นโยบายรัฐกับโรฮิงญาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

นโยบายรัฐกับโรฮิงญาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากภาพข่าวทางสื่อทำให้เกิดคำถามถึงเหตุการณ์ทางจังหวัดภาคใต้ว่าโรฮิงญา คือใคร แล้วจะจัดการกับชนกลุ่มนี้อย่างไร

โรฮิงญาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐที่ถูกกระทำอย่างเหยียดหยาดและถูกปฏิบัติอย่างป่าเถื่อนจากรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่องและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ทำให้กลุ่มโรฮิงญาไม่สามารถอยู่ในประเทศพม่า ต้องอพยพเพื่อมาพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้าน

พม่าไม่ยอมรับว่าโรฮิงญาเป็นพลเมือง และในปี พ.ศ. 2491 กองทหารพม่าออกปฏิบัติการกวาดล้างพวกนี้ หมู่บ้านหลายร้อยแห่ง “ถูกเผาและคนหลายพันคนถูกฆ่า ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลอพยพหนีไปยังบริเวณที่เป็นปากีสถานในขณะนั้น” (Yunus :1995) และ นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่เจ้าหน้าที่ทางการพม่าพยายามจะข่มขวัญและขับไล่ พวกโรฮิงญาในครั้งต่อๆ มาอีก ทำให้ผู้ลี้ภัยหลั่งไหลเข้าสู่ปากีสถานและต่อด้วยบังคลาเทศระลอกแล้วระลอกเล่า

องค์การสหประชาชาติจะมีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Security Council (UNSC) รวมทั้งหน่วยงาน United Nations Human Rights Council (UNHRC) ภายใต้เวทีสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลก แต่งานของ UNHRC เป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลภายในรัฐของตนเอง ขณะที่ United Nations High Commission for Refugees (UNHCR) นั้นทำหน้าที่ดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลต่างๆ ที่อยู่นอกประเทศของตน โดยองค์การสหประชาชาติถือว่าผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาการลี้ภัยต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสิทธิดำรงชีวิต

สำหรับชาวโรฮิงญาแล้วความคุ้มครองช่วยเหลือที่สำคัญประกอบด้วย การคุ้มครองจากการผลักดันกลับ ความช่วยเหลือในกระบวนการแสวงหาที่พักพิง ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย ความคุ้มครองความปลอดภัยและการให้ที่พักพิง ความช่วยเหลือในการส่งกลับโดยสมัครใจ และความช่วยเหลือในการตั้งถิ่นฐาน จึงเห็นได้ว่าหลักละเมิดสิทธิมนุษยชนกับปัญหาโรฮิงญาที่เข้ามาในประเทศไทยเป็นความสัมพันธ์อย่างแยกไม่ได้

เมื่อประเทศไทยยังไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ ค.ศ. 1951 ทำให้ไม่มีกฎหมายและนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย ทำให้ผู้ลี้ภัยไม่สามารถทำการใดๆ ได้ การใช้ชีวิตจึงเพียงได้แต่รอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เท่านั้น ที่จะเข้าไปเป็นอาสาสมัครดูแล การดูแลส่วนมากจะได้รับเงินอุดหนุนมาจากรัฐบาลต่างประเทศซึ่งอาจจะผ่าน NGO

แนวทางออกสำหรับชาวโรฮิงญาที่เป็นข่าวในจังหวัดภาคใต้ คือ การให้พักพิงในประเทศไทย การส่งไปในประเทศที่สาม การส่งกลับประเทศพม่าโดยสมัครใจ

การกำหนดห้ามไม่ให้มีการลงโทษผู้ลี้ภัยในฐานผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) ในมาตรา 3(1) และมาตรา 33 โดยห้ามไม่ให้รัฐภาคีลงโทษจากการที่บุคคลนั้นเข้าเมืองหรือแสดงตัวโดยผิดกฎหมาย ในกรณีที่เดินทางเข้ามาโดยตรงจากดินแดนซึ่งชีวิตและเสรีภาพของเขาถูกคุกคามด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่มสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และเข้ามาหรือแสดงตัวในดินแดนนั้นกระทำโดยปราศจากอำนาจ โดยให้บุคคลนั้นแสดงต่อเจ้าหน้าที่โดยปราศจากการหน่วงเหนี่ยวให้ล่าช้าและแสดงสาเหตุที่ดีในการเข้าเมืองและปรากฏตัวที่ผิดกฎหมาย แต่บทบัญญัตินี้กล่าวว่ารัฐไม่อาจลงโทษผู้ลี้ภัยในความผิดเกี่ยวกับการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายได้ แต่อย่างไรก็ดี รัฐก็ยังคงมีอำนาจในการขับไล่ผู้ลี้ภัยออกจากประเทศได้ และจะผูกพันเฉพาะรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสารว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 เท่านั้น ดังนั้น เมื่อประเทศไทยไม่ใช่รัฐภาคีของอนุสัญญาและพิธีสารดังกล่าว ย่อมไม่มีพันธกรณีที่กล่าวมา

เมื่อประเทศไทย มิได้เป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสารที่เกี่ยวข้องซึ่งปัจจุบันมี 144 ประเทศเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้ ส่วนประเทศที่มิได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าว แต่ก็ได้ยึดหลักปฏิบัติของกฎหมายระหว่างประเทศที่ใกล้เคียงกันโดยเฉพาะหลักหลักการห้ามผลักดันกลับ (non-refoulement)

สุดท้ายนี้ คงไม่มีบุคคลใดๆ จะถูกปฏิเสธส่งตัวกลับ หรือขับไล่ไม่ว่าในลักษณะใดๆ ที่จะเป็นการบังคับให้บุคคลนั้นคงอยู่หรือกลับสู่ดินแดนซึ่งมีมูลเพียงพอที่จะแสดงให้เชื่อได้ว่าบุคคลนั้นต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่แท้จริงจากการตกอยู่ภายใต้การทรมาน และจะไม่มีผู้ลี้ภัยและผู้ลี้ภัยคนใดจะถูกปฏิเสธ ส่งตัวกลับหรือขับไล่ซึ่งจะเป็นการบังคับให้บุคคลนั้นคงอยู่หรือกลับสู่ดินแดนที่อาจต้องเผชิญหน้าต่อการคุมคามจากต่อชีวิตหรือเสรีภาพ ด้วยสาเหตุจากเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ และรัฐจะอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงภายในหรือความปลอดภัยของประชาชนเพื่อเพิกถอนหลักห้ามผลักดันกลับได้ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายจากการทรมานที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์แก่โรฮิงญานั้นไม่ได้

ดังนั้น รัฐบาลก็ควรจะต้องบังคับใช้มาตรการที่ไม่เป็นการผลักดันกลับ โดยอาจส่งตัวไปยังประเทศที่สามที่ปลอดภัย (safe third country) หรือการให้ความคุ้มครองชั่วคราว (temporary protection) หรือการให้พักพิงชั่วคราว (temporary refuge)