ทำไม ‘วิกฤต EM ร้อนแรงสุด’ ในช่วงนี้

ทำไม ‘วิกฤต EM ร้อนแรงสุด’ ในช่วงนี้

หลายคนคงสงสัยว่า เหตุใดวิกฤติตลาดเกิดใหม่หรือ EM จึงเหมือนขว้างงูไม่พ้นคอ จะคอยกลับมาแบบบูมเมอแรง มาถึงขณะนี้ ล่วงเลยมากว่า 3 เดือน

นับจากวิกฤติ EM เริ่มกลับมาอีกรอบ โดย ณ ตอนนี้ ยังมีแอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย และอาจจะรวมถึงจีนซึ่งคงต้องดูต่ออีกนิด มาร่วมวงกับขาประจำอย่างตุรกีและอาร์เจนติน่า คำตอบคือ บรรดาปัจจัยที่ส่งผลกระตุ้นให้เกิดวิกฤต EM ได้เกิดขึ้นในช่วงนี้นั้น อันประกอบด้วย สงครามการค้า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่สูงขึ้น และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็ง ได้อยู่ในช่วงพีคในทุกปัจจัย ณ ตอนนี้ โดยจะขออธิบายการทำงานของปัจจัยเหล่านี้ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน จนวิกฤต EM กำลังมาจ่อหน้าบ้านเราแล้ว ดังนี้

หนึ่ง ในวันนี้แล้ว ที่รัฐบาลของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มีแผนจะสรุปผลการทำ Public Hearing ว่าจะดำเนินการตั้งกำแพงภาษีต่อสินค้านำเข้าของจีน มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือไม่อย่างไร จะส่งให้สงครามการค้าร้อนแรงขึ้นไปอีก

ทำไม ‘วิกฤต EM ร้อนแรงสุด’ ในช่วงนี้

ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐมีแนวโน้มจะลดกำลังการผลิตหรืออุปทาน เนื่องจากทราบดีว่าจีนซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ใช้และผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ ดังรูปที่ 1 จะตั้งกำแพงภาษีตอบโต้สหรัฐต่อผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบที่ส่งออกจากสหรัฐ ส่งผลให้น้ำมันดิบที่ผลิตทั่วโลกมีราคาสูงขึ้นจากอุปสงค์ของจีน ดังรูปที่ 2 

ทำไม ‘วิกฤต EM ร้อนแรงสุด’ ในช่วงนี้

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐ ทั้งแก๊สโซลีน และ ดีเซล ที่จำหน่ายในสหรัฐก็ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากอุปสงค์ที่ดีขึ้นมากจากเศรษฐกิจของตนเองที่เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน

สอง ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด จึงน่าจะมีมุมมองที่จะป้องกันเงินเฟ้อสูงหรือ Hawkish มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้ตลาดคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อในเดือน ธ.ค.นี้ จึงส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์ให้น่าจะแข็งค่าขึ้นกว่านี้

ทั้งนี้ จากราคาน้ำมันที่สูงผนวกกับค่าเงินดอลลาร์แข็ง คือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดในการทำให้เชื้อความอ่อนแอของพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศตลาดเกิดใหม่โผล่ขึ้นมาเป็นวิกฤต เนื่องจากประเทศเหล่านี้มักจะมีปริมาณหนี้ต่างประเทศที่สูงเมื่อเทียบกับสำรองเงินตราระหว่างประเทศ เมื่ออัตราดอกเบี้ยของสหรัฐสูงขึ้นรวมถึงค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ก็ทำให้เศรษฐกิจประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่อ่อนแอมีภาระสำหรับการชำระหนี้ที่สูงขึ้นด้วย อีกทั้งโดยส่วนใหญ่จะนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ด้วยราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและค่าเงินตนเองที่อ่อนลง ย่อมส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาในประเทศเหล่านี้ ซึ่งยิ่งซ้ำเติมเสถียรภาพของประเทศตนเองเข้าไปอีก

ท้ายสุด ความกดดันจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐจะส่งผลต่อตลาดหุ้นสหรัฐในเชิงลบ ซึ่งมีผลให้เกิดฟันด์โฟลว์จากบรรดานักเก็งกำไรหลั่งไหลออกจากสหรัฐ เพื่อหากำไรในตลาดนอกประเทศ ซึ่งเงินสกุลของตลาดเกิดใหม่ที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ถือว่าเสี่ยงต่อการตั้ง Position เพื่อเข้าทำกำไรในขาลงหรือชอร์ต รวมถึงการเข้าเก็งกำไรตราสารหนี้ของประเทศดังกล่าวที่ให้ผลตอบแทนสูงจากความเสี่ยงที่สูง

โดยสรุป ปัจจัยทั้งหมดคือ สงครามการค้า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่สูงขึ้น และ ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็ง ล้วนจะส่งเสริมและซ้ำเติมซึ่งกันและกันในการเก็งกำไรค่าเงินแ