‘เที่ยวนอก’ คุ้มกว่าในไทย? ร้อนจัด-เงินหด ตรึงคนไทยอยู่บ้าน-เดินห้างแทน

‘เที่ยวนอก’ คุ้มกว่าในไทย? ร้อนจัด-เงินหด ตรึงคนไทยอยู่บ้าน-เดินห้างแทน

แนวโน้มสถานการณ์ 'ตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศ' ไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ของปี 2567 มี 'ปัจจัยท้าทาย' จากบรรยากาศความต้องการ 'เที่ยวต่างประเทศ' ของคนไทย ผนวกกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม เพื่อดึงคนไทยเข้าไปจับจ่ายในประเทศนั้นๆ

เทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) กล่าวว่า ความท้าทายของการทำตลาด “ไทยเที่ยวไทย” นอกเหนือจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสูง กระทบต่อกำลังซื้อด้านท่องเที่ยวของคนไทยแล้ว อีกปัจจัยคือ “ค่าตั๋วเครื่องบินเส้นทางในประเทศแพง” จะเห็นว่าช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีคนไทยออกไปเที่ยวต่างประเทศจำนวนมาก

โดยเฉพาะ “ตลาดบน” ที่แม้อยากไปเที่ยวภูเก็ต แต่พอเจอค่าตั๋วบินแพงเข้าไป เปรียบเทียบค่าตั๋วบินและภาพรวมค่าใช้จ่ายในการไปเที่ยวต่างประเทศแล้วพบว่าใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายในไทย อย่างค่าตั๋วบินไป “ฮ่องกง” ใกล้เคียงกับไป “ภูเก็ต” ทำให้คนไทยเลือกไปเที่ยวฮ่องกงหรือญี่ปุ่นแทน! ส่วนตลาดระดับกลางและล่าง พอการออกไปเที่ยวมีค่าใช้จ่ายแพง ก็เลือกอยู่บ้านแทน! ไม่ออกไปใช้สอย

ทั้งนี้จากสภาพ “อากาศร้อนจัด” ก็มีส่วนทำให้คนไม่ออกไปเที่ยวเช่นกัน เลือกไปเดินห้างตากแอร์แทน

‘เที่ยวนอก’ คุ้มกว่าในไทย? ร้อนจัด-เงินหด ตรึงคนไทยอยู่บ้าน-เดินห้างแทน

สอดรับกับ ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ประเด็น “ความคุ้มค่า” การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างในประเทศกับต่างประเทศ เป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำคัญ  เนื่องจากค่าใช้จ่ายในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักอย่าง “ภูเก็ต” และ “เกาะสมุย” มีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวใกล้เคียงกับการเที่ยวต่างประเทศในแถบเอเชีย ส่งผลให้คนไทยเห็นว่าการออกเที่ยวต่างประเทศมีความคุ้มค่ามากกว่า! ทั้งยังตอบสนองรสนิยมที่ต้องการเที่ยวต่างประเทศอีกด้วย

“ปัญหาค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง ทำให้คนไทยใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น รวมถึงความผันผวนของราคาพลังงาน ส่งผลให้สินค้าและบริการปรับราคาสูงขึ้น โดยคนจะใช้จ่ายน้อยลงและลดความถี่ในการออกเดินทางท่องเที่ยว”

‘เที่ยวนอก’ คุ้มกว่าในไทย? ร้อนจัด-เงินหด ตรึงคนไทยอยู่บ้าน-เดินห้างแทน  

ประเด็นความท้าทายดังกล่าวอาจส่งผลให้สถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มการเติบโตในด้านจำนวนการเดินทางมากกว่ารายได้ทางการท่องเที่ยว โดย ททท.คาดการณ์ว่าใน “ไตรมาส 2” ของปีนี้จะมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 44.40 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 19% มีรายได้ทางการท่องเที่ยว 245,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% จากการส่งเสริมให้มีการทยอยจัดกิจกรรม Maha Songkran World Water Festival เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567” ระหว่างวันที่ 1-21 เม.ย. ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ผนวกกับมีวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายช่วง อาทิ วันหยุดสงกรานต์ วันหยุดวันวิสาขบูชา และวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี รวมทั้งเป็นช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนที่ผู้ปกครองนิยมพาลูกหลานออกเดินทางท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ภายใต้แคมเปญ “สุขทันที ที่ได้เที่ยวเมืองรอง”

‘เที่ยวนอก’ คุ้มกว่าในไทย? ร้อนจัด-เงินหด ตรึงคนไทยอยู่บ้าน-เดินห้างแทน

ฐาปนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมสถานการณ์ตลาดท่องเที่ยวในประเทศช่วง “ไตรมาส 1” (ม.ค.-มี.ค.) ปี 2567 มีการเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 41.18 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 10% และมีรายได้ทางการท่องเที่ยว 228,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากปัจจัยสนับสนุนหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นไตรมาส 1 คือช่วงไฮซีซันและมีวันหยุดยาวต่อเนื่องอย่างวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

ขณะเดียวกัน มีกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดจาก ททท. และพันธมิตร อาทิ โครงการเที่ยวได้ทุกวัน 365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทย, เทศกาลตรุษจีนในเมืองหลักและเมืองรอง, การส่งเสริมกิจกรรมชูจุดขายซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ผ่านโปรดักต์ท่องเที่ยว 5F (Food Film Fashion Fight และ Festival) เช่น งานเทศกาลประเพณี อาหารถิ่นและอาหารจากร้านมิชลิน (Michelin) รวมไปถึงการส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวสายบุญ สายมู เสริมดวงปีมะโรง 2567

การเพิ่มจำนวนเที่ยวบินของสายการบินภายในประเทศ เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางข้ามภูมิภาค อาทิ สายการบินไทยเวียตเจ็ท เส้นทางเชียงราย-ภูเก็ต, สายการบินไทยแอร์เอเชีย เส้นทางอุดรธานี-ภูเก็ต นอกจากนี้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอย่าง Easy E-Receipt” นอกจากจะส่งเสริมให้คนไทยเกิดการใช้จ่ายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งด้วย

และกระแสเที่ยวตามรอย “คัลแลนกับพี่จอง” ยูทูปเบอร์สายท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ที่มีผู้ติดตมกว่ 1 ล้นคน กำลังได้รับควมสนใจจกแฟนๆ ชวไทย ส่งผลให้เกิดกรเดินทงท่องเที่ยวตมรอย 2 หนุ่ม ทั้งในพื้นที่ท่องเที่ยวอุทยนแห่งชติและแหล่งท่องเที่ยวต่งๆ มกขึ้น

ขณะที่ค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง ผนวกกับความผันผวนของราคาพลังงาน ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการวางแผนการเดินทางท่องเที่ยว และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยตามกำลังซื้อที่มี โดยการลดจำนวนวันเดินทางให้น้อยลง เลือกเที่ยวระยะใกล้ และใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ส่งผลให้ภูมิภาคระยะใกล้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

จากปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้สถานการท่องเที่ยวตลาดในประเทศเดือน ม.ค.-มี.ค. มีการเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 41.18 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 10% และมีรายได้ทางการท่องเที่ยว 228,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8%