PeerPower ฟินเทคที่ตอบสนองความต้องการสินเชื่อ SME

PeerPower ฟินเทคที่ตอบสนองความต้องการสินเชื่อ SME

แนวโน้มของธุรกิจสินเชื่อในประเทศไทย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (IFRS 9) ส่งผลให้สถาบันการเงินในประเทศต้องระมัดระวังและจำกัดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ SME ประสบความยากลำบากมากขึ้นในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

บทสัมภาษณ์กับคุณวรพล พรวาณิชย์

ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัทเพียร์ พาวเวอร์ จำกัด มีประสบการณ์ในสายวาณิชธนกิจกว่า 18 ปี คุณวรพลเคยทำงานบริษัท Morgan Stanley ที่มลรัฐนิวยอร์คและประเทศฮ่องกง ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินของตนเองซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการควบรวมกิจการ การเพิ่มทุน และปรับโครงสร้างหนี้ คุณวรพลพร้อมกับทีมงานได้ก่อตั้งเพียร์ พาวเวอร์ขึ้นในปีพ.ศ. 2559 เพื่อลดช่องวางทางการเงินทั้งในฝั่งของการขอสินชื่อและการลงทุน

กรุงเทพธุรกิจ:  PeerPower คืออะไร

วรพล: PeerPower คือ ตลาดสินเชื่อออนไลน์สำหรับสินเชื่อ SME โดยเราเป็นตัวกลางในการจับคู่ผู้ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจกับนักลงทุน ผู้ขอสินเชื่อจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ขณะเดียวกัน นักลงทุนก็จะได้รับผลตอบแทนที่จูงใจ (8-10% ต่อปี) เราต้องการสร้าง “Trust Platform” ที่ได้รับความไว้วางใจจากทั้งกลุ่มผู้ขอสินเชื่อและนักลงทุน

เรามีความเชื่อว่าในโลกของการเงินทุกวันนี้ ที่สถาบันการเงินต้องปรับตัวตามผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเจ้าของกิจการในยุคนี้มีความเคยชินกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี ช่องทางที่แบรนด์ต่างๆ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้จึงหันมาเป็นออนไลน์มากขึ้น PeerPower เองต้องการเป็นทางเลือกของ SME ที่มองหาแหล่งเงินทุนผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเราอำนวยความสะดวกตรงที่ลูกค้าไม่ต้องเดินทางไปสาขา และเรายังนำเสนอบริการที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ เช่น การปล่อยกู้โดยไม่ใช้หลักทรัพย์ และความรวดเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ

กรุงเทพธุรกิจ: จุดเริ่มต้นของ PeerPower เป็นอย่างไร

วรพล: ทั่วโลกมีบริษัทที่ทำธุรกิจตลาดสินเชื่อออนไลน์ (Marketplace Lending) จำนวนมาก โดยแต่ละบริษัทจะโฟกัสกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น บริษัท SoFi ในสหรัฐอเมริกาเริ่มจากการปล่อยสินเชื่อให้กับนักศึกษา หรืออย่าง Prosper ในประเทศอังกฤษเจาะตลาดสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น สำหรับ PeerPower เรามองว่า SME เป็นตลาดที่น่าสนใจและยังมีช่องว่างทางการเงินอยู่ เราจึงเริ่มด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME แบบไม่ใช้หลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม 2560 สำหรับการหาลูกค้าในช่วงแรกนั้น เราเริ่มจากการสร้างคอมมูนิตี้ของผู้ประกอบการที่เรารู้จักอยู่แล้ว และเมื่อคนกลุ่มนี้มาเป็นลูกค้าเรา เราได้สร้างความประทับใจให้กับเขา จากนั้นเขาก็แนะนำเพื่อนหรือคนรู้จักที่สนใจขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจมาให้เรา เราจะเห็นได้ชัดว่าผู้กู้ที่ดี จ่ายตรงเวลา ก็จะแนะนำผู้กู้ประเภทเดียวกันมาให้เรา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีและเราตั้งใจจะให้เป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ

PeerPower ฟินเทคที่ตอบสนองความต้องการสินเชื่อ SME   PeerPower ฟินเทคที่ตอบสนองความต้องการสินเชื่อ SME

เพียร์ พาวเวอร์ในงาน Money Expo 2017 และ FinTech Challenge โดยกลต.

เมื่อมองย้อนกลับไปถึงหนึ่งปีที่ผ่านมา เราได้เสียงตอบรับที่ดีจากผู้กู้ของเรา พอร์ตสินเชื่อของเราเติบโต 3 เท่าตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2561 และหนี้เสียของเราอยู่ที่ 0% ในขณะที่ธุรกิจเราเติบโตขึ้น เรามุ่งมั่นที่จะสร้างตลาดสินเชื่อออนไลน์ที่น่าเชื่อถือและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

PeerPower ฟินเทคที่ตอบสนองความต้องการสินเชื่อ SME

วรพลสาธิตผลิตภัณฑ์ต่อดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ณ งาน BKK FinTech Fair 2018

กรุงเทพธุรกิจผู้ขอสินเชื่อ PeerPower เป็นใคร

วรพลผู้ขอสินเชื่อส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจบริการและธุรกิจขายปลีก โดยผู้ขอสินเชื่อทุกรายจะต้องจดทะเบียนนิติบุคคล (บจก. หรือ หจก.) มาแล้วอย่างต่ำ 1 ปี ผู้ขอสินเชื่อของเรามีความหลากหลายอย่างมาก เรามีทั้งธุรกิจ software house บริษัทรับทำเว็บไซต์ให้รัฐบาล ผู้ผลิตและออกแบบเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงร้านอาหารญี่ปุ่นที่กำลังจะขยายร้าน ทีมงานของเรายินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยให้ผู้ประกอบการเหล่านี้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ ถ้าจะให้สรุปแล้ว ผมว่าผู้ประกอบการของเรานั้น ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม ล้วนมีความมุ่งมั่น และความรับผิดชอบทางการเงินที่ดี

เราประเมินเครดิตของผู้ขอสินเชื่อด้วยแนวคิดที่ว่า “ไม่มีผู้ขอสินเชื่อคนใดเหมือนกัน” ฉะนั้นอัตราดอกเบี้ยของผู้ขอสินเชื่อจึงควรเป็นไปตามความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อแต่ละราย เราใช้วิธีที่เรียกว่า “Risk-Based Pricing” ซึ่งใช้ข้อมูลทางการเงินและพฤติกรรมทางการเงินเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการมองภาพรวมของธุรกิจ SME ที่เราให้ความช่วยเหลือ หากผลประเมินเครดิตออกมาว่าผู้กู้รายนี้มีความเสี่ยงสูง อัตราดอกเบี้ยที่เขาควรจะได้จึงสูงกว่าผู้กู้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า

กรุงเทพธุรกิจนักลงทุนได้รับประโยชน์อะไรจากการลงทุนกับ PeerPower

PeerPower ฟินเทคที่ตอบสนองความต้องการสินเชื่อ SME

วรพลตลาดสินเชื่อออนไลน์เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าทั่วโลกถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ข้อมูลการศึกษาจาก Morgan Stanley) ตลาดสินเชื่อออนไลน์มีคุณสมบัติบางอย่างที่ใกล้เคียงกับตราสารหนี้ระยะสั้นและตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูง ด้วยสาเหตุนี้ นักลงทุนจำนวนมากหันมาลงทุนในตลาดสินเชื่อออนไลน์เพื่อกระจายการลงทุนนอกเหนือจากตราสารทุน อสังหาริมทรัพย์ หรือพันธบัตรบริษัท นอกจากจะได้กระจายความเสี่ยงแล้ว นักลงทุนจะได้รับกระแสเงินสดรายเดือนในรูปของเงินต้นและดอกเบี้ยอีกด้วย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสัญญาณที่ดีที่แสดงถึงการเติบโตของตลาดสินเชื่อออนไลน์ โดยมีผู้เล่นในตลาดจำนวนมากและปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดสินเชื่อออนไลน์ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ PeerPower เรารับลงทุน Accredited Investors ตามนิยามของกลต. ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

(1) ผู้ลงทุนสถาบัน เช่น ธนาคารพาณิชย์ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และบริษัทมหาชน เป็นต้น และ

(2) ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด (High Net Worth)

(i) กรณีเป็นบุคคลธรรมดา - มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป หรือมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 4 ล้านบาท ขึ้นไป หรือมีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป สามารถพิจารณารวมกับคู่สมรสได้

(ii) กรณีเป็นนิติบุคคล - มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป หรือมีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป

นักลงทุนส่วนใหญ่ในแพลตฟอร์มของเราเป็นผู้ประกอบการด้วยอยู่แล้ว พวกเขาจึงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพิจารณาสินเชื่อเป็นอย่างดี นักลงทุนจะดูหนังสือชี้ชวนสรุปข้อมูลสำคัญของสินเชื่อที่ระบุรายละเอียดของธุรกิจและอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญเพื่อใช้วิเคราะห์ผู้ขอสินเชื่อ นักลงทุนของเรามักเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมหรือประเภทธุรกิจที่ตนรู้จักดีอยู่แล้ว

นักลงทุนสามารถเข้ามาดูหน้ามาร์เกตเพลสที่มีสินเชื่อปรากฏอยู่ และสามารถเปรียบเทียบสินเชื่อที่กำลังระดมทุนในขณะนั้นได้ โดยเราสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งให้นักลงทุนบนแพลตฟอร์มของเรากระจายความเสี่ยง (Risk Diversification) นอกจากนี้ นักลงทุนของเรายังสามารถเข้ามาดูพอร์ตการลงทุนของตนบนเว็บไซต์ PeerPower ได้อย่างเรียลไทม์

สำหรับนักลงทุนท่านใดที่สนใจ สามารถสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ PeerPower หรือติดต่อที่ปรึกษาการลงทุนของเราได้ที่เบอร์ 02-026-3514 ต่อ 2