กฎหมายแข่งขันทางการค้า(2):ที่ใฝ่ฝัน

กฎหมายแข่งขันทางการค้า(2):ที่ใฝ่ฝัน

เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2559 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ....

ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

โดยร่าง พ.ร.บ. นี้มีสาระสำคัญ อาทิ ให้มีคณะกรรมการการแข่งขันการค้า 7 คน มีวาระ 6 ปี ขึ้นมากำกับดูแลการผูกขาดทางการค้า, ให้รวมรัฐวิสาหกิจที่แสวงหากำไรทุกประเภทอยู่ภายใต้ร่าง พ.ร.บ. นี้, ให้ทบทวนเกณฑ์เพื่อป้องกันธุรกิจที่สร้างแนวทางใหม่ในการผูกขาดทางการค้า, ให้รวมความผิดที่กระทำนอกประเทศ หากส่งผลกระทบต่อภายในประเทศ ต้องรับโทษตามร่าง พ.ร.บ. นี้, ให้การควบรวมธุรกิจที่อาจมีผลเป็นการผูกขาดการค้าต้องขออนุญาตก่อน เป็นต้น

 

16 ปีที่ กฎหมายแข่งขันทางการค้ายัง “ขาด”....

ตลอดเวลา 16 ปีที่ กฏหมายแข่งขันทางการค้าถูกมองว่าเป็นเสือกระดาษ!! “ขาด” ปัจจัยอีกมากมาย

          “ขาด” ความเป็นอิสระในการบังคับใช้กฎหมาย-ถูกการเมืองแทรกแซง (ขาดความเป็นกลาง, ประวิงเวลาการพิจารณา, นโยบายของรัฐบาลขัดแย้งกับการบังคับใช้กฎหมาย) / คณะกรรมการขาดความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายการแข่งขันทางการค้า และแต่งตั้งโดยภาคการเมือง

          “ขาด” ประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย-การสืบสวนสอบสวนมีขั้นตอนล่าช้า บทลงโทษและพฤติกรรมไม่สอดคล้องกัน / การพิจารณาคดีขาดผู้พิพากษาที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

          “ขาด” ความครอบคลุมธุรกิจ-ไม่ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจ ไม่เสมอภาคกับเอกชนเกิดความลักลั่นการประกอบธุรกิจ

  “ขาด” เกณฑ์การรวมธุรกิจสํานักงานแข่งขันทางการค้าไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายนี้เพื่อพิจารณาการรวมธุรกิจของผู้ประกอบการต่างๆ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการออกเกณฑ์การรวมธุรกิจ ทําให้

  “ขาด” ความชัดเจน ขาดกฎระเบียบและแนวทางในการบังคับใช้กฎหมาย ทําให้ฝ่ายบริหารสามารถใช้ดุลพินิจของตนในการตัดสินใจในกรณีต่างๆ ได้ด้วยตนเอง

          “ขาด” บุคลากรและงบประมาณ สํานักงานแข่งขันทางการค้าขาดผู้เชี่ยวชาญและเงินสนับสนุนที่จะทําให้มีความเข้มแข็งในการดําเนินงาน

 

กฎหมายแข่งขันทางการค้าที่อยากเห็น

 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเป็นหน่วยงานอิสระ ปลอดจากการเมือง 

      ทั้งบุคลากร งบประมาณ และการดำเนินงาน เพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัว ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ สำหรับรูปแบบขององค์กรอิสระอาจพิจารณารูปแบบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)หรือ รูปแบบของสำนักงานคณะกรรการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 

สำนักงานคณะการแข่งขันทางการค้าต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจที่ได้รับการร้องเรียน 

      รวมถึงการดำเนินการของสำนักงานฯ ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน และ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าต้องมีหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคเกี่ยวกับกฎหมายแข่งขันทางการค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนและอย่างสม่ำเสมอกำหนดให้ 

เพิ่มบทลงโทษทางปกครองให้สูงพอแก่การเป็นเครื่องมือป้องกัน 

      เพราะหากบทลงโทษไม่สูงอาจทำให้ผู้ประกอบการยอมจ่ายค่าเสียหายเพื่อแลกกับการกระทำผิดกฎหมายได้ โดยบทลงโทษไม่ควรระบุเป็นจํานวนที่แน่นอน แต่ควรระบุเป็นสัดส่วนของมูลค่าทางการค้าดั่งเช่นกฎหมายสากลทั่วไป เช่น ในสหรัฐ กำหนดให้มีการปรับทางการปกครองมีค่าเป็น 3 เท่าของมูลค่าความเสียหาย และมีการลดหย่อนในกรณีที่มีการยอมรับผิด 

กรรมการต้องสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทำงานเต็มเวลา 

    องค์ประกอบของคณะกรรมการ ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือ มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 10 ปี ในสาขานิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน อุตสาหกรรม การบริหารธุรกิจ หรือการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งในทางปฏิบัติกฎหมายแข่งขันทางการค้าเป็นกฎหมายเฉพาะที่จำเป็นจะต้องความรู้ทางด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์เท่านั้น

ปัจจุบัน ที่มาของกรรมการโดยตำแหน่ง และมาจากภาคเอกชน กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง ส่วนใหญ่เป็นตัวแทนภาคธุรกิจขนาดใหญ่ และนักการเมือง