ไม่ต้องกลัวประธานเฟดคนใหม่ เอาที่ทรัมป์สบายใจเลย

ไม่ต้องกลัวประธานเฟดคนใหม่ เอาที่ทรัมป์สบายใจเลย

ไม่ต้องกลัวประธานเฟดคนใหม่ เอาที่ทรัมป์สบายใจเลย

ตำแหน่งประธานธนาคารการลงสหรัฐ ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นที่ตลาดให้ความสำคัญมากอีกครั้ง หลังจากที่นายโดนัลทรัมป์ทวีตว่าจะตัดสินใจเลือกประธานเฟดคนใหม่ใน 2-3 สัปดาห์นี้

นอกจากที่นักลงทุนอย่างเราต้องคอยกันลุ้นว่าใครจะมา มีความจำเป็นเช่นกันที่จะต้องทำความเข้าใจกับผลที่อาจเกิดขึ้นกับตลาดการเงินไม่ว่าใครจะมาเป็นประธานเฟด เพื่อให้เราไม่เดินทางผิดสวนตลาด และถ้าโชคดีเดาถูก อาจมีลุ้นได้รับแรงหนุนจากเหตุการณ์สำคัญทางการเงินโลกครั้งนี้ด้วยครับ

ขั้นแรก เราควรเข้าใจผลที่จะเกิดขึ้นจากตัวเลือกทั้งหมดก่อน ผมเรียงตัวเลือกที่เราคุ้นเคยก่อนและจะไล่ลำดับไปถึงคนที่คาดว่าจะมีนโยบายแตกต่างจากปัจจุบันที่สุดดังนี้

ประธานเฟดปัจจุบัน นาง เจเน็ต เยลเลน โอกาส 10%

เชื่อว่าคงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณกันมากนัก การขึ้นดอกเบี้ยได้ถึง 1.0% ในช่วง 3 ปี แถมล่าสุดยังสามารถดันการลดขนาดงบดุลออกมาได้ พลิกมุมมองของตลาดที่เคยมองเธอว่าเป็นสายพิราบ (Dovish) กลับมาเป็นประธานเฟดสายกลาง (Centrist) ได้อย่างเต็มตัว จุดเด่นคือการสื่อสารกับตลาดตลอดเวลา ถ้าเยลเลนได้กลับมาเป็นสมัยที่สอง เชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นอีกอย่างน้อย 1.25% (ไปที่ 2.5%) ได้ในอีก 4 ปีที่เธอจะดำรงค์ตำแหน่ง ข้อเสียของเยลเลนมีเพียงมุมมองเรื่องการกำกับดูแลภาคการเงินที่เธอเชื่อว่ากฏเกณฑ์ที่เฟดใช้กับสถาบันการเงินสหรัฐปัจจุบันควรคงไว้ตามเดิม

ตัวเลือกสอง เจอโรม พาเวลล์ โอกาส 30%

ปัจจุบันเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงินแต่ก่อนจะเข้ามาเป็นเฟด นายพาเวลล์เป็นนักกฏหมายในสถาบันการเงินมาก่อน ความต่างจากเยลเลนที่ตลาดคาดไว้จึงเป็นเรื่องการลดกฏเกณฑ์กำกับสถาบันการเงิน  แต่ในส่วนอื่น ๆ เชื่อว่าแนวโน้มการนโยบายการเงินจะไม่ต่างจากเดิมมากนัก ขณะที่ในส่วนของการสื่อสารกับตลาดก็คาดว่าจะน้อยลงด้วยเช่นกัน

ตัวเลือกสาม แกรี คอห์น โอกาส 10%

ผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐที่กำลังผลักดันกฏหมายภาษีของทรัมป์ เคยเป็นตัวเลือกแรกที่ตลาดมองไว้ แต่ความเชื่อมั่นลดลงมากหลังจากที่คอห์นออกมาวิจารทรัมป์เรื่องการให้ความเห็นกับการจลาจลที่ชาร์ลอตส์วิลล์ แต่ถ้าเขามาจริงก็เชื่อว่าคงเป็นหมายการเมืองแน่นอน การยื้อดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับ 1.50% ต่อไปอาจเกิดขึ้น สวนทางกับปัจจุบัน ขณะที่สถาบันการเงินก็น่าได้รับการปลดปล่อยให้กลับมาบู๊ได้ใหม่ตามสไตล์นายอดีตแบงก์

ช้อยสุดท้าย เควิน วอร์ช โอกาส 50%

มาเร็วและแรงมากสำหรับอดีตคณะกรรมการนโยบายการเงินท่านนี้ และเป็นตัวเลือกที่แตกต่างจากปัจจุบันมากที่สุด วอร์ชเสนอว่าเฟดไม่ควรคิดเองว่าดอกเบี้ยควรเป็นเท่าไหร่ แต่ควรปล่อยดอกเบี้ยไปตามข้อมูลเศรษฐกิจ (Rule-based) ซึ่งปัจจุบันชี้ไปที่ 3.75% ขณะเดียวกันนั้นวอร์ชก็มองว่าเศรฐกิจสหรัฐปัจจุบันมีปัญหาด้านประสิทธิภาพอย่างมากเพราะกฏเกณฑ์ที่ระมัดระวังเกินไป การลดกฏเกณฑ์กำกับสถาบันการเงินจึงเป็นคำตอบของวอร์ชเช่นกัน

มาถึงตรงนี้ ผมอยากให้มองเรื่องนี้เป็นสองประเด็นคือแนวโน้มนโยบายการเงินและเศรษฐกิจ

ฝั่งดอกเบี้ยและงบดุล ผมเชื่อว่าไม่ว่าใครจะมาก็ตาม แนวโน้มงบดุลของเฟดก็มีแต่ละลดลง ขณะที่ดอกเบี้ยก็จะ “คง” หรือ “ขึ้น” เท่านั้น วิธีการป้องกันก็คือการลดการถือบอนด์สหรัฐและเปลี่ยนดอกเบี้ย “ลอยตัว” เป็น “คงที่” ให้มากขึ้น

ขณะที่ด้านกฏเกณฑ์ของตลาดดูจะมีแต่เท่าเดิมหรือเพิ่มเติมด้วยการผ่อนคลายขึ้นด้วย ข้อเสียที่จะต้องเจอก็คือโอกาสเกิดวิกฤติเศรฐกิจที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าสามารถดึงประสิทธิภาพของเศรฐกิจสหรัฐขึ้นมาได้จริง ยังถือเป็นบวกมากกว่าลบสำหรับตลาดทุนและเศรฐกิจโลกในช่วงนี้

ถ้าตัวเลือกยังเป็นสี่คนนี้ ก็เอาที่ทรัมป์สบายใจเลยครับ ตลาดไม่กลัวประธานเฟดคนใหม่แน่นอน


ไม่ต้องกลัวประธานเฟดคนใหม่ เอาที่ทรัมป์สบายใจเลย