เมื่อ ช็อกโกแลต กำลังจะหมดโลกในอีก 30 ปีข้างหน้า!

เมื่อ ช็อกโกแลต กำลังจะหมดโลกในอีก 30 ปีข้างหน้า!

ช็อกโกแลตทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤต จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบภาวะโลกร้อน

ช็อกโกแลตกำลังกลายเป็นปัญหาระดับโลกเนื่องจากภาวะโลกร้อน!

เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยจากนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันจีโนมิกส์นวัตกรรมแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่กำลังเร่งทำงานวิจัยเพื่อรับมือกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของโลกในช่วงกลางศตวรรษนี้

gallery-1468751313-landscape-1457112567-gettyimages-140986396

ช็อกโกแลตส่วนใหญ่ของโลกมักนิยมปลูกในแถบเส้นศูนย์สูตร ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ดินมีไนโตรเจนสูง และฝนตกชุกทำให้มีความชื้นในอากาศสูง โดยเฉพาะในแถบแอฟริกาตะวันตก และแอฟริกากลางที่มีการปลูกต้นโกโก้มากถึง ร้อยละ 70 ของไร่โกโก้ทั่วโลก

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังเป็นห่วงก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่จะส่งผลต่อพื้นที่ดังกล่าวในปี 2050 หรืออีก 30 ปีข้างหน้า นอกจากอุณหภูมิจะสูงขึ้น ทำให้อากาศแห้ง การแพร่ระบาดของโรคพืชรุนแรงขึ้น และไม่เหมาะกับการปลูกโกโก้อีกต่อไป!

cg

เรื่องนี้ถูกเปิดเผยเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2018 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้ มีความร่วมมือในการทำการวิจัยจาก มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และซานฟรานซิสโก ในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาปรับปรุงพันธุกรรม เพื่อปรับปรุงพันธุ์ของต้นโกโก้ให้รับมือกับโรคภัย และสภาพอากาศที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงในอนาคตได้

เหตุการณ์นี้ไม่ได้สำคัญสำหรับเหล่าช็อกโกแลตเลฟเวอร์เท่านั้น แต่ยังผูกพันกับผู้คนอีกกว่า 50 ล้านคนทั่วโลกที่ผูกโยงอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ รวมทั้งเกษตรกรที่เพาะปลูกต้นโกโก้อีกกว่า 5 ล้านชีวิต

ในงานวิจัยของ  National Oceanic and Atmospheric Administration พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกษตรกรต้องปรับตัวย้ายพื้นที่ไปเพาะปลูกในพื้นที่ที่สูงขึ้นไปอีก อย่าง ไอเวอรี่ โคสต์ และกานา ที่จากเดิมเคยมีการเพาะปลูกที่ 100-250 เมตร เป็น 450-500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จึงจะสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคพืชบางชนิดได้

atoriginblog

แต่นั่นก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะอย่างที่ กาน่าเอง การย้ายขึ้นไปเพาะปลูกบนพื้นที่สูงขึ้นก็อาจหมายถึงการรุกพื้นที่ป่าสงวน

การใช้เทคโนโลยีทางวิศวพันธุกรรมเข้ามาช่วยจะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถปรับแต่งดีเอ็นเอบางส่วนในต้นโกโก้ได้ ซึ่งหากได้ผลก็จะช่วยให้ผู้ผลิตไม่ต้องย้ายพื้นที่เพาะปลูกไร่โกโก้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้เคยถูกใช้มาแล้วเมื่อปี 2017 ในการปรับเปลี่ยนพันธุ์องุ่นเพื่อให้ทนต่อโรคราน้ำค้างได้

อย่างไรก็ตาม นี่คงไม่ใช่การจบปัญหาการสูญพันธุ์ของโกโก้ นักวิทยาศาสตร์ได้แต่หวังว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะไม่รุนแรงจนส่งผลกระทบกับเกษตรกรชาวไร่โกโก้รุ่นต่อไป