เส้นทางสู่การเลือกตั้ง พ.ศ.2562 (ตอนที่ 1)

เส้นทางสู่การเลือกตั้ง พ.ศ.2562 (ตอนที่ 1)

หลังจากได้มีการประกาศกฎหมายลูกที่จำเป็นสำหรับการเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็เป็นอันว่าต่อจากนี้นับไป จะต้องมีเลือกตั้งภายใน 150 วัน

แต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” ดังนั้น ถ้าจะนับรวมกับ 150 วัน ก็หมายความว่า จะต้องมีการเลือกตั้งภายใน 240 วัน นั่นคือ นับจากวันที่ 12 ก.ย 2561 ไปอีก 2540 วัน ก็ไปตกประมาณกลางเดือน พ.ค.2562 จะต้องมีเลือกตั้งแน่ๆ 

ขณะเดียวกัน สิ่งที่คอการเมืองรอฟังอยู่ก็คือ การตัดสินใจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าจะเอาอย่างไรบนเส้นทางการเมือง ? นั่นคือ ต้องการที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไหม ? และจะเลือกเดินบนเส้นทางแบบไหน ?

ตัวเลือกอันแรกคือ ประกาศชัดเจนสวนกระแส ไม่ว่าจะเป็นกระแสเชียร์หรือกระแสต้าน นั่นคือประกาศว่าไม่ต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ว่าจะเป็นนายกฯคนในหรือคนนอก หลังการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาลได้เรียบร้อย ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว จะยุติบทบาททางการเมืองอย่างสิ้นเชิง 

ตัวเลือกอันที่ คือ ประกาศชัดเจนว่าจะรับใช้บ้านเมืองอาสาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป โดยจะลงชื่อกับพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง เพื่อหวังให้ประชาชนที่สนับสนุนตนได้มีช่องทางในการสนับสนุนที่เป็นทางการ นั่นคือ ลงคะแนนเลือกในบัตรเลือกตั้งเลือก ส.ส. ของพรรคที่ลงสมัครชิงชัยในทุกเขตเลือกตั้ง 

ตัวเลือกอันที่ คือ ประกาศชัดเจนว่า จะเป็นนายกรัฐมนตรี คนนอก คือจะรอให้สภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถเลือกนายกฯ “คนใน” ได้แล้ว และหากมีการปลดล็อกได้ และหากเสียงในสภาทั้งสองมีเกิน 375 ต้องการตนเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ยินดีที่จะรับเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะต้องการให้ประเทศเดินหน้าได้ต่อไป ไม่ชะงักงัน 

 จากตัวเลือกทั้ง 3 นี้ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ เลือกตัวเลือกอันที่ 2  พรรคการเมืองใดที่ได้ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์มา ก็จะเกิดการได้และเสียอย่างชัดเจน (และพล.อ.ประยุทธ์จะไม่ไปอยู่กับพรรคเพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน) 

 ที่ว่าได้ก็คือ พี่น้องประชาชนที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จะสามารถมีช่องทางที่จะสนับสนุนในการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้แน่นอนชัดเจน พวกที่แอบเชียร์อยู่ในใจ ก็จะไปลงคะแนนให้พรรคการเมืองนั้น ถ้าหากมีคนเชียร์พล.อ.ประยุทธ์เป็นจำนวนมากมหาศาล ประเภทได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง และแถมเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร พล.อ.ประยุทธ์ก็จะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากวิถีประชาธิปไตยอย่างเต็มภาคภูมิ และมีความชอบธรรมทางการเมืองสูงยิ่ง 

ถึงแม้ว่าจะไม่ได้คะแนนเสียงเกินครึ่ง แต่ได้ประมาณ 150 ก็เพียงพอ เพราะการลงคะแนนไว้วางใจให้ผู้ใดเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องได้คะแนนจากทั้ง 2 สภา หากในสภาผู้แทนราษฎร พรรคพล.อ.ประยุทธ์ได้มาแล้ว 150 เสียง และหากวุฒิสภาซึ่งมี 250 เทคะแนนให้ (หากเทให้ทั้งหมดจริงๆ ?!) ก็จะรวมได้ 400 เสียง ก็เพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่ต้องไม่ลืมว่า รัฐธรรมนูญกำหนดว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะทำได้เฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหากมีเสียงเกิน 250 ก็จะสามารถไม่ไว้วางใจได้ 

ดังนั้น หากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์มีเสียงในสภาผู้แทนฯ 150 และจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่มีพรรคการเมืองอื่นร่วมเลย ก็แปลว่า เสียงของพรรคการเมืองอื่นๆ ที่เหลือในสภาฯอีก 350 ตกเป็นฝ่ายค้าน พวกนี้ก็คงจ้องที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อเปลี่ยนรัฐบาล ก็ถือว่าสุ่มเสี่ยงอยู่ไม่น้อย แต่ถ้าเกิดคะแนนเสียงของพรรคพล.อ.ประยุทธ์ที่ได้มานั้น ไม่น้อยและไม่มาก นั่นคือ ไม่ถึงกับน้อยจนห่อเหี่ยวเสียกำลังใจไร้น้ำยา แต่ก็ยังไม่มากถึง 126 เสียงที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวโดยมี 250 ของวุฒิสมาชิกสนับสนุน นั่นคือ อาจจะได้เสียงมาประมาณ 100 

นั่นหมายความว่า จะต้องไปหาเสียงจากพรรคการเมืองอื่นมาร่วมจัดตั้งรัฐบาล แบบนี้ ถ้าจัดตั้งได้ รัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ก็อยู่ในสภาวะลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ดี โครงการความคิดนโยบายต่างๆ ที่อยากจะทำ ก็อาจจะไม่ง่ายนัก 

 ส่วนข้อเสียของตัวเลือกที่ 2 ก็คือ หากพรรคการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนน้อยถึงน้อยมาก อนาคตที่ พล.อ.ประยุทธ์หวังไว้ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีก็จบเห่ ถ้าเป็นแบบนี้ พล.อ.ประยุทธ์ก็ไม่ควรจะดันทุรังที่จะไปรวบรวมเสียงจากพรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อให้ได้ถึง 126 เสียง เพื่อไปรวมกับ 250 ของวุฒิสมาชิก เพราะแม้จัดตั้งรัฐบาลได้ ก็อยู่ยากอยู่เย็นเสียเหลือเกิน 

 ขณะเดียวกัน ในตัวเลือกอันที่ 2 นี้ ก็ยังมีประเด็นอยู่ คือ หากพรรคการเมืองที่ พล.อ.ประยุทธ์ไปเข้าด้วย ดันเป็นพรรคการเมืองที่เต็มไปด้วยนักการเมืองที่ประชาชนที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ กลืนไม่เข้าจริงๆ คนเหล่านี้ก็อาจจะเห็นว่า การเมืองไม่ได้พัฒนาไปไหน เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ไปรวมกับนักการเมืองที่ตนเคยทำรัฐประหาร และพูดเป็นนัยๆ ว่า นักการเมืองไม่ดี แต่ตอนนี้ กลับไปร่วมหัวจมท้ายกับนักการเมืองเดิมๆ เหล่านี้ ทำนองว่า เมื่อตอนรัฐประหารก็ใช้ไม้กวาดกวาดฝุ่นนักการเมืองออกไปจากเวทีการเมือง แต่ตอนนี้กลับทำตัวเป็นเครื่องดูดฝุ่น ดูดฝุ่นที่กวาดทิ้งไปกลับมาอีก ประชาชนที่เห็นแบบนี้ก็จะไม่เลือก และยินดีจะไปกาช่องประสงค์ไม่เลือกใครแทน  แต่ประชาชนที่หน้ามืดหลงรัก พล.อ.ประยุทธ์ เสียจนยอมกลืนทุกอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ก็ยังจะได้เสียงจากคนเหล่านี้สนับสนุนอยู่ 

แต่ก็ถ้าลงในรายละเอียด อาจจะพบว่า ประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งก็จะมีพฤติกรรมต่างกันไป เพราะบางเขตที่มีนักการเมืองที่ทรงอิทธิพลอยู่ ประชาชนก็จะลงคะแนนตามนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ในเขตนั้น ดังที่จะเห็นได้จากการที่ได้ยินข่าวว่า มีคนในรัฐบาลไปตีกอล์ฟกับอดีตนักการเมืองในบางพื้นที่ หรืออดีตหัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่ไปมอบกระเช้า เป็นต้น พื้นที่แบบนี้ จะขึ้นอยู่กับนักการเมืองแบบนั้นที่จะคุมทิศทางคะแนนเสียงได้ แต่ถ้าเป็นเมืองใหญ่ๆ ก็คนก็จะมีความอิสระคิดเองว่าจะลงให้ใคร

แต่ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ไปเข้ากับพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่ง ก็ได้เสียอย่างเห็นๆ อีกเหมือนกัน เป็นอย่างไรนั้น จะขอกล่าวในตอนต่อไป ซึ่งก็คือวันที่ 18 ต.ค. ถึงวันนั้นแล้ว เราอาจจะทราบว่า พล.อ.ประยุทธ์ตัดสินใจอย่างไร และจะได้กล่าวถึงตัวเลือกที่ 1 กับตัวเลือกที่ 3  ซึ่งแม้ว่าจะดูแตกต่าง แต่จริงๆ แล้ว มันมีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้งยิ่งนัก !