การบังคับคดีปกครองและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

การบังคับคดีปกครองและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

การบังคับคดีปกครอง ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 72 บัญญัติว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดี

 ให้ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่กำหนดใน (1) ถึง (5) โดยสรุปคือ สั่งให้หัวหน้าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิกถอนกฎ หรือห้ามการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สั่งให้หัวหน้าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่กำหนด สั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล และสั่งให้บุคคลกระทำหรืองดเว้นการกระทำให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ คำบังคับให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำ หรือให้ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

หลังจากจัดตั้งศาลปกครองและใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ.2542 มาเป็นเวลา 17 ปี ศาลปกครองเห็นว่า การดำเนินการบังคับคดีปกครอง ยังมีข้อบกพร่อง เนื่องจากการดำเนินการบังคับคดีปกครอง กฎหมายยังไม่ได้ครอบคลุมถึงคดีปกครองทุกประเภท คดีปกครองมีลักษณะเฉพาะ ไม่สามารถนำหลักการบังคับคดีแพ่งมาใช้ดำเนินการบังคับคดีปกครองให้มีประสิทธิภาพทุกกรณีได้ ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี และมาตรการบังคับให้หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามคำบังคับของศาลให้ถูกต้องครบถ้วน จึงได้มีการตรา ...จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่8)..2559 แก้ไขเพิ่มเติม พ...จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ..2542 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว บทบัญญัติที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมสรุปที่สำคัญคือ

เพิ่มเติมมาตรา75/1 ถึง มาตรา 75/4 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับคดีปกครอง โดยสรุปที่สำคัญ คือ มาตรา 75/1 การบังคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง ยังคงให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้โดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและหลักทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง โดยจะมีการออกระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเพื่อปฏิบัติการตามมาตรานี้และเพื่อบังคับตามคำพิพากษาต่อไป

มาตรา 75/2 กำหนดให้มีเจ้าพนักงานบังคับคดี มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครอง และระเบียบที่กำหนดในระหว่างการพิจารณาคดีหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจมอบหมายให้เอกชนหรือบุคคลอื่นปฏิบัติการแทนภายใต้กำกับดูแลของเจ้าพนักงานบังคับคดี

มาตรา 75/3 ถ้าปรากฏว่าคู่กรณี ยังไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครอง ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาหรือไต่สวนและมีคำสั่งกำหนดวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง

มาตรา 75/4 ถ้าปรากฏว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครอง ให้ถูกต้องครบถ้วน หรือล่าช้าเกินสมควร ซึ่งรวมถึงกรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดฯ เพื่อบรรเทาทุกคู่กรณีที่เป็นมาตรการชั่วคราวด้วย ศาลปกครองมีอำนาจไต่สวนแสวงหาข้อเท็จจริง ถ้ามีเหตุรับฟังได้ว่าเป็นจริง ศาลปกครองมีอำนาจสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ชำระค่าปรับให้ศาลปกครองครั้งละไม่เกินห้าหมื่นบาท นำเป็นรายได้ของแผ่นดิน โดยศาลปกครองมีอำนาจ แจ้งผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับดูแล ผู้ควบคุมหรือนายกรัฐมนตรีให้สั่งการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หรือลงโทษทางวินัยต่อไปก็ได้ ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ชำระค่าปรับ ศาลอาจมีคำสั่งบังคับแก่ทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐคนนั้นได้

การบังคับให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ (ศาล รธน.) ปี 2561 ออกบังคับใช้ วิธีพิจารณาของศาล รธน.เป็นไปตามข้อกำหนดของศาลฯ ซึ่งไม่มีบทบัญญัติอันเกี่ยวกับการบังคับให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาล รธน.กำหนดไว้ จากลักษณะคดี ตามอำนาจหน้าที่ของศาล รธน.ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ  พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล รธน. 2561 พ.ร.ป.ที่เกี่ยวข้อง และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาล รธน.ให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ศาล องค์การอิสระ และหน่วยงานของรัฐ คำวินิจฉัยของศาล รธน.สำหรับคดีเกือบทั้งหมดโดยเฉพาะ ที่เป็นคดีหลักจะมีผลบังคับในตัวเองอย่างเด็ดขาด โดยไม่จำต้องกำหนดคำบังคับหรือดำเนินการตามขั้นตอนใดอีก เช่น

*คำวินิจฉัยว่า พ...ฉบับใดหรือบทบัญญัติส่วนใดขัด รธน. ก็ทำให้ พ...หรือบทบัญญัติส่วนดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับ ทันทีโดยไม่ต้องมีการดำเนินการขั้นตอนใดอีก

*คำวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ก็มีผลทันทีโดยไม่ต้องกำหนดคำบังคับหรือดำเนินการขั้นตอนใดอีก กล่าวคือมีผลทันทีไม่สามารถเข้าร่วมประชุม (ครม.) ได้ ไม่สามารถใช้อำนาจสั่งราชการในกระทรวงได้ ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้ได้

*คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) ก็มีผลโดยทันที ไม่สามารถเข้าประชุมสภาหรือลงมติใดฯ ได้ ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้ได้

*คำวินิจฉัยหนังสือสัญญา ที่ต้องได้รับความเห็นชอบ หรือไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

อันเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาล รธน. สำหรับคดีเกือบทั้งหมดจะมีผลบังคับในตัวเองอย่างเด็ดขาด ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล รธน.ปี 2561 จึงไม่มีบทบัญญัติหลักให้ศาลกำหนดคำบังคับไว้ในคำวินิจฉัย เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นจะต้องบังคับให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยตามที่บัญญัติใน มาตรา 74 ศาลมีอำนาจกำหนดคำบังคับให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลในคำวินิจฉัยนั้นได้ โดยอาจให้มีผลในอนาคตขณะใดขณะหนึ่งหลังวันอ่านคำวินิจฉัย และอาจกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการในการบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ตามความจำเป็นหรือสมควรตามความเป็นธรรมได้