คนอาเซียน ... คนไทย ... เราจะสู้ได้มั้ย

คนอาเซียน ... คนไทย ... เราจะสู้ได้มั้ย

สวัสดีครับ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสคุยกันในหลายเรื่องทั้งที่เป็นปัจจัยของเราเอง และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ซึ่งหลัก ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงของอาเซียนเราเอง ซึ่งในระหว่างที่เราปรับตัวของเราเองในไทยอยู่นั้น บ่อยครั้งผมได้เห็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เราก็ตั้งคำถามว่า ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นักลงทุนจากต่างประเทศยังคงมาประเทศไทยหรือไม่ หรือว่าในระยะเวลา 2-3 ปี ข้างหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปประเทศไหน

ซึ่งในด้านของความน่าสนใจในการลงทุนในประเทศไทยนั้น ต้องบอกว่า วันนี้ความน่าสนใจยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในทางกลับกัน หากการลงทุนนั้นเป็นการลงทุน ที่มีการลงทุนเพื่อหวังผลระยะปานกลาง หรือต้องการมองความเชื่อมต่อและความมั่นคงระยะยาว ไทยอาจจะไม่ได้เป็นประเทศที่น่าสนใจในระยะนี้

ความคิดเรื่องความน่าสนใจ ในการเป็นประเทศที่ถูกเลือกนั้น ไม่ได้หมายถึงให้หมดกำลังใจว่าความน่าสนใจของไทยนั้น อาจจะลดลง แต่ในทางกลับกัน เราคงต้องถามเราเองว่าเราต้องทำอะไรในการทำให้ประเทศของเรามีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าเดิม

ในระยะนี้ประเทศที่มีแนวทางที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ด้านการลงทุนคือ ญี่ปุ่น ซึ่งเราเห็นจากนโยบายThailand + 1 (ไทยแลนด์พลัสวัน) ซึ่งเดิมเปลี่ยนแปลงจาก China + 1 (ไชน่าพลัสวัน) ที่เดิมประเทศไทยเป็นประเทศ +1 นั้น แต่ในตอนนี้กลับเป็นประเทศไทยและประเทศอื่นๆ

พอกลับมาถามตัวเองว่า แล้วอะไรที่ทำให้จำเป็นต้องมีประเทศอื่นๆ ด้วยเพิ่มเติมจากประเทศไทย เราคงต้องยอมรับว่าการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อหาทรัพยากร และการลดต้นทุน (ถ้าจะให้ดี การหาลูกค้าที่มีปริมาณมากก็มีความสำคัญ) และการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติคงหาลักษณะของทรัพยากรทั้ง ธรรมชาติ มนุษย์(มีฝีมือและทั่วไป) ถนนหนทาง ซึ่งสำหรับไทยเรานั้น อัตราการว่างงานของคนไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำ และการหาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย และต้องหาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาในไทย เป็นจำนวนหลายล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่จะมาทำงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก

ในด้านอื่น ๆ นั้น ประเทศไทยต้องบอกว่าได้เปรียบหมด ไม่ว่าถนนหนทาง ที่ตั้ง และอากาศ และหากเราเริ่มลงศึกษาและสัมผัสความเป็นไปของทรัพยากรที่เรียกว่าทรัพยากรมนุษย์ในอาเซียนนั้น มีหลายประเด็นที่ดูน่าสนใจ และอาจต้องทำให้เราเริ่มพิจารณาตัวเองว่า ในอนาคตอีก 3-5 ปี เราจะสู้เพื่อน ๆ ในอาเซียนได้หรือไม่

เมื่อสักประมาณกว่าครึ่งปีที่ผ่านมา ผมได้เห็นการโฆษณาเรื่องการเพิ่มความสามารถในการสื่อสาร ภาษาต่างประเทศของหลาย ๆ สถาบัน ซึ่งบางแห่งก็บอกว่าถ้าจะให้พร้อมกับอาเซียนที่จะมาถึงต้องมา เรียนภาษา และภาษาที่ต้องเรียนคือภาษาอังกฤษ และช่วงหลัง ๆ ผมได้มีโอกาสพบกับคนหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งสิ่งที่สัมผัสได้คือ หลายคนไม่น้อยที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้านเราซึ่งเรามักเรียกว่า CLMV นั้น กลับมีความสามารถพูดภาษาได้มากกว่า 1 ภาษา

ภาษาหลักๆ คือภาษาของตนเอง บวกกับอย่างน้อย1 ภาษา ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย เวียดนาม (คนลาวพูดเวียดนามได้ คนเวียดนามพูดลาวได้) หรือ ฝรั่งเศส ซึ่งพอมองกลับมาในประเทศ ไทยของเรา ผมไม่แน่ใจว่าเราจะสามารถหาคนพูดได้หลายภาษาอย่างที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรามีหรือ เปล่า นอกจากนี้การให้ทุนการศึกษาจากหน่วยงาน องค์การสากลหลาย ๆ แห่ง มีการให้ทุนการศึกษาในต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านเราไม่น้อย อาทิ ในประเทศลาว และกัมพูชา มีทุนการศึกษาทั้งตรีและโทในแต่ละประเทศมากกว่า 300 ทุน (หากเราเปรียบเทียบจำนวนประชากร ของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อัตราส่วนของทุนการศึกษาต่อต่างประเทศของเรานั้นน่าจะน้อยกว่า)

หากเรามองความพร้อมเริ่มต้น คือ เรื่องภาษา และเรื่องโอกาสของคนไทยนั้น ผมไม่มั่นใจว่าเราจะ สามารถพูดได้ว่า เราพร้อมและจะไม่มีปัญหาในอนาคต ซึ่งในอดีตเวลาเรามองประเทศที่เราแข่งขันใน ภูมิภาค ส่วนใหญ่เรามองถึงสิงคโปร์ แต่ในวันนี้ผมคิดว่าถ้าเรายังคิดว่าภาษาที่ต้องรู้ เป็นเพียงภาษาอังกฤษ ในอนาคตคงสู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้

นอกจากนี้ในประเทศเพื่อนบ้านเราก็เข้าใจ ภาษาไทยเป็นอย่างดี ดูทีวีไทย ใช้พจนานุกรมไทย เรียนทั้งในไทย และประเทศอื่นๆ แต่ในทางกลับกัน เราไม่ค่อยดูทีวีประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ค่อยเข้าใจความเป็นไป และการเปลี่ยนแปลง หรือแม้กระทั่งบางครั้ง อาจไม่เคยไปในประเทศเพื่อนบ้านเลยด้วยซ้ำไป

โดยสรุปหากเราเริ่มปรับตัวเตรียมพร้อมให้เพิ่มเติมขึ้นตั้งแต่วันนี้ และพยายามเข้าใจการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านของเรามากขึ้น ความสามารถในการแข่งขันและความน่าสนใจ ในการเป็นจุดหมายหลักของการค้าการลงทุนในประเทศไทย และใช้เราเป็นศูนย์กลางก็จะมีโอกาสสูง แต่หากเรายังไม่มีการปรับตัว และไม่ส่งเสริมทรัพยากรรุ่นเยาว์ของเราให้เป็นกำลังที่สำคัญในอนาคต เราคงเลี่ยงไม่ได้ ที่จะมีบุคลากรหลายเชื้อชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย และด้วยความสามารถด้านการสื่อสารที่รอบด้าน อาจทำให้ตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่ง คนไทยอาจไม่สามารถทำหน้าที่ได้

นอกจากนี้หากด้านการดำเนินธุรกิจ เราก็จะเห็นนักธุรกิจต่างชาติหน้าใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและประสบผล สำเร็จด้วยมีความสามารถการสื่อสารเป็นพื้นฐาน

คนไทยเป็นคนที่เป็นมิตร มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เชื่อถือได้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และซื่อสัตย์ และหากเราสามารถเพิ่มความสามารถในด้านการสื่อสารให้มากขึ้นเราก็จะเดิน และวิ่งไปกับการเปลี่ยน แปลงในกระแสที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ปิดจุดอ่อนและเอาจุดแข็งมาให้เป็นประโยชน์เริ่มได้ตั้งแต่วันนี้