โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เรื่องใกล้ตัว ที่ควรรู้

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เรื่องใกล้ตัว ที่ควรรู้

 

ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเยอะมากกว่าแต่ก่อน แต่หลายคนกลับไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจากอาการของโรคค่อนข้างไม่ชัดเจน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังร้าวลงมาถึงขา มีอาการชา บางรายอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยจะ   คิดว่าเป็นเรื่องปกติไม่รุนแรง ซื้อยาหรือหายานวดมาใช้รักษาเอง จนผ่านไประยะหนึ่งที่ทนไม่ไหว ต้องมาพบแพทย์ ถึงทราบว่าตนเองเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

นพ.ชาญวิทย์ ทวีรติธรรมศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางกระดูกสันหลังศูนย์กระดูก และข้อ โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การออกกำลังกายที่หนัก และเกิดจากอุบัติเหตุ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตเช่น แม่บ้านที่ต้องก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก เวลาทำความสะอาดบ้าน พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้มีโอกาสเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ในกรณีที่พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แพทย์จะรักษาโดยดูจากความรุนแรงของอาการและช่วงอายุก่อน หากมีอาการไม่มากจะรักษาโดยการให้ยาแก้ปวดไปรับประทาน ควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดแต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยการทำ MRI SCAN และอาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดจะเป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐานหรือแบบส่องกล้อง ทำให้การรักษามีความแม่นยำ ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ 

ปัจจุบัน ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลหัวเฉียว มีทีมแพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อผู้เชี่ยวชาญ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ให้บริการ พร้อมด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย ทำให้การรักษาสามารถทำได้อย่างครบวงจรและระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยกว่า ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วและปลอดภัยขึ้น

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เรื่องใกล้ตัว ที่ควรรู้
นพ.ชาญวิทย์ ทวีรติธรรม ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางกระดูกสันหลัง

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เรื่องใกล้ตัว ที่ควรรู้

ห้องผ่าตัดอันทันสมัย