“คุณภาพ”สะท้อนแบรนด์ในใจผู้บริโภค

“คุณภาพ”สะท้อนแบรนด์ในใจผู้บริโภค

คุณภาพในโลกของการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

แม้ว่าแต่ละแบรนด์จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์อาคารภูมิสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นแค่ไหนก็ตามแต่ในเรื่องของคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Q-Quality of Product) ยังคงเป็นยอดปรารถนาของผู้บริโภคอยู่เสมอ...

เพราะนั่นอาจเป็นการซื้อเพียงครั้งเดียวในชีวิตของเขา ดังนั้นหากผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการแล้วยังมีคุณภาพมาการันตีจึงไม่ยากเลยที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

ความหมายของคำว่า คุณภาพของแต่ละคนอาจมีคำจำกัดความที่หลากหลายกันไปบ้าง ขอแค่ความคงทนและปราศจากปัญหาใดๆตามมาบ้างเน้นความพิถีพิถันในการเลือกใช้วัสดุบ้างแค่ไม่พบรอยตำหนิใดๆภายในบ้านก็นับแล้วว่า ผลิตภัณฑ์นี้มีคุณภาพแล้ว ในฐานะเป็นหนึ่งผู้ประกอบการที่พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าคำจำกัดความของแต่ละคนจะเป็นเช่นไรอย่างน้อยต้องกล้าประกาศว่า

ซื้อบ้านที่นี่ต้องไม่มีปัญหาหากพบปัญหายินดีรับผิดชอบ” เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ในระดับที่สามารถวัดประสิทธิผลได้เช่นกันและยังคงสะท้อนแบรนด์ให้เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้อีกด้วย

คุณภาพเป็นเรื่องของความรู้สึกที่สัมผัสได้เมื่อแรกพบอันว่า สัมผัสได้นั้นย่อมสื่อไปถึงการเห็นด้วยตาและการสัมผัสทั้งแบบโดยตรงและไม่โดยตรงขณะที่การเห็นด้วยตาเป็นเรื่องของความ“เนี้ยบ”โดยภาษาทางช่างคือ ความพิถีพิถันของการก่อสร้าง เช่น ความตรงของเส้นขอบมุมต่างๆการบรรจบกันของวัสดุต่างชนิดเป็นต้นสำหรับการสัมผัสมุ่งเน้นที่ความแข็งแรงโดยเฉพาะสิ่งที่ต้องสัมผัสเสมอ

เช่น ราวบันไดบานหน้าต่างประตูเป็นต้น หรือการสัมผัสที่ไม่ได้สัมผัสโดยตรง อาทิ การออกแบบบ้านให้ตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคโดยคุณภาพในลักษณะนี้ทางผู้พัฒนาโครงการหรือผู้ประกอบธุรกิจนั้นให้ความสำคัญมากไม่ว่าจะเป็น “การออกแบบ” และ “การก่อสร้าง” เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการขายโดยตรงหากสัมผัสแล้วพบว่า ไม่มีคุณภาพตามที่โฆษณาผู้บริโภคสามารถตัดสินใจไม่ซื้อเลยก็ได้เนื่องจากมีโอกาสเปรียบเทียบคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้จากหลายๆค่ายอสังหาริมทรัพย์ก่อนตัดสินใจซื้อ

ดังนั้นหากเปรียบเทียบว่าการก่อสร้างคือการออกรบ-แบบก่อสร้างที่ดีก็คือแผนการรบที่ดีนั่นเอง คุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้องเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำคือเริ่มตั้งแต่ การออกแบบ

ขณะที่ต้นทางคุณภาพผลิตภัณฑ์ต้องมาจากแม่ทัพเปรียบได้กับผู้พัฒนาโครงการ หรือผู้ประกอบธุรกิจที่เน้นย้ำถึงความสำคัญที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มากด้วยคุณภาพไปยังผู้บริโภคโดยมอบหมายให้ทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน เพื่อตอกย้ำความคุ้มค่าของสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับกับจำนวนเงินที่จ่ายไปโดยคุณภาพนั้นยังสื่อถึงความทนทานและง่ายต่อการดูแลของผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ไปตลอดชีวิต

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องคำนึงถึงคุณภาพเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธุรกิจใดก็ตามคุณภาพผลิตภัณฑ์ยังเป็นหนึ่งทางเลือกต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอยู่เสมอที่สำคัญยังสะท้อนสู่แบรนด์ในใจผู้บริโภคอีกด้วย

และนี่ก็เป็นตัวแรกในกลยุทธ์Q-C-S-E-S+P ที่นำมาแบ่งปันกันต่อจากฉบับที่แล้ว