ความหลากหลายของ ICO ที่ไม่ได้มีแค่ Cryptocurrency

ความหลากหลายของ ICO ที่ไม่ได้มีแค่ Cryptocurrency

ความสนใจของบริษัทที่ต้องการระดมทุนผ่าน ICO นั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในทั่วทุกมุมโลก

แม้ว่า ICO (Initial Coin Offering) จะกำเนิดมาบนโลกนี้ได้เพียงไม่กี่ปี แต่ความสนใจของบริษัทที่ต้องการระดมทุนผ่าน ICO นั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในทั่วทุกมุมโลก จากทั้งบริษัทที่อยู่ในธุรกิจมานานและบริษัทที่เป็น Start-up ซึ่งเพิ่งเริ่มทำธุรกิจ ส่งผลให้ยอดเงินที่ระดมทุนได้ผ่านช่องทาง ICO ในปี 2018 จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมมีมูลค่าสูงถึง 6 แสนล้านบาท (ข้อมูลจาก www.coinschedule.com)

โดยมีประเทศที่เป็นผู้นำในการออก ICO ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และสิงคโปร์แม้ว่า ICO (Initial Coin Offering) จะกำเนิดมาบนโลกนี้ได้เพียงไม่กี่ปี แต่ความสนใจของบริษัทที่ต้องการระดมทุนผ่าน ICO นั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในทั่วทุกมุมโลก จากทั้งบริษัทที่อยู่ในธุรกิจมานานและบริษัทที่เป็น Start-up ซึ่งเพิ่งเริ่มทำธุรกิจ ส่งผลให้ยอดเงินที่ระดมทุนได้ผ่านช่องทาง ICO ในปี 2018 จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมมีมูลค่าสูงถึง 6 แสนล้านบาท (ข้อมูลจาก www.coinschedule.com) โดยมีประเทศที่เป็นผู้นำในการออก ICO ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และสิงคโปร์

สำหรับลักษณะของ Token ที่เสนอขายนั้น สำนักงาน กลต. ของประเทศไทย และหน่วยงานกำกับดูแลตลาดการเงินของประเทศประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Swiss Financial Market Supervisory Authority หรือ FINMA) มีแนวทางที่คล้ายกันในการแบ่งคุณลักษณะของ Token ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.Cryptocurrency หรือ Payment Token ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ หรืออาจใช้เพิ่มความสะดวกในการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยที่คุณสมบัติสำคัญของ Token ประเภทนี้คือความน่าเชื่อถือของกระบวนการกำหนดปริมาณ Token และการตรวจสอบการทำธุรกรรมผ่าน Blockchain Network ซึ่งเรามักจะเรียก Token ประเภทนี้ว่า Coin เช่น Bitcoin เป็นต้น (Bitcoin เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของการนำ Blockchain Technology มาใช้ แต่ Blockchain ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก)

2. Utility Token ถูกออกแบบให้ผู้ถือสามารถนำ Token มาแลกกับสิทธิ์ในการใช้สินค้าหรือบริการในอนาคต ซึ่งโดยส่วนมากมักเป็นบริการที่ใช้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น Token สำหรับอ่านข่าว หรือ Token สำหรับใช้ฟังเพลง หรือ Token สำหรับการเข้าถึง Content ต่าง ๆ แบบจ่ายทีละ Content เป็นจำนวนเงินน้อยสุด ๆ ที่เรียกว่า Micropayment

3. Investment Token หรือ Asset Token ถูกออกแบบมาให้ผู้ถือ Token ได้มีส่วนร่วมลงทุนในบริษัท มีส่วนได้เสียจากผลประกอบการของบริษัทในอนาคต ซึ่งคล้ายกับการลงทุนซื้อหุ้นสามัญของบริษัท หรืออาจเป็น Token ที่มีสินทรัพย์สภาพคล่องหนุนหลังอยู่เต็มจำนวน (Asset-backed Token)

สิ่งที่น่าสนใจคือ Issuer และ ICO Portal สามารถร่วมกันใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อออกแบบ Token ให้ตอบโจทย์หรือแก้ Pain Point ของสังคมได้ โดยที่ Token อาจถูกออกแบบมาให้มีคุณลักษณะร่วมระหว่าง 3 ประเภทข้างต้นได้ ตัวอย่างเช่น การออก Token ที่มีทองคำหนุนหลังเต็มจำนวน ทำให้มีลักษณะเป็น Asset Token และกำหนดให้ผู้ถือมีสิทธิ์ขอใช้งาน Debit Card ที่ตัดยอด Token สำหรับใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าทั่วไปได้ ทำให้มีความเป็น Payment Token อย่างชัดเจน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การออก Token เพื่อระดมทุนไปทำธุรกิจตามปกติของบริษัทที่ต้องการขยายกิจการ แต่ไม่ต้องการเสียสัดส่วนการเป็นเจ้าของ โดยออกแบบให้ผู้ถือ Token ได้รับผลตอบแทนตามผลกำไรของบริษัทในอนาคต ซึ่งมีลักษณะเป็น Investment Token และออกแบบให้ผู้ถือสามารถนำ Token มาใช้บริการจาก Issuer ได้ โดยมีส่วนลดที่ถูกกว่าการซื้อด้วยเงินสด ส่งผลให้ Token นี้มีความเป็น Utility Token อีกด้วย

จะเห็นได้ว่ากระบวนการ ICO ในการออกแบบ Token นั้น มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ระดมทุนและผู้ลงทุน รวมทั้งสามารถปรับให้เข้ากับระบบนิเวศน์ในแต่ละอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม หนึ่งในหน้าที่ของ ICO Portal ที่จำเป็นต้องทำคือการออกแบบ Token ให้ตอบสนองความต้องการของ Issuer และมีความน่าสนใจมากพอที่ผู้ลงทุนจะหันมาซื้อ Token ได้ตามยอดเงินที่ต้องการ รวมทั้งทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของนักลงทุนด้วยการติดตามดูแลการดำเนินงานของ Issuer อย่างน้อย 1 ปี นับจากวันที่ระดมทุน มาถึงจุดนี้ ผมมั่นใจว่าทุกคนคงจะเห็นภาพกันแล้วนะครับว่า 'ICO ไม่ได้มีแค่ Cryptocurrency' อย่างแน่นอนครับ