2018 ดอกเบี้ยเฟดแตะ 2%

2018 ดอกเบี้ยเฟดแตะ 2%

2018 ดอกเบี้ยเฟดแตะ 2%

ขยับดอกเบี้ยอีกครั้งสำหรับธนาคารกลางสหรัฐฯหรือ “เฟด” โดยเมื่อวันพุธที่14 มิถุนายนที่ผ่านมาคณะกรรมการFOMC ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับ1.00-1.25 % พร้อมส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อในปีนี้อีกอย่างน้อยหนึ่งครั้งและจากทัศนะของคณะกรรมการเฟดหลายๆท่านคาดว่าในปีหน้า2018 เฟดน่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก2-3 ครั้งหมายความว่าภายใน12 เดือนข้างหน้าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯอาจจะแตะระดับ2%!! ผลกระทบที่เกิดจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องย่อมส่งผลต่อทิศทางตลาดเงินตลาดทุนแต่ที่น่าสนใจมากกว่าผลกระทบที่เกิดจากการปรับดอกเบี้ยคือเหตผลของการปรับดอกเบี้ยการขยับดอกเบี้ยต่อเนื่องแบบนี้บอกอะไรและการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างรวดเร็วมีความเสี่ยงหรือไม่

ฉบับนี้เรามาเกาะประเด็นนี้กันครับ

เฟดขึ้นดอกเบี้ยเพราะอะไร? กว่า10 ปีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยการทำOpen market operation หรือการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่เรารู้จักกันในชื่อQualitative Easing (QE) ทั้งหมดเพื่อดึงเศรษฐกิจขึ้นจากภาวะชะลอตัวแต่หลังจากฟื้นตัวเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับตัวเลขเศรษฐกิจที่เคยย่ำแย่เริ่มดีขึ้นทั้งการบริโภคการลงทุนรวมถึงตลาดอสังหาฯที่เป็นต้นต่อวิฤกตสะท้อนผ่านราคาบ้านที่ปรับตัวขึ้นอย่างมากในช่วง4-5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่เคยตกต่ำก็ฟื้นตัวตามอุปสงค์ที่เพิ่มตามเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ประเทศอื่นที่เคยประสบปัญหาอย่างยุโรปหรือจีนก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกันทำให้การค้าขายลงทุนระหว่างกันมีเพิ่มมากขึ้นเมื่อดูสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสดใสคนก็มั่นใจในการใช้จ่ายเงินมากขึ้นสะท้อนผ่านmoney multiplier ที่วัดจากM1 ที่ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ1 รอบ(ช่วงเกิดวิกฤตปี2008-2009 อยู่ที่ระดับ0.6-0.7 รอบ) ส่งผลให้ความเสี่ยงเงินเฟ้อมีเพิ่มสูงขึ้นจากปริมาณเงินในระบบที่มาก(จากQE) และรอบหมุนที่เร็วขึ้น ดังนั้นเฟดจึงต้องคุมไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตอันจะทำให้เกิดปัญหาใหม่ตามมาหรืออาจจะบอกว่ายุคเงินฝืดได้หมดไปแต่กลายเป็นยุคที่ต้องใส่ใจกับเงินเฟ้อ

การชะลอเงินเฟ้อจำต้องดำเนินการสองอย่าง ประการแรก คือลดงบดุลของธนาคารกลางลง(ปัจจุบันสูงกว่า4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ด้วยการลดการซื้อพันธบัตรหรือสินค้าที่เคยสะสมไว้เดิมรวมทั้งABS - MBS และประการต่อมา คือปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้เข้าสู่ภาวะสมดุลนั้นเองซึ่งผู้เขียนประเมินว่าน่าจะอยู่ระหว่าง2.25-2.50% (ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯอยู่ใกล้ระดับ2.00%)

การปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างรวดเร็วมีความเสี่ยงหรือไม่? ปัจจุบันการใช้นโยบายทางการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องปกติที่ธนาคารกลางส่วนใหญ่ใช้กันทั้งในรูปแบบที่เร่งเศรษฐกิจและชะลอเศรษฐกิจแต่การปรับเปลี่ยนนโยบายอย่างรวดเร็วในอดีตก็เป็นตัวเร่งความเสี่ยงหรือกระตุ้นให้ปัญหาที่มีอยู่เพิ่มดีกรีกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นตัวอย่างเช่นวิกฤตsubprimeครั้งที่ผ่านมาก็เกิดจากการที่เฟดในยุคคุณกรีนสแปนเพิ่มดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วจากที่เคยลดดอกเบี้ยลงหลังเหต911 เนื่องจากระดับหนี้เพิ่มขึ้นในช่วงดอกเบี้ยต่ำและเกิดการเก็งกำไรในช่วงเวลาเดียวกัน แต่เมื่อขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วโอกาสในการเก็งกำไรลดลงซึ่งตลาดอยู่ได้ด้วยDemand และSupply เมื่อไร้Demand ตลาดก็ล่มและเกิดวิกฤติในที่สุด

แม้ในครั้งนี้ระบบธนาคารจะเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อแต่การเติบโตของระดับนี้ก็สูงอย่างมากในช่วงเศรษฐกิจพื้นตัวนอกจากนี้ราคาบ้านก็กลับมาสร้างแรงจูงใจในการเก็งกำไรอีกครั้งเพราะราคาปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่ยอดขายถ้ามองย้อนไปในหลายไตรมาสที่ผ่านมาแทบไม่ลดลงเลยนี่จึงถือเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องระมัดระวัง

นอกจากนี้ การขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของเฟดจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าในระยะยาวเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นหมายความว่าการส่งออกของสหรัฐฯจะมีข้อจำกัดมากขึ้นจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นขณะที่การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นจากราคาสิ้นค้าที่ถูกลงจากค่าเงินที่แข็งค่าดังนั้นยอดการขาดดุลการค้าที่รัฐบาลสหรัฐฯยุคนี้ต้องการควบคุมให้ขาดดุลการค้าน้อยลงก็จะดำเนินการได้ยากขึ้น

ไม่เพียงแค่นั้น ถ้าเราดูการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างเด็ดขาดซึ่งจะตามมาด้วยนโยบายกีดกันทางการค้ากับประเทศที่เกินดุล แม้กระทั่งการต่ออายุของ คุณเจเน็ต เยลเลน ที่เคยกล่าวขู่ว่าไม่ปลื้มปัจจุบันบทบาทของธนาคารกลางมีค่อนข้างสูง การเปลี่ยนประธานที่อาจจะมีแนวนโยบายที่คาดเดาได้ยาก อาจจะส่งผลต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการประเมินของนักวิเคราะห์และนักลงทุน ดังตัวอย่างยุคคุณเยลเลน ที่มีแนวทางที่ต่างจากคุณเบอร์นันเก้นั่นเอง

โดยสรุปเฟดจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อและรักษาสมดุลเศรษฐกิจเชื่อว่าจะปรับขึ้นต่อเนื่อง จนถึงปี 2018 อาจจะแตะระดับ2.25-2.50% ตามมาด้วยความไม่แน่นอนทั้งในเชิงของนโยบายการเงินการคลังของสหรัฐฯและการประเมินทิศทางการลงทุน