หาหุ้นน่าซื้อในวันที่ PE สูง…ด้วย “PEG Ratio”

หาหุ้นน่าซื้อในวันที่ PE สูง…ด้วย “PEG Ratio”

หาหุ้นน่าซื้อในวันที่ PE สูง…ด้วย “PEG Ratio”

เรามักจะได้ยินว่า “P/E ของหุ้น ยิ่งต่ำก็ยิ่งดี” เพราะแสดงว่าหุ้นตัวนั้นราคาถูก… แต่ก็มีอยู่ไม่น้อยที่หุ้นที่มี P/E สูงๆแต่ยังมีคนซื้ออยู่ล่ะ เพราะคนเหล่านั้นชอบของแพงอย่างนั้นหรือ ?

เราคงต้องย้อนดูที่มาของค่า P/E Ratio กันซักหน่อย ค่า P/E คือสัดส่วนที่เอาราคา มาตั้งแล้วหารด้วย กำไรหรือ Earing การที่ค่า P/E จะต่ำได้นั้นเกิดขึ้นได้จาก  1. Price ลดลง 2. Earning เพิ่มขึ้น

ถ้า P/E ต่ำเพราะ Earning สูงขึ้น ในขณะที่ราคาหุ้นยังไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงอาจเพราะคนยังไม่ค่อยให้ความสนใจมากนัก แบบนี้ถือว่าคุณกำลังจะได้ของดี มีโอกาสทำกำไรได้ในอนาคต.. แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าหากบริษัทไม่มีการเติบโตเลย Earning คงที่หรือต่ำลง ราคาหุ้นก็ต่ำลงเรื่อยๆเนื่องจากพื้นฐานบริษัทไม่ดี แบบนี้ถึงจะ P/E ต่ำก็ไม่ได้แปลว่าเป็นหุ้นดีที่น่าลงทุน สิ่งที่ดีที่สุดคือคุณเจอหุ้นที่กำไรเติบโตสูงต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้นยังไม่สูงนัก ถ้าเจอแบบนี้เจอหุ้นที่ดีและถูก แต่ในตลาดทุกคนมักจับจ้องมองหาหุ้นที่เติบโตเสมอ จึงเป็นเหตุให้คนยอมจ่ายแพงเพื่อซื้อหุ้นที่เติบโตดี  เพื่อจะให้ได้หุ้นที่ดีมี P/E เหมาะสมมากขึ้นจึงควรดู “PEG Ratio” ด้วย

“PEG Ratio” จะทำให้คุณไม่พลาดของดีที่มีอนาคต !!

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการพิจารณา P/E Ratio ควรพิจารณาให้รอบด้าน หุ้นที่มี P/E สูงไม่ได้หมายความว่าเป็นหุ้นแพงเสมอไป และผู้ที่ซื้อหุ้น P/E สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาชอบของแพง แต่เขาอาจจะเล็งเห็นว่าบริษัทยังมีโอกาสเติบโตมากกว่านี้ โดยพิจารณาจากค่า PEG Ratio

ค่า PEG Ratio จะนำ P/E มาหารด้วยการเติบโตของกำไรสุทธิ เพื่อเปรียบเทียบกันว่า P/ E ของหุ้นหุ้นกับการเติบโตของบริษัทโตทันกันหรือไม่ แน่นอนเราอยากได้หุ้นที่มี ค่า P/E ที่ไม่สูง แต่เราอยากได้ การเติบโตของกำไรที่สูง

PEG   โดยทั่วไปไม่ควรมีค่าเกิน 1 เท่า เพราะหาก PEG เกิน 1 เท่า ก็คือหุ้นตัวนั้นมีค่าP/E Ratio สูงกว่า Growth หรืออัตราการเติบโตของบริษัท นั่นหมายความว่าหุ้นตัวนั้นเข้าข่ายหุ้นราคาแพง คือราคาสูงเกินศักยภาพการเติบโต

ถ้าให้ลองเปรียบเทียบเหมือนกับการเดินทางจะไปเชียงใหม่ ระยะทาง 700 กิโลเมตร ถ้ามีทางเลือกเดินทาง วิธีที่ 1 มีค่าใช้จ่าย 7000 บาท วิธีที่ 2 มีค่าใช้จ่าย 9,100 บาท ถ้าคิดแค่เรื่อง ราคากับระยะทางแล้วการเดินทางด้วยวิธีที่ 1 มีค่าใช้จ่าย 10 บาทต่อ กิโลเมตร (7000/700)ถูกกว่า วิธีที่ 2 ที่มีค่าใช้จ่าย  13 บาทต่อกิโลเมตร  แต่การเดินทางต้องคำนึงด้วยเวลาด้วย ถ้าวิธีแรกเวลาเดินทางด้วยความเร็ว 70 กม/ชม ใช้เวลา 10 ชั่วโมง แต่วิธีที่ 2  มีความเร็ว 175 กม/ชม ใช้เวลาแค่ 4 ชั่วโมง อย่างนี้ ดูแล้ววิธีที่ 2 น่าสนใจกว่า 

การลงทุนก็เช่นกัน P/E เปรียบเหมือนราคาเทียบกับระยะทางอันที่ถูกก็อาจจะช้า   แต่การใช้ PEG เอา การเติบโตของกำไรก็เหมือนกับอัตราความเร็วที่สูงขึ้นมาคิดด้วย เมื่อจ่ายสูงแล้วต้องการความเร็ว หรือความเติบโตที่มากขึ้น

หลักในการพิจารณา PEG Ratio

จากตัวอย่างสมมติว่าบริษัท 1 บรษัท 2 และบริษัท 3 อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หากพิจารณาเฉพาะค่า P/E จะเห็นว่าบริษัท 3 ซึ่งมีค่า P/E ต่ำที่สุดน่าลงทุน แต่หากนำค่า PEG Ratio มาร่วมพิจารณาด้วยบริษัท 3 จะไม่น่าลงทุน เพราะค่า PEG เกิน 1 เท่า โดยบริษัทที่น่าลงทุนคือบริษัท 1 เพราะมีค่า PEG ต่ำกว่า 1 เท่าและต่ำกว่าบริษัท 2 ในการเลือกซื้อหุ้น PEG จึงเป็นเครื่องมือในการเลือกหุ้นเพื่อให้ได้หุ้น(กำไร)ดีในราคาที่ไม่สูงมากนัก