Tokyo Olympic 2020

Tokyo Olympic 2020

เหลือเวลาอีก 5 ปีรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังเตรียมการสำหรับ Olympic 2020 ซึ่งตอนนี้เรียกว่า เป็นกระแสค่อนข้างแรงอยู่ในญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเองตั้งเป้าไว้เป้าไว้สูงมากที่จะใช้ Olympic ที่จัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว เป็นแรงผลักดันทางเศษรฐกิจ ครั้งใหญ่ เพราะรัฐบาลต้องลงทุนนับ “แสนล้านบาท” สำหรับมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติครั้งนี้

แน่นอน เม็ดเงินการลงทุนจะถูกลงทุนไปกับ การก่อสร้าง Olympic Park   ระบบขนส่งต่างๆ อย่างมหาศาล ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี 

ขณะเดียวกัน รัฐบาลญี่ปุ่น เองเริ่มหันมามองเรื่องการท่องเที่ยว ว่าจะสร้างเม็ดเงินระยะยาวได้อย่างมหาศาล อย่างที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างสูง จนกลายเป็นประเทศชั้นนำในเรื่องการท่องเที่ยวของโลก มีนักท่องเที่ยวมาไทย 25-26 ล้านคน

ขณะที่ญี่ปุ่นเองมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ เพียงปีละ 10 ล้านคน

รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศตั้งเป้าหมายไว้ว่า ปี 2020 ที่จะมี Olympic จะมีนักท่องเที่ยวเข้าญี่ปุ่นถึง 20 ล้านคน เพิ่มขึ้นเท่าตัว  แน่นอนจะนำเงินเข้าประเทศปีละหลายล้านล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับการลงทุนการเป็นเจ้าภาพ Olympic ถือได้คุ้มค่ามาก 

ถือได้ว่าเป็นการมองช่องทางหารายได้ใหม่แทนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนกส์ที่ตกต่ำอย่างมาก เพราะหลายๆบริษัทของญี่ปุ่นสู้เกาหลีไม่ได้ โตชิบา พานาโซนิค เองล้วนมีผลประกอบการไม่ดีทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่น กลับต้องพบกับ ข้อครหาต่างๆ เริ่มจาก “โลโก้” การแข่งขัน Olympic 2020 ที่คณะกรรมการคัดเลือก เพิ่งเปิดตัวโลโก้ไป ออกแบบโดย Kenjiro Sano Art Director อายุ 43 ชาวญี่ปุ่นดันไปเหมือนโลโก้ ของ Theatre  de Liege ซึ่งอยู่ เมือง Liege แถบตะวันออกของ Belgium ซึ่งเจ้าของงาน Design Mr. Olivier Debie กำลังปรึกษาทนาย เพื่อจะฟ้องร้อง เรียกค่าเสียหาย หรือไม่ต่อไป

ปัญหาต่อมาคือ เรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง Olympic stadium ที่ถูกออกแบบโดย สถาปนิก ชื่อดัง ระดับโลก Zaha Hadid จากราคา ที่เริ่มต้น ประมาณการค่าก่อสร้างไว้ 130 พันล้านเยน หรือ ประมาณ 45,000 ล้านบาท เมื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง ประเมินกลับสูงถึง 252 พันล้านเยน หรือประมาณ 71,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าค่าก่อสร้าง Terminal 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิที่ประมาณการไว้ 6 หมื่นล้านบาท แถมต้องใช้เวลาก็สร้างถึง 5 ปี ขณะที่กำหนดแล้วเสร็จจะใกล้เคียงกับการจ้ดงาน

กว่าจะถึง Olympic 2020 รัฐบาลญี่ปุ่นคงต้องเผชิญปัญหาอีกมากมายที่ไม่สามารถคาดเดาว่าจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ 

คงเป็นธรรมดาสำหรับการทำงานใหญ่ๆระดับโลก