โอกาสของ SMEs ไทยกับการลงทุนในญี่ปุ่น

โอกาสของ SMEs ไทยกับการลงทุนในญี่ปุ่น

จากข้อตกลงการค้าสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) กับความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) 

ที่ได้บังคับใช้แล้ว ได้กำหนดที่จะลดภาษีนำเข้าเป็น 0 % ในสินค้า 3,439 รายการ โดยฝ่ายญี่ปุ่นลดภาษีสินค้า 565 รายการ โดยทั้ง 2 ประเทศได้ทยอยลดภาษีจนเหลือ 0 % ไปแล้วถึง 80 % จะช่วยให้มูลค่าการของทั้งสอง

ฝ่ายเพิ่มขึ้นระหว่าง 25-30 % ภายใน 10 ปี ทำให้ผู้ประกอบการของไทยที่มีศักยภาพสามารถเข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นได้ 100 % ถึง 132 สาขา จากเดิมที่มีเพียง 120 สาขา และเปิดเสรีโดยมีเงื่อนไข 29 สาขา เช่น โฆษณา จัดเลี้ยง การจัดประชุม บริการทัวร์และไกด์ การจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการโรงแรม สปา อสังหาริมทรัพย์ ร้านอาหาร การวิจัยและการพัฒนา การซ่อมแซม และบำรุงอากาศยานและการจัดจำหน่าย

ปัจจุบันคนญี่ปุ่นมีความนิยมสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นบ่อทองคำที่ท่านผู้ประกอบการ SMEs ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ บริษัทใหญ่ ๆ จากประเทศไทย หลายรายที่เข้าไปลงทุนในประเทศญี่ปุ่น เช่น บริษัทไทยโซลาร์เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ที่เข้าไปซื้อกิจการโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และลงทุนด้านโซลาร์เซลล์เป็นรายแรก เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว ปตท ได้เปิดร้านกาแฟอเมซอนแห่งแรกในญี่ปุ่น เมื่อปี 2556 ในงานเทศกาลอาหารนานาชาติ อูตาเกะ ณ นครโอชากา ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย ได้จัดซุ้มครัวไทยที่ได้รับวามสนใจจากชาวญี่ปุ่น มาเข้าแถวรอลิ้มรสอาหารไทยเป็นจำนวนมาก คนญี่ปุ่นมองว่าอาหารไทยคืออาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีผักเยอะ มีรสชาติครบเครื่อง ทั้งเผ็ด เปรี้ยวหวาน มันเค็ม แตกต่างจากอาหารญี่ปุ่นที่เน้นเค็มและจืด

ร้านข้าวมันไก่ตอนประตูน้ำ (โกอ่าง) ซึ่งเปิดบริการในเมืองไทยตั้งแต่ปี ค.ศ.1959 ที่เข้าไปเปิดบริการในญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ.2014 ที่ซิบูย่า โตเกียว ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่นมาก โดยจะมีส้มตำเคียงมาให้ด้วย ขณะนี้มีถึง 3 สาขา และมีแผนจะขยายสาขาทั่วประเทศญี่ปุน นอกจากนี้ยังมีกิจการรองเท้า Mywarisa ที่ประสบความสำเร็จในการบุกตลาดญี่ปุ่น โดยเริ่มขายผ่านเว็บไซต์ โดยจุดเด่นคือดีไซน์ที่น่ารัก สีสันสดใสมีทั้งสีแดง สีเขียว สีส้ม บางรุ่นใช้ไม้ Corkมาทำเป็นรองเท้า ที่โดนใจผู้บริโภคญี่ปุ่น จนเป็นแบรนด์ที่ได้รับรางวัล Estore Netshopping และได้เปิดร้าน Mywarisa ที่โตเกียวประเทศญี่ปุ่นแล้ว

ปัญหาใหญ่ของ SME ญี่ปุ่นตอนนี้คือไม่มีคนสืบทอดกิจการ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่นระบุว่า ประมาณ 60 % ของ SME ญี่ปุ่น มีผู้จัดการธุรกิจที่เป็นผู้สูงอายุ คาดว่าในปี ค.ศ.2025 หลายกิจการจะมีผู้จัดการที่มีอายุเฉลี่ยสูงถึง 70 ปี ที่น่าเป็นห่วง คือ ในจำนวนนี้ 70 % ไม่มีคนสืบทอดกิจการ จากการสำรวจของ Tokyo Shoko Research เปิดเผยว่าในปี ค.ศ.2016 มี SME ขนาดกลางและเล็กในประเทศญี่ปุ่น ปิกกิจการถึง 29,583 ราย

ศาสตราจารย์ Lichiro Uesugi จากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัย Hitotsubashi บอกว่า การปิดกิจการที่บริหารขาดทุนถือเป็นเรื่องที่ปกติ แต่บางธุรกิจที่มีกำไร สร้างผลผลิตตลอด แต่

ไม่มีคนสืบทอดกิจการ จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไม่ช้า

ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นอีกตลาดหนึ่งที่ท่านผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาศักยภาพของกิจการเพื่อเข้าปักธงให้ได้ กรณีศึกษาของผู้ประกอบการเล็ก ๆ 2 รายทั้งกิจการข้าวมันไก่ตอนประตูน้ำ(โกอ่าง) และร้านรองเท้า Mywarisa ถือเป็นบทเรียนที่น่าสนใจในการสร้างแรงบันดาลใจ ในการเข้าไปบุกตลาดให้ได้ โอกาสจากข้อตกลงการค้าทั้ง AJCEP และ JTEPA เป็นโอกาสที่ท่าน

ผู้ประกอบการไม่ควรพลาดนะครับ..