Thailand SDGs Forum 1/2018 ต้นแบบองค์กรชั้นนำกับการขับเคลื่อน SDGs

Thailand SDGs Forum 1/2018 ต้นแบบองค์กรชั้นนำกับการขับเคลื่อน SDGs

 

มูลนิธิมั่นพัฒนา ร่วมกับสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า จัดงาน Thailand SDGs Forum 1/2018 Localizingthe SDGs: Thailand’s Sustainable Business Guide ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา เพื่อขับเคลื่อน และขยายผลเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย ภายใต้กรอบคิด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมทั้งเผยแพร่แนวปฏิบัติทางธุรกิจสู่ความยั่งยืนจากกรณีศึกษาบริษัทชั้นนำ ภายในงานได้มีเวทีเสวนาย่อยในประเด็น “Localizing the SDGsin Thailand” แนวโน้มด้านความยั่งยืนปี 2561 และกรณีศึกษาธุรกิจชั้นนำของโลกกับวิธีการนำนโยบาย SDGs ของบริษัทแม่ตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติมาใช้ในบริบทสังคมไทยโดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารชั้นนำ3 องค์กร ได้แก่ เทสโก้ โลตัส บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเตอร์เฟซฟลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ผู้ฟังสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทสโก้ โลตัสยั่งยืนจากกระบวนการ สร้างประโยชน์สู่สังคม

คุณสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของเทสโก้ โลตัส คือการตั้งเป้าประสงค์ (Purpose) และการสร้างคุณค่า (Value) ขององค์กร โดยเทสโก้ โลตัสตั้งเป้าหมายการบริการที่เป็นมากกว่าการบริการ และเป็นการดูแลลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นในทุกวัน ขณะเดียวกันเน้นสร้างคุณค่าในวิธีการปฏิบัติตนหรือให้คำมั่นสัญญา3 เรื่องคือ ลูกค้าเป็นคนสำคัญการปฏิบัติกับผู้อื่นเหมือนที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา ทั้งภายในและภายนอกองค์กรและทุกภาคส่วนภายในองค์กรร่วมใจขับเคลื่อนทำจากสิ่งเล็กๆ เพื่อร่วมสร้างเรื่องที่ยิ่งใหญ่(BigImpact)ให้กับโลก

“เราไม่ต้องการให้ความยั่งยืนเป็นเรื่องของผู้บริหารเท่านั้น แต่ต้องเป็นเรื่องของทุกๆ แผนก และทุกคนในองค์กรจะต้องช่วยกันทำในทุกภาคส่วน ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร เพราะว่าเราต้องการมีส่วนร่วมที่จะดูแลสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ต้องอยู่ใน DNA ของคนในองค์กรทุกคนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตข้างหน้า”

อีกทั้งเทสโก้ โลตัสยังมีการประเมินความรู้สึกของบุคลากรภายในองค์กร (Employee Engagement Survey)ซึ่งเป็นการตรวจสอบว่าพนักงานรู้สึกอย่างไร มีความรู้สึกดีไหม รวมถึงการช่วยเหลือชุมชนว่า ในรอบปีที่ผ่านมาพนักงานได้ลงไปช่วยเหลือชุมชนมากน้อยแค่ไหนอย่างไร (Stakeholder Engagement Survey)นอกจากนั้น เทสโก้ โลตัส ยังมีแผนงานที่เกี่ยวข้องกับ SDGs โดยใช้ชื่อว่า“Little Help Plan”ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1การดูแลใส่ใจพนักงานให้มีความสุข กลุ่ม 2 การจัดซื้อสินค้าอย่างมีจริยธรรมและมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค และกลุ่ม 3 การจัดการขยะอาหาร

Little HelpPlanที่เทสโก้ โลตัสดำเนินการนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs)เกือบทุกเป้าหมาย แต่เป้าหมายหลักที่ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพอย่างชัดเจนคือSDGs 1การขจัดความยากจนยกตัวอย่างเทสโก้ โลตัสในอังกฤษที่ทำเรื่องอาหารด้านการเกษตรจึงมีหน้าที่ดูแลสินค้าที่รับซื้อมาจากแหล่งที่ยั่งยืนและมีจริยธรรม เริ่มตั้งแต่แหล่งที่มาของสินค้าต้องไม่ทำลายธรรมชาติ แรงงานไม่ถูกกดขี่หรือ ถูกบังคับให้ทำงานไม่ถูกต้อง เช่น แหล่งผลิตโก้โก้ในแอฟริกาโดยมากคนที่เป็นแรงงานจะถูกกดขี่และไม่ได้รับเงินดังนั้น เทสโก้ โลตัสจึงตั้งเป้าหมายว่า ภายในสิ้นปี 2018บริษัทจะสามารถรับซื้อโกโก้จากแหล่งที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความยั่งยืน และไม่มีการกดขี่แรงงานอย่างแท้จริงสำหรับประเทศไทยได้นำแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้กับเรื่องการจัดหาสินค้าอย่างยั่งยืนเช่นกันเช่น การให้ความช่วยเหลือกลุ่มชาวนายากจนและมีหนี้สิน โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีการรวมกลุ่มชาวนา40 จังหวัดและ4 สหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเทสโก้ โลตัสผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงตราเทสโก้ โลตัสจำหน่ายโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

SDGs 2การขจัดความหิวโหยเทสโก้ โลตัสในอังกฤษได้ทำเรื่อง good health and well beingด้วยการให้ความสำคัญกับการดูแลสินค้าอาหารเพื่อเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค รวมถึงมีการออกแคมเปญ “Little Trans Fat”ซึ่งเทสโก้ โลตัสประเทศไทยก็ได้รับนโยบายมาโดยตั้งเป้าหมายว่าสินค้าอาหารที่ผลิตภายใต้แบรนด์เทสโก้ โลตัส ประเทศไทยจะต้องดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากกว่าเดิม และ SDGs12 การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืนเทสโก้ โลตัสในอังกฤษมีเป้าหมายลดขยะจากอาหารให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2030โดยเทสโก้ โลตัส ประเทศไทย ได้เริ่มนำแนวคิดดังกล่าวมาดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2017ในแคมเปญบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดของสาขาในแต่ละวัน ซึ่งบริจาคไปแล้วประมาณ 1.2 ล้านมื้อ และยังคงบริจาคอย่างต่อเนื่อง ส่วนอาหารที่ทานไม่ได้ยังบริจาคให้ชุมชนไปทำปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

“การนำนโยบายของบริษัทแม่มาปฏิบัติ หรือการที่เราจะทำแตกต่างไปจากนโยบายให้ประสบความสำเร็จ เราต้องมีการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้บริหารในต่างประเทศ ด้วยการพามาดูให้เห็นว่าเราทำอะไร โดยเฉพาะเรื่องที่ลงไปปฏิบัติกับชุมชนท้องถิ่น สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปลูกฝังให้เป็นDNAของทุกคนในองค์กร ฉะนั้นการทำตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องจัดลำดับความสำคัญว่าอะไรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่อะไรควรทำก่อน และอะไรที่ไกลออกไปก็ค่อยทำทีหลัง”

เชลล์เปลี่ยนอนาคต ลดโลกร้อน

คุณอรรถ เหมวิจิตรพันธ์ รองประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัดกล่าวว่า วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก การทำธุรกิจแบบเดิมจึงไม่สามารถอยู่รอดได้ แต่หากจะทำธุรกิจในยุคปัจจุบันเพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนมั่นคงในอนาคต จำเป็นที่จะต้องมาดูเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างจริงจัง โดยองค์กรต้องปรับตัวและเปลี่ยนความคิดใหม่ อย่างกรณีธุรกิจพลังงานที่มีปัจจัยเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อน (Climate Change)เป็นตัวกำหนดที่สำคัญในการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเชลล์จึงได้ตั้งเป้าหมายจะลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 50% ภายในปี 2050 ภายใต้แนวคิด Believe-Become-Belong”

โดยเริ่มจาก“Believe”ที่เชื่อว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องส่งผลกระทบมาถึงบริษัทอย่างแน่นอน การทำธุรกิจจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ทุกภาคส่วนในการนำไปสู่ความยั่งยืน“Become”เชลล์จึงมีเป้าหมายที่ชัดเจนด้านพลังงาน โดยเริ่มจากSDG 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุค Energy Transition ที่บริษัทต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เรื่องการขาดแคลนพลังงานที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีแผนรับมือกับการหาพลังงานสะอาดและเพียงพอต่อความต้องการของผู้คนในอนาคต นอกจากนั้นSDGs 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือปัญหาภาวะโลกร้อน (Climate Change) ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เชลล์ต้องร่วมหาทางแก้ปัญหากับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาครัฐและภาคประชาสังคม ในการกำหนดทิศทางอนาคตพลังงานของไทยซึ่งเน้นเรื่องนวัตกรรมพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน รวมถึงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมสุดท้ายจะต้องทำให้เกิด “Belong”โดยพนักงานเชลล์ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจและทำกิจกรรมต่างๆขององค์กรร่วมกัน

“วิสัยทัศน์ของเชลล์ประเทศไทยที่ชัดเจนที่สุดคือ Growth in Thailand for Thailand เพราะเราเชื่อว่า สังคมอยู่ได้เราอยู่ได้ ประเทศเจริญเราก็จะเจริญ แม้เรามาทีหลังแต่ก็มองส่วนรวมเป็นสำคัญ เราเชื่อในเรื่องของ SDGs เพราะฉะนั้นการกระทำอะไรก็แล้วแต่เราจะแบ่งเป็น 1) ต้องพยายามทำในองค์กรให้ประสบความสำเร็จก่อน 2) การทำธุรกิจต้องแน่นอนว่าสิ่งที่จะทำนั้นเราต้องรู้จริงรู้ดี เป็นเหตุเป็นผลสามารถที่จะปฏิบัติภารกิจของเราให้สำเร็จลุล่วงได้ และ3) ขยายไปสู่ผู้ที่อยู่ใน value chain ของเรา สุดท้ายจะกลายเป็นวงใหญ่ ทุกคนจะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงอนาคตด้านพลังงานในแต่ละประเทศที่เชลล์เข้าไป”

สำหรับการวางแผนอนาคตพลังงานเพื่อไปสู่เป้าหมายลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 50% ภายในปี 2050ของเชลล์ คุณอรรถ กล่าวว่า ปัจจุบันเชลล์ได้ลงทุนสำหรับงานวิจัยและพัฒนาประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อมองหาพลังงานรูปแบบต่างๆที่เหมาะสมในแต่ละประเทศ เช่น การดำเนินโครงการเชลล์อีโคมาราธอน เพื่อค้นหานวัตกรรมประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ และลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุด

นอกจากนั้น บริษัทเชลล์ยังพัฒนานวัตกรรมใหม่ เช่น การนำเอาเอทานอล100% มาขับเคลื่อน fuel cell ในรถที่เป็นเบนซิน ซึ่งต้องเฝ้าจับตามองว่าจะเกิดขึ้นจริงในไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรมได้หรือไม่ รวมทั้งการพัฒนาค้นคว้าทดลองนำขยะกลับมาใช้ใหม่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และอีกสิ่งที่กำลังดำเนินการคือ มาตรฐานความปลอดภัยบนท้องถนนของไทย เพื่อลดผู้เสียชีวิตคนไทย เป็นต้น

อินเตอร์เฟซฟลอร์บันได 7ขั้นสู่ความยั่งยืน

คุณสงบ อูลุง รองประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เฟซฟลอร์ (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่าตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ผ่านมา อินเตอร์เฟซฟลอร์ในฐานะบริษัทผู้ผลิตพรมรายใหญ่ของประเทศที่อดีตมีแนวทางการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งแสวงหากำไรและการเติบโตเป็นตัวตั้ง ทำให้บริษัทถูกมองว่าเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตขยะและของเสียซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากนี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ผู้นำองค์กรได้กลับมาตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องสิ่งแวดล้อมและเป็นที่มาของปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจให้มีแนวทางการบริหารที่ใส่ใจต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

อินเตอร์เฟซฟลอร์มีแนวทางการดำเนินงานที่เฉพาะตัวซึ่งปัจจัยสำคัญอยู่ที่การมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และการขับเคลื่อนจากบนสู่ล่าง โดยมีผู้นำเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ด้วยการมีเป้าหมายที่สามารถสร้างแรงจูงใจร่วมกันกับคนในองค์กร ซึ่งแรงจูงใจที่สำคัญ Doing Well By Doing Goodคือ การสร้างสมดุลระหว่างการทำความดีต่อชุมชนและสังคม รวมถึงการมีกำไรของบริษัท นอกจากนั้นยังมีการสร้างดรีมทีมที่เป็นระดับประธานบริษัท รองประธานบริษัท เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติ(ActionPlan) ที่ชัดเจนขึ้น พร้อมทั้งสร้างโมเดลวัดผลสำเร็จสู่ความยั่งยืนที่เรียกว่า 7 ขั้นบันไดสู่ความยั่งยืน” ให้สามารถลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโรงงานที่มีเป้าหมายเป็นศูนย์ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการขับเคลื่อนให้ไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนได้

คุณสงบกล่าวว่า บันได 7 ขั้นสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย1) การกำจัดของเสีย 2) การกำจัดมลพิษต่างๆ รวมทั้งคาร์บอน 3) การใช้พลังงานทดแทน 4) การรีไซเคิล 5) การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ 6) การทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนเข้าใจความสำคัญของความยั่งยืน และ 7) การปรับปรุงและการออกแบบนวัตกรรมใหม่ๆยกตัวอย่างเช่น บันไดขั้น 3 ปัจจุบันบริษัทได้ใช้พลังงานจากโซลาร์ฟาร์มที่จังหวัดกาญจนบุรีเพื่อทดแทนไฟฟ้าได้ 100% และยังหาวิธีที่จะทดแทนพลังงานแก๊สอยู่ หรือบันไดขั้นที่ 6 ที่มีส่วนสำคัญต่อการ localizing SDGs บริษัทได้บริจาคเส้นด้ายที่เป็นของเสียจากกระบวนการผลิตต่างๆ ไปให้ชุมชน 2 แห่งคือ จังหวัดสุรินทร์เพื่อแปรสภาพเป็นเปลจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ส่วนอีกชุมชนคือชุมชนบ้านเก่าที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งใช้ชื่อกลุ่มว่าEco Lady ได้นำเส้นด้ายมาถักเป็นตุ๊กตา ปกหนังสือ เพื่อจำหน่ายเช่นกัน จึงก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เนื่องจากบริษัทไม่ต้องไปกำจัดของเสีย ขณะเดียวกันยังสามารถนำของเสียนั้นกลับมาใช้ประโยชน์ได้

“เรามองว่าความท้าทายของการนำ SDGs Global สู่ท้องถิ่น(Local)ในทางปฏิบัติไม่ยาก เพราะคนไทยสามารถยอมรับความเปลี่ยนแปลงและพร้อมปรับตัว แต่อุปสรรคที่สำคัญคือการขาดผู้นำ ซึ่งถ้าอินเตอร์เฟซไม่มีผู้นำที่มีแนวคิดชัดเจนคงไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนได้โดยปัจจุบันอินเตอร์เฟซติดอันดับ 3 ของการสำรวจองค์กรที่เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนของโลก และเป็นองค์กรเดียวที่ติดโผของการสำรวจนี้มากว่า 20 ปี”