การบริหารข้อมูลยุคดิจิตัล สู่ชัยชนะทางธุรกิจ

การบริหารข้อมูลยุคดิจิตัล สู่ชัยชนะทางธุรกิจ

 

ในยุคที่กระแสโลกเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่เคยหยุดนิ่งทั้งนี้เพราะอินเตอร์เน็ตได้เข้ามาปฏิวัติการจัดเก็บและระบบค้นหาข้อมูลเพียงแค่ปลายนิ้วสไลด์หรือใช้เมาส์คลิกเราก็เข้าถึงข้อมูลที่สนใจได้ไม่ยากคนทั่วไปหรือแม้แต่นักธุรกิจเองต่างก็ต้องวิ่งตามกระแสของโลกให้ทันเพื่อชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ

เมื่อต่างชิงกันวิ่งให้ทันกระแสโลก FOMO หรือ fear of missing out จึงถือกำเนิดขึ้นแปลให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกนิดก็คือ “กลัวการตกกระแส” นั่นเองคนกลุ่มนี้จะหมั่นเติมข้อมูลให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลารู้แล้วก็ต้องรู้ให้มากขึ้นเพราะคิดว่าถ้ารู้น้อยกว่าคนอื่นและจะทำให้พลาดโอกาสดีๆคนกลุ่มนี้จะไม่ยอมกลายเป็นพวก “ตกกระแส”

และเพื่อให้ทันกระแสวันนี้เราขอนำเสนอมุมคิดของสองนักธุรกิจที่ได้ให้ทัศนะต่ออาการ FOMO นี้อย่างน่าสนใจและเพื่อเป็นแนวทางให้นักบริหารทุกท่านได้ลองนำไปใช้โดยบทความนี้ได้ถูกนำเสนอบนเว็บไซต์ของ The London Economic ซึ่งเป็นเว็บข่าวจากฝั่งอังกฤษ

บุคคลแรกคือSteve Forbes เจ้าพ่อสื่อจากฝั่งอเมริกาผู้บริหารตำแหน่ง Chief Executive Officer ของนิตยสาร Forbes หนังสือหัวเศรษฐกิจเก่าแก่ของโลกที่มีอายุกว่า 100 ปีและได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงทุกยุคทุกสมัยส่วนคนทั่วไปจะได้ยินชื่อนิตยสาร Forbes ก็จากการจัดอันดับมหาเศรษฐีของโลกหรือล่าสุดกับการจัดอันดับ “50 อภิมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2560” ที่หนังสือพิมพ์ตลอดทั้งบริษัทเอกชนต่างก็นำไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง

อีกท่านเป็นนักธุรกิจไทย Dr. James Nitit Mah ที่น่าใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ การที่ Dr. James ได้มานั่งร่วมโต๊ะอาหารและสนทนากับ Steve Forbes ไม่น่าจะเรื่องบังเอิญประเด็นที่เราสนใจคือ ทั้งสองคนคุยอะไรกัน

จากบทความ สองท่านพูดถึง สถานการณ์แวดล้อมของโลกปัจจุบันที่เราได้เข้าสู่โลกยุคดิจิตอลเต็มตัวดังนั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในทุกวันนี้ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปนอกจากการอัพเดทข้อมูลหรือเสพข่าวแล้วทุกวันนี้เราก้าวล้ำไปถึงขั้นที่การเรียนรู้ต่างๆก็ทำได้ง่ายขึ้นบนโลกออนไลน์ปัญหามันก็เลยไปอยู่ในจุดที่ว่า “แล้วเราจะจัดการกับชุดข้อมูลที่มันมีอยู่อย่างมากมายนี้อย่างไร”

ในเชิงปริมาณข้อมูลบนโลกออนไลน์นั้นมีอยู่อย่างล้นเหลือซึ่งอาจมากเกินความจำเป็นด้วยซ้ำสมัยนี้อยากรู้อะไรก็เข้า Google และเราก็จะได้คำตอบในเวลาอันรวดเร็วแต่พอหันมามองในเชิงคุณภาพชุดข้อมูลที่เราเข้าถึงกันได้ง่ายดายนั้นมีทั้งจริงและเท็จหรือประเภทนำความจริงเพียงครึ่งเดียวมานำเสนอนั้นมีอยู่อย่างมากมายบนโลกออนไลน์นอกจากนั้นเราก็อาจไปเจอกับชุดข้อมูลที่เต็มไปด้วย “มิจฉาทิฐิ”​ ที่ผิดไปจากความจริงเต็มไปด้วยอคติมุ่งทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม

จากทัศนะของ Steve Forbes และ Dr. James Nitit Mah ต่างเห็นตรงกันว่าในยุคที่ข้อมูลข่าวสารกำลังท่วมโลกนี้การรู้เยอะหรือรู้มากไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไปเพราะถ้ารู้เยอะแต่ไม่มีการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลดีพอเราก็อาจจะได้ชุดข้อมูล “ขยะ”​ ที่หาประโยชน์อะไรไม่ได้หรือถ้ารู้มากแต่ข้อมูลพวกนั้นไม่สำคัญกับชีวิตของเราผลของการรู้มากก็อาจนำไปสู่ความยุ่งเหยิงได้

ซึ่งประเด็นนี้ Dr. James Nitit Mah ได้ขยายความต่อได้น่าสนใจโดยเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าถ้าเราเป็นกระดาษขาวชุดข้อมูลที่เราเสพหรือความรู้ที่เราเปิดรับเข้ามาทุกวันก็เปรียบเหมือนจุดหรือลาย dot ที่แต้มลงไปบนกระดาษนับวันจุดก็จะทวีคูณขึ้นเรื่อยๆตัวเราก็เริ่มเข้าสู่สภาวะล้นทะลักของชุดข้อมูลเจ้า “จุด” หรือลาย dot ก็เริ่มเปรอะเต็มกระดาษตัวเราก็กลายร่างเป็นเหมือน Wikipedia เดินได้ที่อัดแน่นด้วยชุดข้อมูลแต่พอถึงเวลาต้องเรียกดึงมาใช้งานกลับจับต้นชนปลายไม่ถูกก็เหมือนกระดาษที่มีจุดเต็มไปหมดพอจะให้ลากเส้นเป็นรูปภาพสักรูปกลับทำไม่ได้จะเกิดอาการ “งง”​ ว่าจะต้องเริ่มที่จุดไหนและเชื่อมต่ออย่างไรให้ได้เป็นภาพที่ต้องการซึ่งกลุ่มคนFOMO มักจะเป็นเช่นนี้ ดังนั้น “สติ” คือสิ่งที่จะช่วยเราได้

กลับมาที่ประเด็นว่า “แล้วเราจะจัดการกับชุดข้อมูลที่มันมีอยู่อย่างมากมายนี้อย่างไร” Dr. James Nitit Mah ได้ ให้ข้อคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจโดยแทนที่เราจะมานั่งกังวลกลัวว่าตัวเองจะรู้ไม่เท่าทันคนอื่นและจะทำให้พลาดโอกาสดีๆเลยต้องออกไปเที่ยวหาจุดมาเติมลงบนกระดาษตัวเองเต็มได้ Dr. James ได้แชร์แนวทาง 5 ข้อดังนี้

1) Integrity การยึดหลักความถูกต้องผู้บริหาร รู้จักแยกแยะถูกผิดการดำเนินธุรกิจต่างๆก็จะอยู่บนหลักความถูกทุกๆการตัดสินใจก็จะชัดเจน

2) Generosityการ รู้จักแบ่งปัน ผู้บริหารต้องนึกถึงประโยชน์ของบุคคลอื่นโดยไม่มุ่งเพียงเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือองค์กรของตนเป็นหลักผลประโยชน์ต่างๆควรถูกแบ่งสู่ทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม

3) Courtesyการมีมารยาททางวิชาชีพข้อนี้ก็สำคัญเพราะการดำเนินธุรกิจแบบให้เกียรติผู้อื่นจะทำให้ผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นผู้กำหนดทิศทางขององค์กรมีความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น และช่วยลดระดับความขัดแย้งทั้งในและภายนอกองค์กรได้

4) Dedication ความทุ่มเท ในสิ่งที่ทำผู้บริหารที่มีคุณสมบัติข้อนี้จะมีความเพียรพยายามมากกว่าคนอื่นๆหากเราได้มีโอกาสอ่านประวัติของบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติข้อนี้เป็นพื้นฐานเพราะทุกความสำเร็จไม่เคยได้มาเพราะโชคช่วย

5) Accountability การสร้างผลสำเร็จที่จับต้องได้ข้อนี้แปลไทยเป็นไทยคือจงลงมือปฏิบัติอย่ามัวแต่พูด action คือสิ่งที่จะนำพาสู่ความสำเร็จฉะนั้นผู้นำที่ดีแต่พูด จะไม่สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

โดยสรุปคือการที่เราจะจัดการกับชุดข้อมูลที่ที่มีอยู่อย่างมากมายในยุคนี้ Dr. James Nitit Mah ได้แนะแนวทางให้มี “สติ” อย่ามัวแต่ “กลัวจะตกกระแส”​ และรีบออกวิ่งตามกระแสให้ทันจนคว้าเอาทุกจุดที่ผ่านเข้ามาใส่ลงไปบนกระดาษแต่เมื่อต้องใช้งานกลับเชื่อมโยงอะไรไม่ได้เลย กลายเป็น “มีความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด” ดังนั้นก่อนจะออกสตาร์ทใดๆ Dr. James Nitit Mah แนะนำให้ตั้งต้นจากแค่เพียง 5 จุดพื้นฐานข้างต้นจากจุดเพียง 5 จุด เมื่อเราต้องการวาดภาพจากจุดที่มีอย่างน้อยๆเราจะได้ภาพดวงดาวที่ชัดเจน 1 ภาพเป็นทุนตั้งต้นที่มากพอและหากจะหมั่นเติมจุดที่ 6 หรือ 7 เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ก้าวใกลกว่าเดิมด้วยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) หรือนวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation) ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่จงทำอย่างมี “สติ” อย่าออกไปหยิบจับมาซะหมดเพราะเดี๋ยวจะเลอะกระดาษเสียเวลาเปล่า

 

ข้อมูลอ้างอิง https://www.thelondoneconomic.com/lifestyle/money/the-economics-of-knowledge-versus-information/14/05/

การบริหารข้อมูลยุคดิจิตัล สู่ชัยชนะทางธุรกิจ