แก้ปัญหาทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง ยันเงินคงคลังรัฐบาลถังแตกจริง?

แก้ปัญหาทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง ยันเงินคงคลังรัฐบาลถังแตกจริง?

หากมองอย่างผิวเผินและไม่บูรณาการหรือผนวกรวมเหตุปัจจัยต่างๆ เข้าด้วยกัน หลายคน

อาจมองว่า การแก้ไขปัญหาทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง ฐานะการคลังและเงินคงคลังจะเกี่ยวกันอย่างไรบ้าง ความจริงมันเกี่ยวกัน โดยเฉพาะในหลายประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตการณ์ฐานะทางการคลังหรือรัฐบาลถึงขั้นถังแตก เงินคงคลังเหลืออยู่น้อยมากๆไม่พอใช้จ่าย ไม่สามารถเก็บภาษีได้ ไม่สามารถกู้เงินได้ ทำให้ขาดสภาพคล่อง นำไปสู่ภาวะล้มละลายทางการเงินการคลังของประเทศ ประเทศที่ประสบปัญหาดังกล่าวทั้งในละตินอเมริกาหรือแอฟริกาก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่มีปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น สินบนจัดซื้อจัดจ้างอย่างรุนแรงทั้งสิ้น เมื่อประกอบเข้ากับ การขาดวินัยทางการเงินการคลังขั้นรุนแรง และ เผชิญกับปัญหาการชะลอตัวหรือหดตัวทางเศรษฐกิจ ปัญหาถังแตกของรัฐบาล ก็จะเกิดขึ้นได้

แต่ปัญหาถังแตกนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง มักเป็นปัญหาสะสมต่อเนื่องยาวนาน บางทีเป็นทศวรรษจึงออกอาการ กรณีของไทยนั้นต้องบอกว่ายังไม่มีภาวะถังแตกหรือวิกฤติฐานะทางการคลังอย่างน้อยในระยะสามปีข้างหน้ามั่นใจว่ายังไม่มีปัญหานี้ แต่ที่เป็นปัญหาวิกฤติและต้องเร่งแก้ไข คือ การคอร์รัปชั่นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการติดสินบนข้ามชาติ หากปล่อยปละละเลยไม่รีบแก้ไข ต่อไป “ปัจจัย” จะเป็นเหตุหนึ่งในหลายๆสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะ “ถังแตก” หรือ “วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ” ได้ในอนาคต

ซึ่งก็คาดหวังว่า รัฐบาลชุดนี้จะได้เห็นความสำคัญและต้องเร่งแก้ปัญหาโดยไม่ชักช้า นะครับผม

การคอร์รัปชั่นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการติดสินบน เป็นปัญหาที่สั่งสมและหยั่งรากลึกในสังคมไทยมานาน โดยมีการคอร์รัปชั่นทุกภาคส่วนทั้งในระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ การคอร์รัปชั่นในรูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างเป็นการคอร์รัปชั่นขั้นพื้นฐานที่ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไร ต่างจากการคอร์รัปชั่นบางประเภท เช่น การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ การใช้นโยบายเอื้อประโยชน์ การออกแบบนโยบายเพื่อคอร์รัปชั่นถอนทุนจากการซื้อเสียง (คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย) การสร้างวุ่นวายขึ้นเพื่อหาเหตุในทำการรัฐประหารยึดอำนาจ (คอร์รัปชั่นอำนาจของประชาน) เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณรั่วไหลไม่ต่ำกว่า 120,000 400,000 ล้านบาทต่อปี การจัดซื้อจัดจ้างไม่ต่ำ 60%-70% ของรัฐวิสาหกิจหลายแห่งมีปัญหาเช่นนี้ การติดสินบนหรือคอร์รัปชั่นในลักษณะนี้ได้ทำกันจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติปรกติ เป็นที่เอือมระอาของบรรดานักธุรกิจและนักลงทุนทั้งหลายที่ไม่เห็นด้วยกับระบบอันฉ้อฉลนี้ การติดสินบนเช่นนี้และการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นเสมอ และ หลายกรณีก็ไม่ปรากฏว่าเอาผิดใครได้ ทั้งกรณี CTX กรณีการจัดซื้ออาวุธ การรั่วไหลจากการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น ระบบราชการและรัฐวิสาหกิจจึงซื้อของไม่มีคุณภาพและราคาแพง ให้ประเทศและประชาชนได้มาใช้ 

บางทีความเสียหายจากการดำเนินการในลักษณะนี้มากมายกว่าความเสียหายทางการเงินเพราะมันหมายถึง ต้นทุนค่าเสียโอกาสของประเทศ การบิดเบี้ยวของการพัฒนา ปัญหาต่างๆในการจัดซื้อที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานในระบบราชการและรัฐวิสาหกิจเสียชีวิตหรือไม่ปลอดภัย กิจการหรือบริษัทดีๆที่ไม่ยอมจ่ายสินบนบางแห่งถึงขั้นล้มละลาย ต้องเลิกจ้างพนักงานทำให้เกิดปัญหาการว่างงานอีก ภาคเอกชนไทยก็จะลงทุนทางด้านวิจัยและสร้างนวัตกรรมน้อยแต่จะใช้เงินไปสร้างสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจ ข้าราชการระดับสูงในหลายกรมก็ไปเป็นที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เอื้อประโยชน์ให้กันโดยไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การแต่งตั้งอธิบดีบางกรมต้องผ่านความเห็นชอบกับกลุ่มธุรกิจใหญ่ที่รับสัมปทานจากรัฐก่อน ระบบแบบนี้ สั่นคลอนระบบคุณธรรมในระบบราชการ คนดีมีความรู้ความสามารถขาดโอกาสในการเข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ดีขึ้นได้

ส่วนต่างค่าคอมมิสชั่นหรือสินบนไปอยู่ในกระเป๋าของผู้มีอำนาจทั้งในระบบรัฐวิสาหกิจ ระบบราชการและระบบการเมืองทั้งแบบแต่งตั้งโดยรัฐประหารหรือเลือกตั้งก็ตาม ขณะที่ภาคเอกชนที่ได้งานไปก็จะนำการจ่ายสินบนคิดเป็นต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ บางแห่งจ่ายผ่านบริษัทที่ปรึกษาก็คำนวณเป็นต้นทุนเช่นเดียวกัน ไม่มีเอกชนรายใดยอมขาดทุน ก็จะไปลดคุณภาพของที่ส่งมอบให้ราชการ ทำให้ราชการได้ของใช้คุณภาพต่ำหรือบางทีใช้ไม่ได้ก็มี 

เช่น กรณีรถดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร กรณีรถเมล์ ขสมก กรณีโกงกล้ายาง ความเสียหายของธนาคารรัฐหลายแห่งจากการปล่อยสินเชื่อ Connected Loans กรณีจัดสร้างโรงพัก กรณีทุจริตโครงการไทยเข้มแข็ง กรณีรับจำนำข้าว กรณีการสร้างถนนที่ชำรุดเร็วมากๆ กรณี GT200 กรณีเรือเหาะ กรณีอุทยานราชภักดิ์ กรณีอุปกรณ์ทางการแพทย์คุณภาพต่ำ โกงนมโรงเรียน โกงอุปกรณ์การศึกษา เป็นต้น การจัดซื้อของคุณภาพต่ำราคาแพงไม่ได้ส่งผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น โดยเฉพาะการทุจริตคอร์รัปชั่นในแวดวงการศึกษาทำให้เรามีทรัพยากรมนุษย์ที่อ่อนแอมาก ไม่สามารถเป็นความหวังสำหรับอนาคตของสังคมไทยได้

จึงเป็นเรื่องเศร้ามากๆ สำหรับประเทศที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นประมาณปีละ 120,000-400,000 ล้านบาท (ตัวเลขจาก หอการค้าไทย) ที่ต้องกู้เงินมาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั้งที่บางโครงการไม่ต้องกู้ หากเราสามารถลดหรือหยุดการทุจริตคอร์รัปชั่นได้สัก 50% ของมูลค่าคอร์รัปชั่นและมูลค่าสินบนที่มีอยู่ในสังคมไทย

ขณะเดียวกัน เราจะมีงบประมาณมากขึ้นในการดูแลระบบการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ เอกชนไทยอยู่ในสภาวะที่สามารถปรับเพิ่มเงินเดือนให้พนักงานและค่าแรงขั้นต่ำให้กับผู้ใช้แรงงานแรกเข้าให้เพียงพอต่อการดำรงชีพได้สบาย รัฐไม่ต้องมีแรงกดดันทางการเงินการคลังแล้วต้องไปหาวิธีในการตัดสวัสดิการด้านต่างๆโดยเฉพาะสวัสดิการในการรักษาพยาบาลของประชาชน เป็นต้น

สถานการณ์การติดสินบนข้ามชาติเกี่ยวเนื่องกับการจัดซื้อข้ามชาติ

OEDC ได้ตั้งข้อสังเกตในรายงานการติดสินบนข้ามชาติประจำปี 2557 ว่านับจากที่สนธิสัญญาเรื่องการต่อต้านการติดสินบนเจ้าพนักงานข้ามชาติในธุรกรรมระหว่างประเทศมีผลบังคับใช้ในปี 2542 “การบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการติดสินบนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก” โดยในรายงานได้เปิดเผยผลการศึกษาคดีการติดสินบนจำนวน 427 คดี ที่เจ้าพนักงานต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในระยะ 15 ปีที่ผ่านมา ผู้ต้องหา 80 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการติดสินบนถูกตัดสินให้จำคุก และ อีก 38 คนรอลงอาญา นอกจากนั้น 69% ของคดีที่ปรากฏในรายงานยุติลงด้วยการให้ผู้ต้องหาทำคำรับสารภาพ ชดใช้ค่าเสียหาย ถูกคุมความประพฤติ หรือด้วยข้อตกลงอื่น และผู้ต้องหาอีก 261 รายถูกปรับ ทั้งนี้มีบริษัทแห่งหนึ่งที่โดนปรับ

สูงสุดจากความผิดทุกกรรมรวมกันคือ 1.95 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าสูงสุดที่บุคคลถูกคว่ำบาตร คิดเป็นเงินได้ถึง 149 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เป็นที่ชัดเจนว่าส่วนได้เสียนั้นมีมูลค่าสูง ซึ่งแองเจล เกอร์เรีย เลขาธิการ OECD ได้เขียนไว้ในรายงานว่า ใน 41% ของคดีที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งมีค่าปรับเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10.9% ของมูลค่ารายการที่เกี่ยวข้อง และมีการคว่ำบาตรที่คิดเป็นเงินรวมได้ถึง 100% - 200% ของมูลค่าการคอร์รัปชันนั้น เห็นได้ว่าการต่อต้านคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างไม่ต้องสงสัย

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทุกคนมุ่งต่อต้านการคอร์รัปชั่นกันในวันนี้ คือ การปรับปรุงกรอบการควบคุมภายในเชิงบูรณาการ (Internal Control – Integrated Framework) ที่ประกาศใช้เมื่อปี 2557 ซึ่ง COSO ได้กำหนดให้องค์กรต้องพิจารณาโอกาสเกิดการทุจริตในองค์กรของตนเมื่อทำการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยกำหนดไว้เป็นหนึ่งในหลักการควบคุมภายใน 17 ข้อโดยในการพิจารณาให้รวมถึงความเป็นไปได้ในการกระทำทุจริตของบุคลากร ผู้รับจ้าง และบุคคลอื่นภายนอกองค์กรด้วย ในระยะหลายปีที่ผ่านมา บริษัท ซีเมนส์ จำกัด และ บริษัท เดมเลอร์ จำกัด ของเยอรมนี บริษัท BAE System ของอังกฤษ บริษัท Total ของฝรั่งเศส และบริษัท JGC ของญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างของบริษัทที่มีชื่อเสียงแต่ถูกตัดสินให้ต้องจ่าค่าปรับในอัตราที่สูง และเมื่อปลายปี 2557 บริษัท 8 ใน 10 รายที่ถูกรัฐบาลสหรัฐปรับในอัตราสูงสุด