6 ลัทธิบริโภคนิยมปี 2016 ที่นักการตลาดต้องไม่พลาด

6 ลัทธิบริโภคนิยมปี 2016 ที่นักการตลาดต้องไม่พลาด

คราวที่แล้วผมมารีวิวเพื่อนบ้านกันแล้ว คราวนี้เรามาทำความเข้าใจพฤติกรรมคนในบ้านเรากันบ้างครับ

ยิ่งเป็นนักการตลาดยิ่งต้องทราบครับ ว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มความต้องการ หรือมีพฤติกรรมไปในทิศทางใดบ้าง ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ บริษัท เอ็นไวโรเซล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมและจิตวิทยาผู้บริโภค ได้ศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2016 ที่มักตัดสินด้วยอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ใช้ตัวตนเป็นที่ตั้ง อันเนื่องมาจากเทคโนโลยี ความสะดวกสบาย รวมถึงสังคม ที่เอื้ออำนวยให้เกิดเป็น 6 ลัทธิบริโภคนิยม ได้แก่ 

สุขนิยม (JoyLust) แบบฉบับนิยม (I-mage) สันโดษนิยม (Sole-cial) ธรรมชาตินิยม (Farm-ganic) ดรามานิยม (Dramaqueen) และอัตโนมัตินิยม (Automatism) แต่เรามาทำความรู้จัก กับ 3 ค่านิยมแรกกันก่อนนะครับ

สุขนิยม (JoyLust)

ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีต่างๆ มารองรับ แต่คนสมัยนี้จะโหยหาความสุข ยิ่งในโลกโซเชียล เห็นใครๆ ชีวิตดี ดูมีความสุข ก็พยายามจะใช้ชีวิตแบบนั้นบ้าง ที่สำคัญคือ ยิ่งบริโภคโซเชียลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเครียด และพยายามมี และเป็นแบบคนอื่น คนเหล่านี้ใช้ความสุขเป็นตัวตั้ง ในการตั้งเป้าหมายในชีวิต ต่างกับคนสมัยก่อนที่ตั้งหน้า ตั้งตาทำงาน ใช้ความขยัน อดทนเป็นตัวตั้ง ดังนั้น คนเหล่านี้ย่อมอยากทำอะไรก็ได้ที่มีความสุข อะไรที่ไม่มีความสุขจะไม่ทำ และไม่อดทนทำงานหนักอีกต่อไป เพราะฉะนั้น สินค้าหรือบริการที่จะสร้างความสุข เป็นตัวช่วยในการทำงาน หรือช่วยลดภาระงาน จะตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนี้มากทีเดียว

แบบฉบับนิยม (I-Mage)

แน่นอนครับว่ามันหมายถึง ตนเป็นแบบฉบับแห่งตน ทุกวันนี้ทุกคนสามารถบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองได้ผ่านโลกโซเชียล จนกลายเป็นเครื่องมือสำหรับการแบรนดิ้งตัวเองของใครก็ได้ โดยจะโชว์แต่ด้านดีๆ ของตัวเอง แสดงตัวตนของตัวเองเต็มที่ ต้องการเป็นนายตัวเอง จึงมักจะชอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง สามารถออกแบบเองได้ หากนักการตลาดจัดหาบริการหรือสินค้าที่เจาะจงกับตัวตนผู้บริโภคได้ก็ถือว่าเป็นการตอบสนองที่ตรงจุดครับ

ธรรมชาตินิยม (Farm-ganic) 

จะเห็นได้ว่าเดี๋ยวนี้มีคอนเซ็บสินค้าที่ให้ความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ หรือเป็นมิตรกับธรรมชาติที่ได้รับความนิยมเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Farm to Table, Farm travel, หรือ Eat with local เป็นต้น ซึ่งอาจสอดคล้องกับความต้องการแสดงตัวตน โดยโชว์ไลฟ์สไตล์ที่ทำให้รู้สึก Cool เท่ๆ หรือ รู้สึกว่าพรีเมียม หรือแม้กระทั่งอยากมีประสบการณ์แบบที่เรียล ธรรมชาติและดิบๆ ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การทำอาชีพเกษตรกร เพราะตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่ออกแบบเอง และมีไลฟสไตล์เท่ๆ ซึ่งแนวโน้มผู้บริโภคจะนิยมท่องเที่ยววิถีเกษตรกรรม หรือโฮมสเตย์ และสนใจผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมากขึ้น อีกทั้งยังเห็นคุณค่าของสิ่งที่ซื้อหามามากขึ้น โดยจะไม่ใช้ของทิ้งขว้าง แต่จะเลือกใช้ของน้อยชิ้นที่มีความหมายต่อตัวเอง 

แน่นอนครับ จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของพฤติกรรมผู้โภคนั้นเปลี่ยนไปไม่มีที่สิ้นสุด ในฐานะนักการตลาดคนหนึ่ง ผมต้องบอกว่า ต้องจับตามองครับ เพราะจะทำให้เราวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเตรียมพร้อมรับมือกับพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปได้ทันท่วงที พร้อมปรับปรุงสินค้าและบริการได้เหมาะสมตามยุคสมัยอีกด้วย 

สำหรับตอนต่อไป มาวิเคราะห์กันครับว่าอีก 3 ลัทธิบริโภคนิยม คือ สันโดษนิยม ดรามานิยม และอัตโนมัตินิยมจะช่วยเราเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างไรบ้างครับ