ทรัมป์ ดอกเบี้ย หรือความเชื่อ 'ชึ้ราคาทอง'

ทรัมป์ ดอกเบี้ย หรือความเชื่อ 'ชึ้ราคาทอง'

ทรัมป์ดอกเบี้ยหรือความเชื่อชึ้ราคาทอง

เพียงไม่กี่วันของการเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกากระแสลมในตลาดการเงินดูจะกลับทิศ จากที่ก่อนหน้าความคาดหวังต่อนโยบายใหม่ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะสร้างความเป็นมหาอำนาจที่แท้จริงอีกครั้งของสหรัฐฯ สร้างแรงกระเพือมต่อตลาดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าดัชนีตลาดหุ้นอย่าง DowJone หรือ S&P500 ปรับตัวขึ้นหลังการชนะเลือก

ตั้งแต่หลังจากวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมาด้วยการตัดสินใจหลายด้านที่อาจจะกระทบต่อความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐฯ อย่างการผละออกจากยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเดิมที่โอบามาดำเนินการไว้อย่างTPP (Trans-Pacific Partnership) ซึ่งประเด็นนี้พี่ไทยอาจจะยิ้มและบอกว่าดีแล้วที่ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีไม่งั้นคงต้องหาทางเพื่อจะแข่งกันกับประเทศเพื่อนบ้านที่เข้าTPP กันเหนื่อยทีเดียว

นอกจากเรื่องด้านเศรษฐกิจที่เริ่มไม่สดใสแล้ว เมฆดำที่ตั้งเค้ามาตั้งแต่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งก็ดูจะใกล้สุกงอม หลายรัฐมีการตั้งวงประท้วงกันอย่างกว้างขวางโดยหยิบยกหลายประเด็นที่ผิดพลาดในอดีตของประธานาธบดีคนนี้มาเล่นแบบ non stop ทั้งประเด็นการวางตัวเรื่องเพศการกีดกันการเข้าเมืองของชาวมุสลิม ฯลฯ

ในด้านการต่างประเทศก็เริ่มเห็นการลองของเริ่มเห็นการเสียดสีกันเป็นประปรายโดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้าที่อาจจะทำให้สหรัฐฯเสียดุลการค้าน้อยลงนี่เป็นเพียงจุดเริ่มที่ผมเชื่อว่าจะเป็นหนังเรื่องยาว แบบนี้จึงไม่แปลกที่เราเริ่มเห็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯเริ่มอ่อนค่าลง และกลับไปอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนหน้าที่ทรัมป์จะชนะการเลือกตั้งโดยต่ำกว่าระดับ100 จุด(US Dollar Index) ซึ่งเป็นผลบวกต่อราคาทองคำนักวิเคราะห์ต่างประเทศเริ่มมีการคาดการณ์ราคาทองคำในเชิงบวกมากขึ้นโดยใช้ประเด็นของทรัมป์เป็นปัจจัยสนับสนุน

ด้านประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าที่ผ่านมาประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยส่งผลเชิงลบต่อราคาทองคำหรืออาจจะเรียกได้ว่าการปรับตัวลดลงของราคาทองคำในช่วงกว่า2 ปีที่ผ่านมา(หลังยุติการใช้QE) จำเลยที่หนึ่งคือธนาคารกลางสหรัฐฯโดยFED ขึ้นดอกเบี้ยจากระดับต่ำสุดมา 2 ครั้งครั้งแรกช่วงกลางเดือนธันวาคมปี2558 และครั้งที่ล่าสุดกลางเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาโดยขึ้นครั้งละ25 basis point จากระดับ0.25% เป็น0.75%

เหตุที่ต้องขึ้นก็มาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวแล้วดูจากการจับจ่ายใช้สอยเริ่มที่จะกลับมาสะท้อนผ่านการหมุนเวียนของเงินที่วัดจากM1 หรือถ้าพูดง่ายๆก็คือเงินที่ไหลเวียนในระบบที่หักออกด้วยเงินฝากในธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากช่วงวิกฤติทางการเงิน money multiplier อยู่ที่ประมาณ 0.7 แต่ปัจจุบันขึ้นมาอยู่ใกล้ระดับ0.95 (ก่อนหน้าวิกฤติsubprime อยู่ที่1.6) และต้องไม่ลืมว่าสหรัฐฯผลิตเงินใส่ระบบไว้จำนวนมหาศาล ดังนั้นเมื่อการหมุนของเงินมากขึ้นบวกกับปริมาณเงินที่ล้นตลาด สิ่งที่จะตามมาคือเงินเฟ้ออย่างเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยจึงเป็นการลดความเสี่ยงของเงินเฟ้อในอนาคตและอาจจะบอกได้ว่าปีนี้เราคงได้เห็นการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯอีกอย่างน้อย1 ครั้งและจากประเด็นนี้เองก็ทำให้เกิดการคาดการณ์เช่นเดียวกันว่าปีนี้อาจจะยังไม่ใช่ปีที่สดใสของตลาดทองคำจากแรกกดดันดอกเบี้ยนั้นเอง

กล่าวมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะกำลังสับสนว่าแล้วสรุปทองจะขึ้นหรือจะลงกันแน่ ก็เมื่อมองไปในอนาคตมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบทั้งสองฝั่งก็มีความน่าเชื่อถือมีเหตุมีผลเหมือนกันมีนักวิเคราะห์นักวิจารณ์สนับสนุนทั้งสองด้าน ในมุมมองของผู้เขียนปัจจัยแนวคิดทฤษฎีเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาจริงในตลาด ส่ิงหนึ่งที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาคือ “ความเชื่อ” ของคนส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจะพบว่าหลายปัจจัยที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ได้เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า แต่ราคาก็ตอบสนองตามความเชื่อของคนส่วนใหญ่ เช่น คาดว่าดอกเบี้ยจะขึ้นคาดกว่าฮิลลารี่คลินตันจะชนะการเลือกตั้งคาดว่าจะเกิดสงครามและหลายครั้ง “ย้ำ” ว่าหลายครั้งที่เหตการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่ก็ส่งผลต่อราคา ดังนั้น แม้เราจะอยู่บนข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างมีเหตุผล คาดการณ์ผลที่จะเกิดได้ชัดเจน แต่ก็ไม่สามารถสร้างผลกำไรชนะตลาดได้เนื่องจากราคาจะเคลื่อนไหวตามคนส่วนใหญ่ หมายความว่าคนส่วนใหญ่เชื่ออะไรก็จะเกิดการซื้อหรือการขายตามๆกันส่งผลให้ราคาเปลี่ยนแปลงตามความเชื่อนั่นเอง

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ การวิเคราะห์การลงทุนด้วยปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งเป็นที่นิยมกันในการวิเคราะห์ราคาทองคำเครื่องมือทางเทคนิคสร้างขึ้นจากหลักทางสถิติที่ใช้ข้อมูลอดีตมาพยากรณ์ราคาในอนาคต จากการใช้งานจริงผู้เขียนพบว่าบ่อยครั้งมากที่เครื่องมือทางเทคนิคสามารถพยากรณ์ราคาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งก็มีที่มาที่ไปจากความเชื่อของผู้ใช้เครื่องมือด้วยเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์ทางเทคนิคคาดการณ์แนวรับสำคัญของราคาทองคำอยู่ที่ระดับ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลงมาใกล้ระดับ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯผู้ที่เชื่อการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็จะส่งคำสั่งซื้อ (เกิดการซื้อเมื่อมองปัจจัยแวดล้อมอื่นประกอบ) เมื่อเกิดแรงซื้อจำนวนมากตามกลุ่มผู้ลงทุนที่ใช้เครื่องมือเหมือนกัน ราคาก็จะถูกดันขึ้นทำให้เครื่องมือทางเทคนิคสามารถใช้พยากรณ์ราคาได้จริง เช่นเดียวกัน ถ้าราคาทองคำปรับตัวลงต่ำกว่า1,200 ดอลลาร์สหรัฐฯผู้ที่ใช้เครื่องมือทางเทคนิคก็จะส่งคำส่ังขายพร้อมๆ กันทำให้ราคายิ่งลงเร็วกว่าเดิมนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ “ความเชื่อ” ที่มีผลการเคลื่อนไหวของราคา

ดังนั้นการจะมองว่าราคาทองคำจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด ผู้ลงทุนจำเป็นต้องสนใจมากกว่าข่าวสารเท่านั้น แต่ควรจะสนใจ “ความเชื่อ” ของคนส่วนใหญ่ที่มีต่อข่าวสารซึ่งจะมีผลต่อราคาโดยตรง มุมมองส่วนตัวปีนี้จะเป็นอีกหนึ่งปีที่ราคาทองคำจะมีความผันผวนสูงจากปัจจัยที่สามารถสร้างผลกระทบต่อจิตใจของผู้ลงทุนได้มากกว่าปีก่อนๆ เช่นแนวนโยบายใหม่ของทรัมป์ การแยกตัวหรือความอ่อนแอของยุโรป รวมถึงการคาดการณ์เรื่องดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน แต่จากอดีตที่ผ่านมากว่า4 ปี พบว่าในช่วงไตรมาสหนึ่งราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าไตรมาสอื่น และจะเริ่มอ่อนตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาสสองเป็นต้นไป ดังนั้นการจะเริ่มลงทุนทองคำในปีนี้เริ่มต้นปีจะมีโอกาสที่สดใสกว่าแต่นี่ก็เป็นเพียงความเชื่อของคนคนหนึ่งนะครับ...สวัสดี