มาตรการเชิงรุก รับมือ.. ภัยก่อการร้าย

มาตรการเชิงรุก รับมือ.. ภัยก่อการร้าย

วินาศภัยที่เกิดขึ้นในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 14 พ.ย.

ที่ผ่านมา ประเมินว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ กว่าร้อยราย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากจะสร้างความ ตื่นตระหนก ให้กับผู้คนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั่วโลก โดยเฉพาะผลกระทบต่อ เศรษฐกิจ และ การท่องเที่ยว

ฐานที่ฝรั่งเศส คือ แหล่งท่องเที่ยวติดอันดับต้นๆของโลก มีผู้คนเดินทางไปท่องเที่ยวปีละกว่า 70 ล้านคน

ขณะเดียวกัน ฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มี ขนาดเศรษฐกิจ ใหญ่เป็น “อันดับ2” ในยุโรป รองจากเยอรมนี

โดยนักวิเคราะห์ ยังมองว่า ภัยก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในกรุงปารีส จะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซน โดยจะเป็น ตัวเร่ง ให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เพิ่มวงเงินผ่านมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ (คิวอี) เร็วขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปที่ชะลอตัวอยู่แล้ว ไม่ให้ทรุดตัวลงอีกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการท่องเที่ยวไทย ทวีปยุโรปนับเป็น นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทย มากเป็น "อันดับสอง รองจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก (รวมจีน -นักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากเป็นอันดับ 1 ในไทย)

โดยในช่วง 9 เดือน (ม.ค.ก.ย.) ข้อมูลเบื้องต้นจากสำนักตรวจคนเข้าเมือง และกรมการท่องเที่ยวระบุว่า มีนักท่องเที่ยวยุโรปเดินทางเข้าไทยกว่า 3.9 ล้านคน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 271,218 ล้านบาท

ขณะที่ฝรั่งเศส ถือเป็นนักท่องเที่ยว ที่เดินมาเที่ยวไทย เป็น อันดับ 5 ” เมื่อเทียบกับตลาดหลักๆในยุโรป โดยในช่วง 9 เดือนของปีนี้ มีจำนวนกว่า 4.9 แสนคน เพิ่มขึ้น 5.65% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ยังคงอยู่ระหว่างติดตามผลกระทบด้านการท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิด ด้วยความกังวลลึกว่า ผลกระทบด้านการท่องเที่ยว จะลามไปทั่วยุโรป จากมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดในการตรวจตราการ “เข้า-ออก” ในการจองที่พักล่วงหน้า ในช่วงต้นปีหน้า ไม่เฉพาะเพียงผลกระทบในฝรั่งเศส

ที่สำคัญผู้คนจะหมด มู้ดในการท่องเที่ยวเดินทางออกนอกประเทศ

ย้อนกลับไป “ภัยก่อการร้าย” นับว่าบั่นท่องภาคการท่องเที่ยวมาโดยตลอด 

ด้วยสปีดที่ เร็วและ แรง” !!  

อย่างเหตุการณ์ระเบิดใกล้ศาลท้าวมหาพรหม แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 17 ส.ค.2558 ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตนับสิบราย และผู้บาดเจ็บจำนวนมาก เป็นอีกเหตุการณ์สะเทือนขวัญ กดดันการท่องเที่ยวไทย ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว 

โดยขณะนั้นรัฐตั้งความหวังว่าจะมี “รายได้จากการท่องเที่ยว” มาพยุงรายได้ประเทศ ที่แทบจะไม่มีการขับเคลื่อน ทั้งการลงทุนภาครัฐ ภาคเอกชน และการส่งออก

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่แยกราชประสงค์ ทำให้หลายประเทศ “เตือน” นักธุรกิจและนักท่องเที่ยว เดินทางมาไทย ขณะที่ธุรกิจประกันภัยไม่คุ้มครองความปลอดภัยจากการเดินทาง ร้อนถึงกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานดึงดูดการท่องเที่ยว ต้องเป็น “หัวหอก” เรียกคืนความเชื่อมั่น ในช่วงไฮซีซัน (ปลายปี) ของไทย ทั้งการเดินทางไปโรดโชว์ รวมไปถึงการจัดแคมเปญท่องเที่ยวใหญ่ 

หมอกควันกำลังจะจางลง ยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย กำลังจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ รับช่วงไฮซีซัน  

จนมาเกิดเหตุก่อการร้ายในฝรั่งเศส บั่นทอนท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง ในเวลาเพียง 3 เดือน หลังจากเหตุการณ์ระเบิดบริเวญแยกราชประสงค์  

่ปัจจัย เรื่อง “ภัยก่อการร้าย”  จึงเป็นเรื่องที่นานาประเทศ ต้องมองหา มาตรการเชิงรุก  ป้องกันสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ 

แบบกันไว้ดีกว่า แก้

จากปมความขัดแย้งระดับโลก ที่ ซับซ้อน-ซ่อนเงื่อนขึ้นทุกวัน