เหยื่อการตลาด

เหยื่อการตลาด

กรณีกระทะโคเรียคิงปลุกกระแสตระหนักถึงการ “รู้เท่าทัน” การทำตลาด

ของบรรดาสินค้าและบริการที่มองหาลูกค้าซึ่งอาจตกอยู่ในสถานะ เหยื่อ” ขึ้นมาทันที หากพบว่าการซื้อขายและได้มาซึ่งสินค้าและบริการนั้นๆ สุดท้ายแล้ว เสียรู้” กลยุทธ์ของนักการตลาดมือฉมัง

จะว่าไป “อาการเสียรู้”  ก็ไม่อาจโยนความผิดทั้งหมดให้กับเจ้าของสินค้าและนักการตลาดที่ต่างต้องเฟ้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างยอดขายสูงสุดให้กับสินค้า ซึ่งวิธีการเหล่านี้อาจเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม นั่นคือ ความแยบยลของกลยุทธ์ที่ ผู้บริโภค” ในฐานะเจ้าของเงินก่อนควักกระเป๋าจ่ายต้องสละเวลาขบคิด

ผู้บริโภคต้องเรียนรู้ ตั้งสติ และคิดให้เท่าทัน โฆษณาชวนเชื่อ ที่ทำขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การตลาด ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาหลากหลายรูปแบบกระตุ้นโสตประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ที่่พร้อม เปิดรับ ต่อสิ่งเร้าในทันที หาก โดนใจ แน่นอนว่า เท่าไหร่ก็พร้อมจะจ่าย!! 

สื่อโฆษณา ที่ปรากฎผ่าน คำ ภาพ เสียง ขยายกลวิธีไปทั้งการใช้บุคคลที่มีเชื่อเสียง บุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ มา เน้นย้ำ ให้เป็นประโยชน์ต่อสินค้า โดยที่บางครั้งต้องยอมรับว่า ถูกใจ แต่อาจ ไม่ถูกหลักการ” หรือ ถูกหลักการ แต่อาจ “ขัดจริยธรรม-ศีลธรรม” หรือไม่อย่างไร ผู้บริโภค ซึ่งเป็น ผู้รับสาร ต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะ 

การจุดกระแสของนักการตลาดย่อมต้องการให้เป็น Talk of the Town  พูดกันปากต่อปาก หรือ World of Mouth แม้บางเรื่องราวจะเป็น ประเด็นลบ แต่แลกกับการถูกพูดถึง อยากรู้ อยากทดลอง อยากสัมผัส อยากครอบครองสินค้านั้นๆ นั่นคือความสำเร็จ 

หลายครั้งที่เราจะได้ยิน "คำโฆษณา”  ที่ระบุถึง คุณภาพที่ดีที่สุด เอกสิทธิ์สำหรับคุณคนเดียว สินค้านาทีทองศูนย์บาท-บาทเดียว แม้กระทั่ง พิสูจน์แล้วจาก....(กลุ่มบุคคลที่น่าเชื่อถือ) ฯลฯ  จะมีผู้รับสารคนไหนจะฉุกคิดหรืออยากพิสูจน์ ความจริง จากคำโฆษณานั้นๆ ก่อนตัดสินใจซื้อหรือไม่

ทำอย่างไรจะไม่ตกเป็น เหยื่อการตลาด” ​ ไม่ต้องเป็น คนฉลาด เท่านั้นที่จะรอดพ้นจากการเสียรู้ เริ่มจากการเป็น คนเฉลียว” ต้องยอม “ตั้งธง เป็นคนมองโลกในแง่ร้ายเมื่อต้อง จ่าย” หลายคนอาจเริ่มจากการค้นหาข้อมูลสินค้านั้นๆ 

ยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี นับว่าเป็นยุคแห่ง ทางเลือก ของผู้บริโภคที่สามารถใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือปกป้องความเสี่ยงจากการเป็นเหยื่อการตลาดได้ระดับหนึ่ง ผู้บริโภคสามารถเข้าไปอ่านรีวิวในเว็บบอร์ดต่างๆ ซึ่งผู้ที่รีวิวส่วนใหญ่มีประสบการณ์ใช้สินค้าจริง  

แต่ในความซับซ้อนทางการตลาดมีคำถามตามมาถึง ความเป็นกลาง” หรือ “ความจริง ของรีวิว แน่นอนว่า ย่อมมีแทรกอยู่ด้วย บางบริษัทอาจใช้วิธี จ้างคนทำรีวิว” ​เป็นอีกกลยุทธ์ทางตลาดเช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคจะกระทำได้คือการตรวจสอบ ตรวจทาน ข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง ประกอบการตัดสินใจ 

จะด้วยกระบวนการใดก็ตามแต่ สุดท้าย “การมีสติ เป็นสิ่งสำคัญ ถามตนเองว่า ต้องการสินค้าเหล่านี้หรือไม่ หาก จำเป็น” และ “ต้องการ” ประจวบเหมาะกับแคมเปญ ลดราคา ก็เป็นโอกาสดีที่จะได้สินค้าที่อยากได้ ในจังหวะลดราคาพอดี แต่หาก “ไม่จำเป็น” หรือ ไม่จำเป็นต้องใช้ในทันที แต่ต้องซื้อเพราะ ลดราคา” ในช่วงเวลาที่จำกัดนั้นคุ้มหรือไม่กับต้อง เก็บ” เพื่อรอใช้

 ในโลกของสินค้าและบริการที่เต็มไปด้วยการแข่งขันช่วงชิง ลูกค้า” ที่มีอยู่จำกัด ควรต้องเป็น “ยุคทองของผู้ซื้อ” ที่มีทางเลือกมากมาย แต่ต้องรู้ให้เท่าทันกลและเกมการตลาด เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อการตลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า