ถอดยศ 2 อดีตนายกฯ

ถอดยศ 2 อดีตนายกฯ

พล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ที่ปรึกษา (สบ10) ประธานคณะกรรมการถอดยศข้าราชการตำรวจ

 แจ้งผลประชุมคณะทำงานพิจารณาการถอดยศ .ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 5 ต่อ 0 ที่ประชุมมีผู้แทนฝ่ายกฎหมายร่วมด้วย

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจฯ การถอดยศสามารถกระทำได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จะกำหนด

พ.ร.บ.ตำรวจเป็นกฎหมายแม่ แต่จะถอดยศใครให้ ตร.ไปออกระเบียบ ซึ่งลงนามโดย ผบ.ตร. ประกอบระเบียบที่เกี่ยวข้องคือทะเบียนพลทำได้เพียงประมวลข้อเสนอแนะไปให้ ผบ.ตร.พิจารณา สุดท้ายอยู่ที่ ผบ.ตร.จะพิจารณาว่าจะถอดหรือไม่ถอดยศ เพราะเหตุใด

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า การถอดยศ ถอดเฉพาะตำรวจในราชการ ส่วนอดีตตำรวจที่มียศอยู่ ไม่ถอดยศ

จากการสืบค้นในอดีต พบมีการ ถอดยศ โดยทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ และมีแต่เฉพาะถอดยศกับผู้ที่รับราชการอยู่แล้วไปกระทำผิดอาญา

การ ถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณ เคยมีหนังสือของ ตร. สมัย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. พิจารณาเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยถ้อยคำ และเจตนารมณ์ของระเบียบ ตร.ว่าด้วยเรื่องการถอดยศตำรวจ ปี 2547 ไม่ได้กำหนดเป็นการบังคับว่าเมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ต้องดำเนินการถอดยศตำรวจ หรือเสนอถอดยศตำรวจเสมอไป เพราะการถอดยศตำรวจหรือเสนอถอดยศต้องพิจารณาข้อเท็จจริง อันเป็นการกระทำที่นำความเสื่อมเสียมาสู่หมู่คณะผู้มียศตำรวจ

ตร.เห็นว่า แม้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ 2 ปี คดีถึงที่สุด จะเข้าข่ายพิจารณาเสนอถอดยศได้ก็ตาม แต่การกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเพียงการลงนามยินยอมให้ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร ผู้เป็นภรรยาเข้าประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด ซึ่งตามกฎเกณฑ์ของทางราชการจึงไม่อาจถือว่าเป็นการนำความเสื่อมเสียมาสู่คณะผู้มียศตำรวจ ประกอบ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ทำคุณประโยชน์และสร้างชื่อเสียงให้กับตร.อย่างมาก จึงไม่เสนอถอดยศ

  ย้อนกลับไปดูอีก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดยศตำรวจ มีถึง 118 รายการ มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องถอดยศตำรวจ(นอกราชการ)นายตำรวจผู้โด่งดังในอดีต ท่านเห็นชื่อก็จะร้อง อ๋อ

ดังนั้น การ ถอดยศ ตำรวจนอกราชการ ทำกันมานานแล้ว ตรวจจากราชกิจจานุเบกษาลงไว้ตั้งแต่ ก.ค.2484

การลงประกาศราชกิจจา ปี 2542 ถอดยศ ตำรวจ จะมีคำว่า นอกราชการ เนื้อหาระบุเหตุที่ถูกถอดยศเพราะกระทำผิดขณะยังรับราชการและมียศอยู่ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วจึงได้ประกาศถอดยศและให้ผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ถูกไล่ออกจากราชการเพราะทำผิด

ระบียบให้ ผบ.ตร.เป็นผู้พิจารณา ถอดยศ จะคงไว้หรือจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไร การถอดยศควรตราเป็นกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน จะดีกว่าทำเป็นระเบียบเช่นที่เป็นอยู่นี้ดีหรือไม่

ส่วนการถอดยศ ทหาร ยกเอากรณี อดีตนายกฯ  อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กระทรวงกลาโหม มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 1/2556 เรื่อง เพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม ลงนามโดย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ 2 ม.ค.2556

หนังสือดังกล่าว มีเนื้อหาว่า มีหลักฐานเป็นที่ยุติว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้สมัครเข้ารับราชการในโรงเรียนนายร้อย จปร. โดยเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติบรรจุเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร อันมีมูลเหตุจากอภิสิทธิ์ เป็นบุคคลที่ไม่ผ่านการรับราชการทหารกองประจำการ ไม่ผ่าน (ขาด) การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการโดยไม่ได้รับการผ่อนผันตามกฎหมาย ไม่มีเอกสารใบสำคัญทางทหารหรือเอกสารผ่อนผัน

คำสั่งให้บรรจุ อภิสิทธิ์ เป็นข้าราชการพลเรือนชั้นสัญญาบัตร เป็นนายทหารสัญญาบัตรมียศ ว่าที่ ร.ต. เป็นคำสั่งที่ออกด้วยความผิดหลง และที่มาจากความไม่สุจริต จึงเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นคำสั่งที่ยังมีผลบังคับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจำต้องปฏิบัติตามต่อไป อีกทั้งสิทธิและหน้าที่ประโชยน์ที่ได้รับจากคำสั่งมิชอบด้วยกฎหมายนั้นยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน และอนาคต ทำให้รัฐและราชการของกระทรวงกลาโหมเสียหาย จึงมีความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควรให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ประกอบด้วย

        คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 720/30 ลงวันที่ 7 ส.ค.2530 เรื่องบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ เฉพาะในรายหมายเลขหนึ่ง 

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 

      เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตรคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 339/31 ลงวันที่ 22 เม.ย.2531 เรื่องแต่งตั้งข้าราชการกลาโหม พลเรือนเป็นนายการสัญญาบัตร เฉพาะในรายหมายเลข 1 ว่าที่ร้อยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ