เครื่องมือที่มีประโยชน์ หรือไร้ประโยชน์ กับการตลาด3.0

เครื่องมือที่มีประโยชน์ หรือไร้ประโยชน์ กับการตลาด3.0

เป็นคำถามที่ถามกันอย่างมากมายในปัจจุบันว่า เจ้า BarCode 1 มิติ หรือ 2 มิติ ต่อด้วย QR Code (Quick Response) ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น

และพัฒนาความสามารถไปอย่างน่าสนใจให้สามารถก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นกับพระเอกตัวใหม่อย่าง AR Code (Augmented Reality) ซึ่งปัจจุบันได้รับการตอบรับและใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในตลาดบ้านเรา

หลายคนเริ่มสงสัยว่า สิ่งเก่าย่อมทำให้สิ่งใหม่หายไปหรือไม่ หรือทำให้สิ่งเก่าดูไร้ประโยชน์ไปหรือไม่

เรื่องนี้คงต้องฝากความหวังไว้กับนักการตลาด รวมไปถึงผู้ที่ทำงานด้านกิจกรรมทางการตลาด หรือ Event Marketing ที่จะนำสิ่งเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับ Creative Idea เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ ทั้งทางด้าน วิธีการปฏิบัติและผลสำเร็จที่เราจะได้รับ บนความท้าทายของข้อจำกัดหลากหลายรูปแบบ 

ข้อจำกัดอย่างแรกที่ทำให้สิ่งที่สร้างสรรค์หรือใช้เวลาในการคิดในการนำเสนอเป็นเวลามากมาย ก็คือข้อจำกัดพื้นฐานทางด้านความเข้าใจ เพราะอย่างแรกไม่ว่าจะเป็น Code อะไรที่คุณคิดมา ไม่ว่าจะสร้างสรรค์หรือหวือหวาแค่ไหน ก็จะไร้ประโยชน์ทันที เมื่อผู้ใช้ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร 

ซึ่งนั่นก็อาจจะเกิดจากความเข้าใจไปเอง หรือเข้าใจผิดว่ากลุ่มคนส่วนใหญ่เข้าใจหรือมีพื้นฐานความรู้เท่าเทียมกัน อาจจะนึกภาพกันไม่ออกว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร 

ลองยกตัวอย่างกันง่ายๆ ถ้าท่านเอา QR Code ให้คนทั่วไปทดลองใช้ดู จะพบว่ามีอยู่จำนวนมาก ที่เปิดกล้องถ่ายภาพเพื่อจะอ่าน QR Code และพบว่ามันไม่ทำงานครับ คงต้องตอบว่าใช่ เพราะจริงๆ แล้ว คุณต้องใช้ QR Code Reader ซึ่งคุณต้องโหลดมาก่อน แต่อาจจะมีข้อดีอยู่บ้างที่กว่า 90% ของคนที่ใช้ Smart Phone ใช้ Line จึงมี QR Code Reader ติดอยู่ในเจ้าสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน ถือได้ว่าเป็นเหมือนสะพานเชื่อมไปยังอีกโลกหนึ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหาไปได้ดีทีเดียว

ถัดมาคือการไปถึงเจ้า AR Code ซึ่งถ้าเทียบกันแล้ว สำหรับคนที่คุ้นเคย ก็ถือได้ว่าไม่ได้ยากเย็นอะไรไปมากกว่าการนับ 3 และนับไปถึง 5 แต่หลายคนอาจจะตอบว่าไม่ ถ้าไม่ใช่คนที่คุ้นเคย เพราะไหนจะต้องทราบว่าท่านจะต้องโหลดแอปพลิเคชั่นมาก่อนไหนจะต้องมีพื้นฐานเล็กน้อยในเรื่องของการ Scan วัตถุ หรือการจับภาพที่คิดว่านั่นคือตัวกลางของการนำไปสู่การทำการตลาดแบบ ARvertising (คือการใช้ Augmented Reality มาเป็นสื่อของการทำ Advertising) ซึ่งถ้าก้าวข้ามจุดนั้นไปได้ ก็เท่ากับเปิดประตูสู่โลกใหม่ของ Brand Experience เลยทีเดียว 

ปัจจุบันกลไกของการคิดสร้างสรรค์คือพื้นฐานแรกที่ต้องทำให้ “ง่ายที่สุด” เท่าที่จะทำได้และด้วยกลไกอุปกรณ์ที่เรียกได้ว่า ผู้ใช้แทบจะต้องทำอะไรน้อยที่สุด ซึ่งบทแรกเป็นบทสำคัญคือต้องทำให้ผู้ที่จะใช้ ได้ใช้ และได้เข้าถึงสิ่งที่เราคิดให้ได้ แต่นั่นคือเรื่องที่ต้องร่ายยาวกันเกือบทุกรูปแบบเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นสื่อธรรมดาอย่างสิ่งพิมพ์ที่บ่งบอกวิธีการใช้ ไปจนถึงการใช้เจ้า QR Code ส่งต่อไปหา Application AR Code เพื่อให้ Load เจ้าแอปพลิเคชั่นมาให้จงได้ 

ซึ่งสุดท้ายเราก็ทำให้ ผู้ใช้ หรือ ผู้บริโภค ได้พบกับสิ่งที่เราได้ใช้เวลาคิด สร้างสรรค์ เพื่อมุ่งมั่น ให้ได้ Brand Engagement จนได้พบกับ Brand Experience ที่เราได้ตั้งใจไว้ 

แต่การจะไปถึงจุดนั้นคงต้องใช้ Creative Idea เป็นกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้สิ่งที่เราคิด มีประโยชน์ 

ดังนั้นจะได้ใช้ หรือไร้ประโยชน์เพียงเพราะแค่ได้เห็น เท่านั้นเอง