จัดสรร 20% ลุ้นสร้าง return ใน Develop Market

จัดสรร 20% ลุ้นสร้าง return ใน Develop Market

จัดสรร 20% ลุ้นสร้าง return ใน Develop Market

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านเศรษฐกิจโลกมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยประเทศพัฒนามีการเติบโตของตลาดแรงงาน การเติบโตของภาคการผลิตและบริการ ในขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (emerging market) ได้รับอานิสงส์การส่งออกที่มีการเติบโตมากขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่มีการขยายตัว  อย่างไรก็ตามในระยะสั้นคาดว่าความผันผวนของตลาดจะเพิ่มมากขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน  หลังรัฐบาลจีนประกาศตอบโต้สหรัฐฯด้วยการประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้า120 รายการ   อย่างไรก็ดี บลจ.วรรณยังคงมุมมองเชิงบวกต่อประเทศผู้นำเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ และประเทศในกลุ่มสมาชิกยูโรโซน

เศรษฐกิจสหรัฐฯ เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตจากปัจจัยสนับสนุนด้านนโยบายปฏิรูปภาษีและการผ่อนคลายกฎระเบียบภาคธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งหนุนกำไรภาคธุรกิจและเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ได้ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีหน้า และ 2 ครั้งในปี 2563 นอกจากนี้ เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP) ของสหรัฐฯในปีนี้ สู่ระดับ 2.7% จากเดิมที่ระดับ 2.5% และปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ในปีหน้า สู่ระดับ 2.9% จากเดิมที่ระดับ 2.7% ขณะที่คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ที่ระดับ 1.9% อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ ความไม่แน่นอนในนโยบายด้านการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหรัฐฯ  ซึ่งอาจกดดันกิจกรรมการผลิตในภาคอุตสาหกรรมบางส่วน

อย่างไรก็ดี สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มบริษัทสหรัฐฯที่มีรายได้หลักมาจากยอดขายในประเทศจีนเช่น GM ที่มีรายได้หลักจากการขายรถยนต์ในประเทศจีนที่อาจโดนกดดันจากการเก็บภาษีและกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น ภาคการส่งออกโดยเฉพาะ อาหาร และ สินค้าโภคภัณฑ์ การขายพันธบัตรสหรัฐฯ โดยจีนเป็นประเทศที่มีการถือพันธบัตรสหรัฐฯมากที่สุดในโลกและการกีดกันบริษัทใหม่ๆจากสหรัฐฯในการเข้าไปทำธุรกิจในจีน โดยมองว่า เบื้องต้นทั้งสองประเทศน่าจะได้ข้อยุติที่ไม่กระทบต่อวงกว้างต่อการขยายตัวเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ

การลงทุนสหรัฐฯ  หากพิจารณาด้านราคาหุ้นถือว่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นพอสมควรและมีมูลค่าพื้นฐานอยู่ในระดับสูง ดังนั้น การลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงต้องเน้นกลยุทธ์ Stock Selection ในหุ้นรายตัวที่ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีจากเศรษฐกิจและราคาที่ยังไม่ปรับตัวสูงมาก โดยกลุ่มหุ้นที่มีความน่าสนใจในปีนี้ บลจ.วรรณ ให้น้ำหนักในกลุ่มการเงิน เนื่องจากยังได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น และจะเอื้อให้รายรับของหุ้นกลุ่มการเงินทั่วโลกจะมีโอกาสการเติบโตตามการอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยเชิงมหภาค อาทิ ค่าธรรมเนียม ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(Net Interest rate) จะเป็นปัจจัยสนับสนุนความน่าสนใจของหุ้นในกลุ่มดังกล่าว

เศรษฐกิจยุโรป ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยเฉพาะในแถบประเทศพัฒนาแล้วบริษัทให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มยูโรโซน เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ(GDP) ยังสามารถดำเนินไปได้อย่างแข็งแกร่ง โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ตัวเลข PMI ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง  ประกอบกับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดใหม่ในรอบหลายปี อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยอดสินเชื่อทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่ขยายตัวในอัตราสูงสุดนับตั้งปี 2552 ที่ผ่านมาจะเป็นปัจจัยสนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจด้านการลงทุนและการบริโภคในระยะถัดไป ทั้งนี้ ตัวเลข GDP ของยูโรโซนปี 2560 อยู่ที่ระดับ 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าขยายตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี นำโดยการบริโภคภาคเอกชนและภาคส่งออกเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ

การลงทุนในตลาดหุ้นยูโรโซน บลจ.วรรณคาดการณ์ว่า  การเติบโตของกำไรและมูลค่าพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยระดับ P/E หลังจากปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว P/E ยังอยู่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวกว่า 10% ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนฟื้นตัวต่อเนื่องหลัง Financial Crisis  โดยคาดการณ์ว่าการเติบโตของกำไรในปีนี้ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งในเดือนม.ค.ที่ผ่านมาอัตราการเติบโตของ EPS  ของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี Stoxx600 อยู่ที่ระดับประมาณ 10%

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังมีความน่าสนใจจากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าตลาดหุ้นยุโรปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่า ธนาคารกลางยุโรป(ECB) จะยังรักษานโยบายการเงินให้อยู่ในภาวะผ่อนคลาย โดยยังคงซื้อสินทรัพย์(QE) ในอัตรา 3 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน จนถึงเดือนก.ย. 61 เป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ตามคาดว่า ECB จะส่งสัญญาณถอน QE ในการประชุมเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อยุติการใช้มาตรกระตุ้นทางการเงิน เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน

สำหรับปีนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน คำแนะนำจัดสรรพอร์ตการลงทุนในตลาดต่างประเทศบลจ.วรรณแนะนำจัดสรรเงินบางส่วนประมาณ 30% ของพอร์ตการลงทุน แบ่งประมาณ 20% กระจายการลงทุนในตลาดพัฒนาแล้ว และอีกประมาณ 10% เลือกลงทุนในตลาดเกิดใหม่