อยากทำฟินเทคต้องทำอย่างไร?

อยากทำฟินเทคต้องทำอย่างไร?

ผู้ที่อยากจะทำฟินเทคเป็นของตัวเองต้องบอกว่ายังมีโอกาสอยู่ 

แม้ตอนนี้ฟินเทคจะไม่ใช่กระแสที่ร้อนแรงเหมือนปีสองปีก่อน เพราะเริ่มมีสตาร์ทอัพสายอื่นที่เริ่มมาแรงอย่าง การศึกษา ท่องเที่ยว การแพทย์ ฯลฯแต่ถึงอย่างไรฟินเทคจะยังเป็น New Normal หรือเทคโนโลยีที่จะเป็นมาตราฐานใหม่ของโลกอยู่ดี สำหรับผู้ที่อยากจะทำฟินเทคเป็นของตัวเองต้องบอกว่ายังมีโอกาสอยู่ วันนี้ผมจะมาบอกเล่าว่าวิธีการเริ่มต้นทำฟินเทคต้องมีอะไรบ้าง 

ข้อแรก..ต้องมีผู้มีความรู้สายการเงินอยู่ในทีม การทำฟินเทคมีความพิเศษมากกว่าสตาร์ทอัพสายอื่นที่ Founders จะต้องมีพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านธุรกิจการเงิน เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ปฎิบัติอยู่งานบนความน่าเชื่อถือเป็นหลัก หากเป็นไปได้ลองหาทีมงานที่อดีตเคยทำงานสายสถาบันการเงินมาก่อนจะดีมากจะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับลูกค้าได้อย่างมาก

ที่สำคัญ การที่เคยทำงานด้านการเงินมาก่อนจะมีความเข้าใจในจุดอ่อนของสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมเป็นพิเศษ จะทำให้เกิดไอเดียในการเข้าไปDisrupt ได้ไม่ยาก

ข้อสอง..ศึกษาข้อกฎหมายให้ละเอียด ธุรกิจการเงินเป็นอุตสาหกรรมที่มีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก เพราะมีประเด็นเรื่องของความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ที่จะทำฟินเทคอย่างน้อยจะต้องรู้ให้ได้ก่อนว่าสิ่งที่จะต้องทำนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานกำกับใด เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานกลต. สำนักงานส่งเสริมธุรกิจประกันภัย ฯลฯ เพราะถ้าหากทำธุรกิจโดยไม่ได้ศึกษาข้อบังคับ อาจจะผิดกฎหมายและถูกฟ้องร้องได้

ข้อสาม..มีทีมพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ชำนาญเฉพาะด้าน เนื่องจากฟินเทคมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการเงิน โดยเฉพาะสายเพย์เมนท์ ที่ต้องดูแลการโอนเงินของลูกค้า หากไม่มีความชำนาญในการจัดการซอฟท์แวร์ด้านนี้อาจจะเกิดปัญหาขึ้นมาได้ ทีม Software Engineering จึงมีความสำคัญอย่างมาก

ข้อสี่..มีสายสัมพันธ์กับสถาบันการเงิน ฟินเทคเกือบทั้งหมดจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกับสถาบันการเงิน เพราะใบอนุญาตประกอบธุรกิจด้านการเงินส่วนใหญ่มีต้นทุนที่สูงหลักสิบล้านบาทขึ้นไปซึ่งเกินกำลังของฟินเทคจะเป็นเจ้าของได้ ฟินเทค จึงต้องทำงานกับสถาบันการเงินทั้งในรูปแบบของ B2B หรือ B2C เมื่อได้รับการระดมทุนเพิ่มเพิ่มเติมถึงค่อยต่อยอดไปเป็นเจ้าของใบอนุญาตต่างๆด้วยตัวเองได้

ข้อห้า..มองภาพการเงินในระดับ Global ธุรกิจการเงินถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเป็นสากล (Global) เพราะทุกประเทศทั่วโลกต่างใช้มาตราฐานการปฎิบัติการเดียวกัน แต่วิธีการทำตลาดอาจจะแตกต่างกันไปในระดับ Local ผู้ที่จะเข้ามาทำฟินเทคจึงต้องมีมุมมองและแผนธุรกิจที่จะสามารถ Scale Up ธุรกิจให้สามารถขยายไปได้ทั่วโลก ไม่เช่นนั้นธุรกิจจะถูกจำกัดการเติบโต โดยความท้าทายของคนทำฟินเทคก็คือการกำกับดูแลที่อาจมีรายละเอียดต่างกันไปในแต่ละประเทศ

ด้วยกระแสของ Blockchain ที่ยังคงแรงอย่างต่อเนื่อง ฟินเทคจึงน่าจะยังมีการเติบโตและได้รับความสนใจจากทั้งผู้ใช้งานและนักลงทุนอย่างต่อเนื่องแต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทำฟินเทคได้ อยากให้ผู้สนใจลองศึกษาความสามารถของตัวเองให้ชัดเจนก่อน แต่

สำหรับผู้สนใจทำฟินเทคที่มีไอเดียดีๆแต่ขาดการสนับสนุน ลองสมัครโครงการ Fintech Challenge The Discovery จัดโดยสมาคมฟินเทคร่วมกับสำนักงาน กลต. เข้าไปดูข้อมูลได้ที่ www.FinTechchallenge.infoตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2561