ใช้โรดแมปเพื่อช่วยกำหนดกลยุทธ์

ใช้โรดแมปเพื่อช่วยกำหนดกลยุทธ์

ถ้ามีใครมาพูดถึงโรดแมป แทบทุกคนคงนึกไปถึงเรื่องเดียวกันหมดในวันนี้ ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้น คงตอบกันได้อยู่แล้ว

 แต่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มีอาจารย์ท่านหนึ่งได้พัฒนาเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ ในหลากหลายด้านให้สอดคล้องกัน ซึ่งการกำหนดกลยุทธ์ในหลายด้านให้เป็นไปในทางเดียวกันนั้น เป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่ทำยากกว่าที่พูดเยอะแยะ โดยเฉพาะในกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่างเช่นในกิจการที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล ลองนึกดูว่ามีการดำเนินงานไปในทางเดียวกัน ระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลการขนส่ง กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจราจร หรือไม่ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้ดิจิทัลในการควบคุม และติดตามพฤติกรรมการขับรถ สมมุติว่าคนกำกับการขนส่งบังคับว่า คนขับต้องใช้ใบขับขี่ที่เป็นสมารท์การด์ที่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวคนขับ ว่าชื่ออะไร บ้านช่องอยู่ที่ไหน มาแตะไว้ที่เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง ถ้าไม่มีใบขับขี่มาแตะ เพื่อป้อนข้อมูลเข้าเครื่องบันทึกการเดินทาง รถก็จะติดเครื่องไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ขับรถไปโดยไม่มีการบันทึกข้อมูล แต่ถ้าคนขับไปทำผิดกฎจราจร คนที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ก็ต้องยึดใบขับขี่ไว้ก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าคนขับที่ทำผิดกฎจราจร จะมาจ่ายค่าปรับ ถ้ายึดใบขับขี่เมื่อใด เมื่อนั้น รถก็ต้องขับต่อไปไม่ได้ ตามแนวทางที่คนกำกับการขนส่งกำหนดไว้ เลยการเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้ทุกครั้ง ที่ขับรถผิดกฎจราจร นี่คือตัวอย่างของความไม่สอดคล้องกัน ในการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ในงานที่เกี่ยวข้องกับแค่สองหน่วยงานเท่านั้น

ถ้าขยายวงให้กว้างขึ้น จนเกี่ยวเนื่องกัน ไปทั่วทั้งองค์กร ตั้งแต่ การเลือกเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ไปจนกระทั่งถึงการตลาด การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และอื่น ๆอีกหลายเรื่อง ถ้าต่างคนต่างกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้ตนเองได้ผลงานมากที่สุด โดยไม่แคร์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น กับคนอื่น ๆ ยิ่งถ้าพูดถึงว่าวันหน้าต่างคนต่างต่อเติมสิ่งที่ทำอยู่ออกไปในวันหน้า โดยไม่คำนึงว่าที่ต่อเติมขึ้นนั้น จะเป็นอุปสรรคอย่างใดกับใครบ้างหรือไม่ หน่วยงานจะเหมือนกับพื้นที่่ที่เต็มไปด้วยอุปสรรค ที่ต่างคนต่างสร้างขึ้้นให้กับคนอื่น กลายเป็นทางตัน ไปไหนไม่ได้สักคนในสักวันหนึ่ง ลองนึกต่ออีกนิดว่า คนที่ดูแลอุตสาหกรรมก็ขยายเพิ่มขึ้นอย่างเดียว คนที่ดูแลเก็บรายได้ ก็เร่งเก็บให้ได้เงินมากที่สุด โดยไม่สนใจว่าเก็บมากไปจนอุตสาหกรรมจะเจ๊งหรือไม่ คนดูแลสิ่งแวดล้อมก็ต้องการสิ่งแวดล้อมชั้นดี เลยห้ามไม่ให้ตั้งโรงงานกันเลย คงนึกออกว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับหน่วยงานนี้ จึงเป็นเหตุให้อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สร้างเครื่องมือสำหรับช่วยให้มีการกำหนดกลยุทธ์ ที่สอดคล้องกัน ในกรณีที่งานนั้นเกี่ยวเนื่องกับหลายเรื่อง โดยเรียกว่า Roadmapping ถ้าใช้Roadmapping กำหนดกลยุทธ์แล้ว อย่างน้อยที่สุด คือกลยุทธ์แต่ละงาน ต้องไม่ขัดแย้งกัน

ใช้โรดแมปเพื่อช่วยกำหนดกลยุทธ์

เทคนิคRoadmapping เริ่มด้วยการให้เราคิดก่อนว่า ที่เราทำอยู่ในวันนี้นั้นเป็นอย่างไร คำว่าเป็นอย่างไรนั้น ให้ตอบตั้งแต่ใช้ทรัพยากรอะไร ใช้กระบวนการทำงานอย่างไร ใช้เทคโนโลยีอะไร ทำการตลาดอย่างไร รูปแบบธุรกิจเป็นอย่างไรในวันนี้ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่จะช่วยให้เราเข้าใจสรรพสิ่งที่ทำวันนี้ ให้กระจ่างแจ้งมากที่สุด แนะนำให้เขียนทุกอย่างที่ทำอยู่ในวันนี้ อยู่คนละบรรทัด ในคอลัมน์ เดียวกัน จากนั้นลองเพิ่มอีกสัก 2-3 คอลัมน์ โดยคอลัมถ์ที่อยู่ปลายสุด ให้ตอบว่าวิสัยทัศน์ ในเรื่องเหล่านั้น เป็นอย่างไร คือเส้นชัยในเรื่องเหล่านั้นเป็นอย่างไร ถ้านึกเท่าไรก็นึกไม่ออกว่า เส้นชัยวันหน้าในเรื่องต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร แสดงว่าเราติดกับดักของความสำเร็จเมื่อวันวาน

คอลัมน์ตรงกลาง ระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่ในวันนี้ กับสิ่งที่เป็นตอนถึงเส้นชัย คอลัมน์ตรงกลาง จึงเป็นประหนึ่งจะเป็นประหนึ่ง หลักกิโลเมตร ที่บอกว่าเราอยู่ใกล้เส้นชัย ที่ปลายทางนั้นมากแค่ไหนแล้ว

 ลองเขียนตารางที่มี 6-7 บรรทัด 3-4 ่คอลัมน์ แล้วกรอกข้อมูลสารสนเทศ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ตารางนี้แหละที่เป็นรูปธรรม ของเทคนิค Roadmapping ที่จะช่วยให้เห็นภาพรวมว่าอะไรที่ทำไปแล้ว จะเสริมกันและกัน อะไรที่ไปคนละทิศ คนละทาง

ใครอยากได้รายละเอียดที่ลึกซึ่งลงไป แนะนำให้ไปดูที่เว็ปไซด์ https://www.cambridgeroadmapping.net/roadmapping คงต้องเน้นอีกครั้งว่าRoadmappingที่ว่านี้ ไม่ใช่โรดแมปที่ดูเหมือนจะเป็นแผนที่ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ที่หลายคนคิดอยู่