แก้ปัญหาทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง ยันเงินคงคลังรัฐบาลถังแตกจริง?

แก้ปัญหาทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง ยันเงินคงคลังรัฐบาลถังแตกจริง?

ประเทศสหราชอาณาจักร – กฎหมายของอีกหลายๆ ประเทศมีขอบข่ายการบังคับใช้กว้างขวาง

ยิ่งกว่า FCPA เช่น กฎหมายการต่อต้านการให้สินบนของสหราชอาณาจักรปี 2553 (Bribery Act)ที่มีผลบังคับใช้กับธุรกิจทุกประเภทที่มีที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ

ความสำคัญของการจัดซื้อโดยรัฐตามมาตรฐานองค์การการค้าโลก

ระบบเศรษฐกิจภาครัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนมากในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ต่างๆ การผลิตสินค้า และบริการ จากการประมาณการ พบว่า การจัดซื้อโดยรัฐในแต่ละปีมีสัดส่วนงบประมาณ คิดเป็นร้อยละ 10 ถึง 15 ของ GDP ของแต่ละประเทศ ดังนั้นตลาดภาครัฐจึงมีมูลค่าตลาดที่สูงมาก ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจตลาดภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยจะเห็นได้จากการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระดับทวิภาคี เรื่อง การจัดซื้อโดยรัฐกับประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น ซึ่งมีแนวโน้มเปิดเสรีกับคู่ภาคีทั้ง 3 ประเทศ ในอนาคต ขณะเดียวกันในระดับพหุภาคีก็มีความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อโดยรัฐ (The Government Procurement Agreement : GPA) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ซึ่งเป็นความตกลงที่สนับสนุนให้ประเทศภาคีสมาชิกสามารถแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม เปิดเผย และโปร่งใสในตลาด ภาครัฐระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน โดยปัจจุบันความตกลง GPA มีภาคีสมาชิกทั้งสิ้น จำนวน 40 ประเทศ ซึ่งมีหลายประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ด้วย ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกความตกลง GPA ดังกล่าว

วัตถุประสงค์สำคัญของความตกลง GPA คือ การขยายขอบเขตการค้าระหว่างประเทศให้กว้างขวางมากขึ้น การสร้างความเป็นธรรม และความมีประสิทธิภาพในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว WTO จึงได้กำหนดกรอบและวิธีการเจรจาซึ่งเป็นหลักพื้นฐานสำคัญเกี่ยวกับความตกลง GPA ไว้ดังนี้

  1. National Treatment) และการไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination) หมายถึง การไม่เลือกปฏิบัติระหว่างสินค้า บริษัทหรือบุคคลของชาติตนกับของต่างชาติ หลักการนี้ใช้หลังจากที่สินค้าหรือ บริการผ่านพรมแดนเข้ามาแล้ว ซึ่งหมายความว่า การเก็บภาษีศุลกากรเฉพาะสินค้า ที่มาจากต่างประเทศไม่ขัดกับหลักการดังกล่าว
  2. Transparency) และความแน่นอน (Consistency) ซึ่งช่วยป้องกันการเลือกปฏิบัติและช่วยให้การวางแผนล่วงหน้าเป็นไปได้โดยง่าย

สรุป ความตกลง GPA มีผลทำให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเป็นไปโดยเปิดเผยโปร่งใส ผู้ประกอบการมีการแข่งขันอย่างยุติธรรมป้องกันการฮั้วหรือร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับสินค้าและบริการที่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย 

นอกจากนั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของประเทศภาคีสมาชิก GPA ได้ถึง 40 ประเทศ นอกจากนี้ ความตกลง GPA ยังเปิดโอกาสให้มีการให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกอบการภายใน เพื่อให้สามารถปรับตัวแข่งขันบริษัทต่างชาติได้ อย่างไรก็ตาม การเข้าเป็นภาคีสมาชิก GPA ก็อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการภายในประเทศที่ทำการค้ากับตลาดภาครัฐ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ก็มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการให้สามารถรองรับการดำเนินงานที่มีความเป็นมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น

รูปแบบปัญหาคอร์รัปชั่น และ สินบนข้ามชาติ

การกำหนดแนวทางหรือการกำหนดนโยบาย มาตรการ แนวทางในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและสินบนข้ามชาติ มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจ รูปแบบและลักษณะ

  1.1 ระบบส่งส่วย (syndicate corruption) ​

  วิธีการ : ข้าราชการชั้นผู้น้อยเก็บส่วย หรือภาษีไม่เป็นทางการแล้วรวบรวมที่กองกลาง หลังจากนั้นแจกจ่ายรายได้ส่วยไปยังข้าราชการทั้งระดับสูงและล่างในกรม กอง

  แหล่งสำคัญ : เช่น รัฐวิสาหกิจ กรมที่ดิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร กรมจัดเก็บภาษี เป็นต้น

  1.2 กินตามน้ำ การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement kickbacks)

  วิธีการ : สินบนการจัดซื้อจัดจ้าง

  แหล่งสำคัญ : เช่น รัฐวิสาหกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ เกษตร องค์กรบริหารท้องถิ่นระดับต่างๆ และเทศบาล เป็นต้น

  1.3 การจ่ายสินบนเพื่อให้ได้การผูกขาดกิจการบางประเภทที่ต้องได้สัมปทานจากรัฐบาล และเพื่อคงสภาพการผูกขาดนั้นไว้ โดยการจ่ายสินบนเป็นการจ่ายประจำให้ข้าราชการหลายระดับ ในบางกรณีจ่ายทั้งกรม

  แหล่งสำคัญ : เช่น รัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์

  1.4 การคอร์รัปชั่นการประมูลโครงการ

  วิธีการ : หลายวิธีการ แต่โจ่งแจ้งที่สุดคือ การฮั้วกันระหว่างกลุ่มผู้เสนอประมูล เพื่อควบคุมการประมูลแล้วมีข้อตกลงเวียนกันเป็นผู้ชนะประมูลเป็นคราว ๆ ไป

  แหล่งสำคัญ : เช่น รัฐวิสาหกิจ กระทรวงคมนาคม กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย

รูปแบบและวิธีการคอร์รัปชั่นในสังคมไทย

  1. การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เช่น การผูกขาด การให้สัมปทาน และการเรียกเก็บส่วนแบ่งอย่างผิดกฎหมาย โดยการสร้างความขาดแคลนเทียม เช่น การกักตุนและผูกขาดสินค้าพื้นฐาน ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์ม ปัญหาการขาดแคลนน้ำตาล การเก็บเงินจากพ่อค้าแม่ค้าอย่างมิชอบของเทศกิจและตำรวจ เป็นต้น 

  1. บนต้นทุนของคนส่วนใหญ่ ทั้งที่รัฐวิสาหกิจแห่งนั้นไม่มีความจำเป็นดำรงอยู่อีกต่อไปและควรปล่อยให้เอกชนดำเนินการหรือเพิ่มบทบาทให้กับภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและรั่วไหลน้อยกว่า

  3. การมีผลประโยชน์ทับซ้อน สถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีผลได้รับผลเสียส่วนตัว และผลดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ หรือการกระทำหน้าที่โดยขาดความเที่ยงธรรม

  4. การใช้อิทธิพลทางการเมืองหาผลประโยชน์จากตลาดหลักทรัพย์ (ปั่นราคาหุ้นของตัวเอง)

  5. ปกปิดการบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง การปิดบังและให้การเท็จ

  6. การใช้นโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่างๆ อย่างมีอคติและลำเอียง

  7. การใช้อิทธิพลทางการค้า แสดงบทบาทเป็นนายหน้าหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการค้าต่างตอบแทน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับประเทศคู่ค้า

  8. การใช้ทรัพยากรของรัฐไปในทางมิชอบ การปลอมแปลงเอกสาร การฉ้อฉล การใช้กองทุนของรัฐเพื่อไปหาผลประโยชน์ทางการเมือง

  9. ไม่กระทำการตามหน้าที่ แต่ใช้ลัทธิพรรคพวกแทน เช่น การฮั้วประมูล

  10. การให้และการรับสินบน การขู่เข็ญบังคับและการให้สิ่งล่อใจ

  11. การยอมรับของขวัญที่ไม่ถูกต้อง เช่น เช็คของขวัญมูลค่าสูงและสินบนมูลค่าสูง

  12. ผู้บริหารประเทศทำตัวเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของประเทศ โดยการใช้นโยบายประชานิยม

  13. ใช้อำนาจของตำรวจ ทหาร และข้าราชการในทางที่ผิด

  14. ทุจริตการเลือกตั้ง ทั้งการซื้อเสียง และการทุจริตด้วยวิธีต่างๆ

  15. การบริจาคเพื่อช่วยเหลือการรณรงค์ที่ผิดกฎหมาย เช่น การบริจาคให้แก่นักการเมืองและพรรคการเมืองรัฐบาล เพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาลของรัฐบาล

  16. แปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือเพิ่มบทบาทเอกชนไม่เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง ทำให้เกิดมีการถ่ายเทผลประโยชน์สาธารณะไปยังเอกชนบางรายอย่างไม่ชอบธรรมโดยสังคมโดยรวมไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เป็นการเปลี่ยนอำนาจผูกขาดโดยรัฐเป็นการผูกขาดโดยกลุ่มทุนรายใหญ่โดยไม่ได้ปรับโครงสร้างตลาดให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น

  17. ยืดอายุสัมปทานเอกชนโดยไม่มีการเปิดประมูลและไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงต้องดำเนินเช่นนั้น ทำให้รัฐเสียโอกาสและสังคมเสียหาย ​