เศรษฐกิจชีวภาพ กับประเทศไทย

เศรษฐกิจชีวภาพ กับประเทศไทย

เศรษฐกิจชีวภาพ หรือ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio Economy) หมายถึง การนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มคุณค่าหรือการประยุกต์ใช้งาน

และการแปรรูปของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ผลผลิตทางการเกษตรแบบดั้งเดิม มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น

โดยนัยที่มีการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ ทำให้การเข้าสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งในการนำแนวคิดนวัตกรรมมาเพิ่มความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจและการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เปลี่ยนจากความพยายามในการสร้างผลิตภัณฑ์ มาเป็นความพยายามในการสร้างนวัตกรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ที่ถือได้ว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นประเทศที่มีพื้นฐานมาจากการเกษตรกรรมมาตั้งแต่ในอดีต

และเป็นที่น่ายินดีว่า ประเทศไทยเราได้มุ่งดำเนินการพัฒนาในแนวทางการสร้างเศษรฐกิจชีวภาพขึ้นให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยจัดให้มีการทำ “กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ระยะ 20 ปี 2560 – 2579 ขึ้นมา และได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เมื่อเดือน สิงหาคม 2560 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรอบยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศไทยไว้ 3 ยุทธศาตร์หลัก ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชนภาคธุรกิจบนฐานการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายย่อยใน 2 ด้าน คือ

เป้าหมายที่ 1.1ชุมชน/ท้องถิ่น มีความรู้พื้นฐานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และฟื้นฟู

เป้าหมายที่ 1.2 สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ และนำผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมาสนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

โดยมีตัวชี้วัด จำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1.1) จำนวนชุมชน/ท้องถิ่น มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และฟื้นฟู รวม 758 แห่ง  (1.2) จำนวนผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการยกระดับธุรกิจ เพิ่มเป็น 1,000 ราย (1.3) มูลค่าทางเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพระดับเศรษฐกิจชุมชนและภาคธุรกิจ เพิ่มเป็น 3,500 ล้านบาท (1.4)ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่นำมาสนับสนุนการอนุรักษ์เพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 105 ล้านบาท และ (1.5) จำนวนผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้รับตราส่งเสริม Bio Economy จำนวน 2,000 รายการ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 จัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ มีเป้าหมายย่อยใน 4 ด้าน คือ

เป้าหมายที่2.1จัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญา ท้องถิ่นเพื่อการใช้ประโยชน์ปกป้อง คุ้มครอง และอนุรักษ์

เป้าหมายที่2.2พัฒนาและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นไปตามมาตรฐานสากล

เป้าหมายที่2.3คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยทรัพย์สินทางปัญญา และแบ่งปัน ผลประโยชน์จากการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นใน รูปแบบต่างๆ

เป้าหมายที่2.4สนับสนุนการจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ

โดยมีตัวชี้วัด จำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่

(2.1) จำนวนความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการใช้ประโยชน์ จำนวน 50 สกุล (2.2) ร้อยละ 40 ของจำนวนข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิ ปัญญาท้องถิ่นในระบบฐานข้อมูล มีการนำไปใช้ประโยชน์ (2.3) ร้อยละ 90 ของหน่วยงานในประเทศไทยทั้งหน่วยงานรัฐ มหาวิทยาลัย เอกชน ชุมชน ที่ มีความร่วมมือและมีข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ มีการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลตามมาตรฐานเดียวกัน (2.4) จำนวนความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา 385 รายการ (2.5) มีการจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ มีเป้าหมายย่อยใน /2ด้าน 

คือเป้าหมายที่ 3.1มีความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้เกิดความ ตระหนักและมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูความ หลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายที่ 3.2 เสนอแนะกลไก และมาตรการเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ การใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

โดยมีตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ (3.1) จำนวนสมาชิกในภาคส่วนต่างๆ ที่มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี (3.2) จำนวนข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูความ หลากหลายทางชีวภาพ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี (3.3) จำนวนกลไก มาตรการ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนา เศรษฐกิจชีวภาพ 20 เรื่อง และมีการนำไปด าเนินการอย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อย 5 เรื่อง

ก็คงจะเป็นหน้าที่ของประชาชนไทย ที่ต้องคอยติดตามดูว่าภาครัฐ จะสามารถดำเนินการตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้มากน้อยแค่ไหน !!!!