่วยเงินที่ใชอยู่เดิม คือ เงินซีก เสี้ยว อัฐและโสฬส ในปี พ.ศ.2445 โปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.121 และจัดตั้งกรมธนบัตรขึ้นทำหน้าที่ในการออกธนบัตรให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น

การปฏิรูปกฎหมายและระบบศาล ในสมัยรัชกาลที่ 5ไทยมีการติดต่อมีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกมากยิ่งขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษ และทำสนธิสัญญากับประเทศอื่นฯในลักษณะเดียวกัน ประเทศเหล่านั้น ไม่ยอมรับระบบกฎหมายไทยและระบบศาลไทย เมื่อคนในบังคับของชาติเหล่านั้น มีข้อพิพาทกับคนไทย ก็ไม่ยอมขึ้นศาลไทยและใช้กฎหมายไทย ทำให้เกิดสภาพสิทธินอกอาณาเขตของคนในบังคับของชาติเหล่านั้น รัชกาลที่5 จึงทรงเห็นความสำคัญของการปฏิรูปกฎหมายและระบบศาลให้มีความเหมาะสมทันสมัยมากขึ้น อันจะนำไปสู่การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในที่สุด รัชการที่5 ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น รวมศาลที่กระจัดกระจายอยู่ในกระทรวงต่างฯมาอยู่ที่กระทรวงยุติธรรมเพียงแห่งเดียว จัดระบบศาลเสียใหม่ แยกตุลาการจากฝ่ายธุรการ

ในการปรับปรุงระบบกฎหมาย เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ซึ่งจบการศึกษากฎหมายจากประเทศอังกฤษ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ทรงเป็นองค์ประธานในคณะกรรมการชำระกฎหมายไทย คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นควรให้ประเทศไทยใช้กฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายเป็นต้นแบบ กล่าวคือปฏิรูประบบกฎหมายไทยเป็นระบบใช้ประมวลกฎหมายเพราะมีการแบ่งหมวดหมู่กฎหมายอย่างเป็นระเบียบ เหมาะสมกับประเทศไทย ที่จะทำให้การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา เพื่อยกเลิกข้อเสียเปรียบด้านกฎหมายและการศาลโดยเฉพาะเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตจะสะดวกยิ่งขึ้น

คณะกรรมการชำระกฎหมาย เห็นควรให้จัดทำประมวลกฎหมายอาญาก่อนประมวลกฎหมายฉบับอื่น และได้ยกร่างขึ้นเป็นแนว นอกจากนี้รัชกาลที่5 ยังโปรดเกล้าให้ตั้งคณะกรรมการร่างกฎหมายขึ้นอีกหนึ่งชุด มีนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสเป็นประธาน คณะกรรมการร่างกฎหมายได้รับร่างประมวลกฎหมายอาญาที่คณะกรรมการชำระกฎหมายชุดก่อนได้ร่างเป็นแนวทางมาตรวจชำระใหม่ ยกร่างขึ้นเป็นประมวลกฎหมายอาญาโดยเทียบเคียงจากประมวลกฎหมายอาญาของฝรั่งเศสและฮอลันดาเป็นหลัก เมื่อร่างเสร็จรัชกาลที่5ได้โปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย

ต่อมามีการประกาศใช้กฎหระกฎหมายอีกหลายฉบับ หนึ่งในกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่ในสมัยรัชกาลที่5 คือ พ.ร.บ.สิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ.120 ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของไทย

จุดเริ่มต้นหุ้นส่วนบริษัทไทย  การร่วมทุนประกอบกิจการค้า โดยจัดตั้งบริษัทของไทย เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่5 ในสมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทเป็นการเฉพาะ ดังนั้นผู้ที่ประสงค์จะเข้าทุนร่วมหุ้นเพื่อกระทำการค้าขายโดยจัดตั้งเป็นบริษัท ต้องนำความขอพระราชทานอำนาจพิเศษ โดยรัชการที่5 ทรงพระราชทานระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งเป็นรายฯ ตามที่มีผู้กราบบังคมทูลขึ้นมา และจะต้องจดทะเบียนไว้เป็นที่เปิดเผยว่ามีทุนเป็นจำกัดและเป็นบุคคลตามกฎหมายที่กองทะเบียนบริษัท กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อได้รับพระราชทายพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงจะถือว่าเป็นบริษัทโดยสมบูรณ์ มีสภาพเป็นนิติบุคคลมีความรับผิดจำกัดเท่าจำนวนหุ้นตามที่ปรากฏในใบหุ้นของบริษัทนั้น

บริษัทแรกที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต คือ บริษัทรถรางพระพุทธบาท ทุนจำกัด โดยรัชกาลที่5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ออกประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษให้ผู้ที่เข้าหุ้นส่วนในรถรางพระพุทธบาทเป็นบริษัททุนจำกัดและเป็นบุคคลได้ตามกฎหมายเมื่อวันที่ 25 กันยายน รศ.120 (พ.ศ.2444) ต่อจากนั้นมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯจัดตั้งบริษัทจำกัด ตามประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษขึ้นอีก ตามข้อมูลที่ตรวจพบในประกาศราชกิจจานุเบกษารวมทั้งสิ้น 17 บริษัท

1 ใน 17 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ตั้งขึ้นตามประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษ คือ บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม ร.ศ.125 (พ.ศ.2449 และเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ยังประกอบการกิจการจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบัน คือธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) ส่วยอีก16บริษัท ได้เลิกกิจการไปหมดแล้ว

อันเนื่องจากพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย ดังนั้นพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตั้งบริษัทจำกัด ตามประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษของรัชกาลที่5 จึงเป็นกฎหมายจัดตั้งบริษัทจำกัด ถือได้ว่าเป็นกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทฉบับแรกของประเทศไทย