'ซีพีออลลกำไรต่ำกว่าคาด โบรกเขย่าราคาใหม่

 'ซีพีออลลกำไรต่ำกว่าคาด  โบรกเขย่าราคาใหม่

คอลัมนิสต์ประจำคอมลัม 'stock gossip

บริษัทจดทะเบียนที่ได้ทยอยประกาศผลประกอบการออกมาแล้วมีหลายบริษัทที่ไม่เป็นไปตามคาดการณ์ไว้ จนทำให้มีแรงเทขายหุ้นออกมา (Sell on Fact) เนื่องจากมีหลายธุรกิจที่เก็งเรื่องผลกำไรจะเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศมีทิศทางเติบโตอย่างต่อเนื่อง

หนึ่งในนั้นมีบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อภายใต้เครื่องหมายการค้า 7-Eleven และให้สิทธิแก่ผู้ค้าปลีกรายอื่นในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

ราคาหุ้น CPALL ปีนี้ได้ขึ้นแตะถึงระดับ 90 บาท (27 มี.ค.) ท่ามกลางความเชื่อมั่นว่าการบริโภคภายในประเทศกลับมาฟื้นตัวประชาชนมีการใช้จ่ายมากขึ้น บวกกับเข้าการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตดี โดยเฉพาะคนจีนที่มีตัวเลขท่องเที่ยวในไทยช่วงไตรมาส 2 โตต่อเนื่อง จึงน่าจะทำให้ได้รับอนิสงค์เพิ่มกำลังซื้อไปด้วย

รวมทั้งบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO ในฐานบริษัทลูกซึ่งซื้อกิจการเข้ามาปี 2558 มูลค่าสูงถึง 1.88 แสนล้านบาท จากกลุ่ม เอสเอชวีเนเธแลนด์ บี.วี. (SHV) ที่เคยกดดันผลการดำเนินงานซีพี ออลล์ น่าจะถึงช่วงเวลารับรู้กำไรได้

โดยบริษัทได้ไตรมาส 2 ปี 2561 มีรายได้รวม 129,706 ล้านบาท เพิมขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปี 7.5 % จากการขายสินค้า และบริการที่เเพิ่มสูงขึ้น จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อ รวมถึงจากธุรกิจศูนย์จําหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชําระเงิน สดและบริการตนเองภายใต้ชื่อ “สยามแม็คโคร”

ขณะที่กำไรขั้นต้นลดลงถึง 22 % เนื่องจากการเพิ่มขึ้นภาษี ของสินค้ากลุ่มที่มียอดขายเติบโตสูงแต่มีอัตรากําไรขั้นต้นต่ำกว่าสินค้ากลุ่มอื่น คือ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยังมีบัตรเกมส์ออนไลน์ จึงทำให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 1,113 ล้านบาท ลดลง 9.58 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน

อย่างไรก็ตามบริษัทยังตั้งเป้าหมายในช่วงที่เหลือของปีจะยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการเติบโตของรายได้ ส่วนใหญ่มาจากอัตราการเติบโตของยอดขายจากร้านสาขาใหม่ และอัตราการ เติบโตของยอดขายเฉลี่ยจากร้านเดิมซึ่งคาดว่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับกับจีพีดี

จากเป้าหมายใหม่ทีจะขยายสาขาให้ครบ 13,000 สาขา ภายในปี 2564 โดยจะวางแผนที่จะลงทุนเปิดร้ านสาขาใหม่อีกประมาณ 700 สาขาในปี 2561 ด้วยงบลงทุนประมาณ 9,500-10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการเปิดร้านสาขาใหม่ 3,600 - 3,800 ล้านบาท การปรับปรุงร้านเดิม 2,000 - 2,100 ล้านบาท ศูนย์กระจายสินค้า 3,100 - 3,200 ล้านบาท และวางระบบสารสนเทศ 800 – 900 ล้านบาท

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง ปรับลดประมาณการกำไรปีนี้ของ CPALL ลง 4% และปรับลดราคาเป้าหมายสิ้นปี 2561 ลงมาอยู่ที่ 85 บาท จากเดิม 94 บาท เพื่อสะท้อนกำไรไตรมาส 2 ปี 2561ที่ต่ำกว่าคาด และสะท้อนกับแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นและค่าใช้จ่ายด้านการขายและบริหาร

ด้วยผลประกอบการออกมาต่ำกว่าประมาณการของตลาดและเรา 10% และ 5% ตามลำดับ เจากอัตรากำไรขั้นต้นต่ำกว่าคาด ค่าใช้จ่ายด้านการขายและบริหารสูงกว่าที่ประเมิน และกำไรของ MAKRO น้อยกว่าคาดการณ์

หากไม่รวมผลกระทบของการขึ้นภาษีบุหรี่ยอดขายสาขาเดิมเติบโต 2% ในไตรมาสดังกล่าวยังต่ำราว 4% ในไตรมาส 1 ปี 2561 เนื่องจากยอดขายเดือนเม.ย. ชะลอตัวอันเป็นผลมาจากฝนที่ตกผิดปกติทำให้ผู้คนไปซื้อของน้อยลง

ด้านค่าใช้จ่ายด้านการขายและบริหารสำหรับการดาเนินงานร้านสะดวกซื้อสูงขึ้น 9.6% มาอยู่ที่ 2.07 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้นและค่าไฟเพิ่มขึ้น อัตราส่วนค่าใช้จ่ายด้านการขายและบริหารต่อยอดขายสำหรับธุรกิจร้านสะดวกซื้อลดลง มาอยู่ที่ 26.9%เนื่องจากราคาบุหรี่สูงขึ้น

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) มองว่าแนวโน้มยอดขายต่อสาขาเดิม ( SSSG ) ช่วงไตรมาส 3 ปี 2561 ของ 7-eleven ยังเป็นบวกราว 2-3% ต่อจากไตรมาสก่อนที่ทำได้3.9% บวกกับอานิสงค์ เทศกาลฟุตบอลโลกที่มีต่อเนื่องถึงกลางเดือน กค. รวมถึงการมีโปรโมชั่นแจกแสตมป์ และการทำโฆษณา ช่วยเร่งยอดขายต่อสาขา  ส่วน SSSG ของ MAKRO มีโอกาสพลิกลับมาเป็นบวกหลัง ไตรมาสนี้ ติดลบ 1% จากราคาเนื้อสัตว์เริ่มดีขึ้นและยอดขายที่ฟื้นตัว 

อย่างไรก็ตามภาพรวมไตรมาส 3 อาจยังไม่โดดเด่นเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลฝน ทำให้มีโอกาสปรับประมาณการลงหลังค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีการประชุมนักวิเคราะห์ในช่วงเช้าวันที่14 ส.ค. นี้