แดด ลม...พลังงานสะอาด กลับตาลปัตร?

แดด ลม...พลังงานสะอาด กลับตาลปัตร?

ชีวิตมนุษย์สมัยใหม่อาศัยไฟฟ้ามาก จนแทบจะเป็นปัจจัยที่ 5 คนสมัยนี้ชอบพลังงานสะอาด

ที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างสายลมและแสงแดด ดูเหมือนจะไม่มีต้นทุนเสียด้วย

แต่การผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าและกังหันลม ต้องใช้อุปกรณ์ซึ่งมีต้นทุนสูงและมี carbon footprint บ้าง แม้ราคาได้ลดต่ำลงมากโดยเฉพาะแผงโซล่า แต่ ต้นทุนรวม ตามที่ผลิตได้จริงโดยทั่วไปยังสูงกว่าโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิมที่ใช้เชื้อเพลิง เช่น ก๊าซหรือถ่านหิน ...ทั้งนี้ ยังไม่นับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งขึ้นอยู่กับสมมติฐานการคำนวณ

ที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลกจึงจ่ายเงินอุดหนุนธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพื่อให้คุ้มค่าที่จะลงทุน เมื่อเกิดการใช้ในปริมาณมากๆ เทคโนโลยีก็ยิ่งพัฒนา ต้นทุนการผลิตจึงได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

และลดลงเร็วจนในประเทศไทยช่วงหนึ่งเคยมีผู้ฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากการขายสิทธิ-สัญญาผลิตที่ได้รับจัดสรรในช่วงต้นทุนสูง หากเริ่มทำช้าต้นทุนลดต่ำก็กำไรมหาศาล มีการขายต่อสัญญาเมกกะวัตต์ละเป็นสิบล้านบาท

แดด-ลมมีจุดอ่อนที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไฟตกไฟดับระบบไฟฟ้าจึงต้องพึ่งพาการผลิตจาก “โรงไฟฟ้าฐาน” มาทดแทนเวลาแดดร่มลมตก (หรือลมแรงเกินไปจนมอเตอร์จะพัง) โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซ นิวเคลียร์จึงยังคงมีอยู่แม้ในประเทศที่สัดส่วนพลังงาน สะอาด สูงก็ตาม...แต่มีแนวโน้มว่าโรงไฟฟ้าฐานจะลดน้อยลง...

ด้านสิ่งแวดล้อม โรงที่ใช้เทคโนโลยีเก่า หรือเชื้อเพลิง สกปรก” ถูกปิดลงเรื่อยๆ กระแสต่อสู้โลกร้อนทำให้รัฐบาลกำหนดเกณฑ์ทางสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น ประชาชนและฝ่ายการเมืองก็มักรังเกียจพลังงาน “สกปรก”

ด้านเชิงพาณิชย์ ในประเทศที่มีตลาดไฟฟ้า ราคาขายส่งถูกกำหนดโดยพลังแดดพลังลม เพราะมีต้นทุนผันแปรที่ต่ำใกล้ 0 ทำให้ ค่าไฟฟ้าขายส่ง ถูกจนโรงไฟฟ้าฐานแข่งขันไม่ได้ โรงเก่าปิดไป แต่โรงใหม่เกิดไม่ได้เพราะไม่มีใครอยากลงทุน

โลกดูสวยด้วยทีท่าว่าเข้าสู่ยุคแห่งพลังงานสะอาด ยั่งยืนเพราะราคาถูกและมีปริมาณไม่จำกัด การแก้จุดอ่อนของพลังแดดพลังลมก็กำลังมาแรง นั่นคือการพัฒนาแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟฟ้าช่วงที่ผลิตได้มากเอาไว้ใช้ช่วงที่ผลิตไม่พอ

แม้ปลายทางจะสดใส แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านหลายประเทศกำลังเจอปัญหา มีเรื่องกลับตาลปัตรเกิดขึ้น