หุ่นยนต์กับการสร้างจุดแข็งอุตสาหกรรมการผลิตไทย

หุ่นยนต์กับการสร้างจุดแข็งอุตสาหกรรมการผลิตไทย

สภาพการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้ผู้ประการจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการผลิต

เมื่อพูดถึงการผลิตยานยนต์ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทย คือแหล่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อันดับต้น ๆ ของภูมิภาค จากรายงานล่าสุดในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยผลิตรถยนต์ 1.9 ล้านคัน และส่งออกถึง 1.2 ล้านคัน ซึ่งคิดเป็น 12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ดังนั้น เม็ดเงินลงทุนจากทั้งภาคเอกชนเอง หรือการสนับสนุนจากฝั่งภาครัฐ จะยังคงมีและยกระดับขึ้นไปอย่างต่อเนื่องให้ครอบคลุมทุกด้าน

แต่อย่างไรก็ตาม สภาพการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้ผู้ประการจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการผลิต โดยหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้บรรลุถึงวัตถุปรสงค์เหล่านี้คือ การนำเทคโนโลยีออโตเมชั่นมาใช้งานมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบของเทคโนโลยีออโตเมชั่นคือ ระบบหุ่นยนต์ (Robotics) โดยมีเทคโนโลยีระบบหุ่นยนต์ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มอเตอร์และไดร์เวอร์ (Motors and Drivers) คืออุปกรณ์ที่สร้างแรงให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ และปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์ได้จากการควบคุมพลังงานไฟฟ้า สปีดรีดิวเซอร์ (Speed Reducers) คือกลไกที่ใช้ปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์เพื่อให้มีความเร็ว และแรงบิดที่เหมาะสมกับการทำงาน

เอนด์เอฟเฟคเตอร์ (End-effectors) คืออุปกรณ์ที่ต่อติดกับปลายแขนของหุ่นยนต์เพื่อใช้ “จัดการ” กับสิ่งแวดล้อมหรือวัตถุภายนอก เซ็นเซอร์และวิชั่น (Sensors and Visions) คืออุปกรณ์ที่เก็บดาต้าจากสภาพแวดล้อม ระบบนำทางอัตโนมัติ (Autonomous Navigation) คือระบบที่ช่วยให้หุ่นยนต์สามารถตรวจจับ หาเส้นทาง และวางแผนเส้นทางการเคลื่อนที่เพื่อไม่ให้หุ่นยนต์ชนกับสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ (Connectivity) คือฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่เชื่อมหุ่นยนต์เข้ากับระบบไอที ระบบควบคุม และระบบไอโอทีเพื่อใช้ในการอัพเกรดโปรแกรม อัพโหลดหรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ควบคุมจากระยะไกล รวมถึงรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ

ไอทีซอฟต์แวร์ (IT Software) ใช้ประกอบการติดตั้งและใช้งานหุ่นยนต์ ซึ่งฟังก์ชันหลักคือ สร้างโมเดลและแบบจำลองต่างๆ ตั้งโปรแกรมแบบออฟไลน์และการแก้ไขโปรแกรมต่างๆบริการติดตั้งระบบ (Integration Services) คือบริการเชื่อมต่อหุ่นยนต์เข้ากับระบบการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้อัตโนมัติ

ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนจำนวนหุ่นยนต์ต่อแรงงานสูงในหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น ประเทศเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ที่มีจำนวนหุ่นยนต์หลาย 100 ตัวยต่อจำนวนแรงงาน 10,000 คนนั้น ไทยเราเองยังคงถือว่ามีสัดส่วนที่น้อยกว่ามาก หรือเป็นเพียงแค่ประมาณ 40-50 ต่อแรงงาน 10,000 คน แต่เราเองก็มีแนวโน้มการลงทุนในหุ่นยนต์เพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งเม็ดเงินลงทุนยังถือว่าสูงมากกว่าหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาค อาทิเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

แต่ที่น่าสนใจคือการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมไทย สัดส่วนใหญ่ยังคงกระจุกอยู่เพียงไม่กี่อุตสาหกรรมคือ ยานยนต์ ยางและพลาสติก และอิเล็กทรอนิกส์ นั่นก็เป็นเพราะความคล้ายคลึงกันในเรื่องของปัญหาด้านแรงงานขาดแคลน ลักษณะของงานที่แบ่งงานเป็นส่วน ๆ ทำซ้ำ ๆ ทำให้หุ่นยนต์เข้ามาทำแทนมนุษย์ได้ มีงานส่วนที่เป็นอันตรายหรือเกินกำลังมนุษย์ รวมถึงความต้องการลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น

ในอนาคตที่การลงทุนจะเพิ่มมากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมไทยจะมีความหลากหลายและสามารถเข้ามาช่วยอุดรูรั่วของภาคแรงงานในพื้นที่ที่มีความจำเป็น ต่อยอดความสามารถและคุณภาพงานในภาคการผลิต เพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมไทยเติบโตต่อไปได้อย่างแข็งแรงยั่งยืน