ดันร่างพ.ร.บ.องค์กรภาคประชาสังคม จะต้องไม่เอื้อบางองค์กร?

ดันร่างพ.ร.บ.องค์กรภาคประชาสังคม จะต้องไม่เอื้อบางองค์กร?

องค์กรภาคประชาสังคมที่ตั้งขึ้นภายใต้เงื่อนไขได้บ้าง เรื่ององค์กรแบบใดบ้างที่เป็นหรือไม่เป็นตามพ.ร.บ.ฯนี้ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อบางองค์กร?

ท่านรองนายกรัฐมนตรี "พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ" ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) ได้ประชุมคณะกรรมการฯ (16ก.พ.61) ถือเป็นครั้งแรก และจะพลักดันร่างกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาสังคมให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ นับว่าน่าสนใจ

ประการแรก ถ้าร่างกฎหมายดังกล่าวผ่าน ครม. ไปสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา "ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ..." จะมีเงื่อนไขในการถกเถียงนานเพียงไร

ประการที่สอง กล่าวกัน ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ... นั้น ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและภาคประชาสังคมทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่กำหนดให้รัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ และให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ.. ซึ่งก็น่าจะดีอยู่เหมือนกัน?

ประการที่สาม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เคยจัดเวทีรับฟังความเห็น มีการสะท้อนว่าองค์กรภาคประชาสังคมที่ตั้งขึ้นภายใต้เงื่อนไขได้บ้าง เรื่ององค์กรแบบใดบ้างที่เป็นหรือไม่เป็นตามพ.ร.บ.ฯนี้ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อบางองค์กรหรือไม่อย่างไร

ทั้งนี้ ท่านรองนายกฯ "พล.อ.ฉัตรชัย" ย้ำในเรื่องนี้ว่า ภาคประชาสังคมต้องมีความเข้มแข็ง เป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสำคัญอย่างมาก

จึงได้แต่หวังว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จะมีการถกเถียงใน "สนช." กลั่นกรองกฎหมายให้ได้องค์กรภาคประชาสังคมที่หลากหลายและถูกยอมรับ มิใช่เอื้อบางองค์กร จะเป็นการดียิ่ง!?