มองวิกฤตเศรษฐกิจที่ผูกติดกับการเมืองการปกครอง

มองวิกฤตเศรษฐกิจที่ผูกติดกับการเมืองการปกครอง

 

20 ปีย้อนความทรงจำ...จำวิกฤตต้มยำกุ้งสุดแซ่บได้หรือไม่

ต้มยำกุ้ง ชื่อวิกฤตเศรษฐกิจการเงินครั้งใหญ่ของไทย ในตอนนั้นคนที่ต้องน้ำตาไหลมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มนักธุรกิจ โดยเฉพาะคนที่ลงทุนกับหุ้น ที่ดิน บ้าน และคอนโด เพราะใบโฉนดมีค่าไม่ต่างจากกระดาษเปล่า คนที่กู้เงินมาก็เจอภาวะหนี้ท่วมตัว ส่วนในวงการก่อสร้างก็ต้องทิ้งร้างจนมีภาพตึกร้าง หมู่บ้านร้างในเมืองไทย ส่วนพนักงานกินเงินเดือนก็ตกงานกันระนาว

ด้วยนโยบายการค้าเสรีที่เน้นการลงทุนในปี พ.ศ. 2532 – 2537 ทำให้นักลงทุนหลายท่านเลือกกู้เงินดอลล่าร์มาลงทุนด้วยราคา 25 บาท/ดอลล่าร์  ไม่เพียงเท่านั้นชาวต่างชาตินิยมมาลงทุนในประเทศไทย จนเข้าสู่ปี พ.ศ. 2539 ค่าเงินดอลล่าร์แข็งตัวขึ้นเป็น 50 บาท/ดอลล่าร์ ส่งผลให้นักลงทุนต้องใช้หนี้ก้อนมหาศาล ภาระหนักจึงตกไปอยู่ที่ธนาคารของไทยจนพากันล้มกันเป็นระนาว แล้ววิกฤตขั้นสุดก็มาอยู่ปี พ.ศ. 2540 ที่มีการประกาศค่าเงินบาทลอยตัว ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ พากันปิดตัว ผู้คนตกงาน และเกิดหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF)และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

เหตุการณ์ที่เล่ามานี้ผ่านมาแล้ว 20 ปี ซึ่งวิกฤตครั้งนั้นผ่านมาได้เพราะการร่วมแรงร่วมใจของภาคประชาชนคนไทย การออกนโยบายของรัฐบาล ผสานความร่วมมือของกลุ่มก้อนพรรคการเมืองที่ต่างมีข้อเสนอแนะเพื่อหวังการแก้ปัญหาให้ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 8, การเน้นให้ความสำคัญกับประชาชนโดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวแทนอย่างเดียว, โครงการสนับสนุนการลงทุนและฟื้นเศรษฐกิจแนวใหม่ที่ช่วยผลักดันธุรกิจให้กลุ่ม SMEs เป็นต้น จนในที่สุดเศรษฐกิจของประเทศไทยก็กลับมาลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง

เห็นได้ชัดเจนว่าระบอบการเมืองการปกครองเป็นเรื่องคู่ขนานไปกับเศรษฐกิจทั้งธุรกิจภาพเอกชนและรัฐบาลยิ่งในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแล้วนั้นยิง่มีความสัมพันธ์กันสูง โดยที่ส่วนใหญ่ระบอบประชาธิปไตยมักจะมีการวางระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีหรือทุนนิยมเสรี เช่นในประเทศไทยที่ก่อนหน้าจะเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งก็ใช้เศรษฐกิจแบบเสรีนิยม คือการเปิดโอกาสให้มีการลงทุนได้อย่างอิสระเสรี ซึ่งเรื่องที่อาจเกิดขึ้นตามมาคือเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อใดจะทำให้เกิดการล่มสลายของบริษัท ร้านค้าขนาดใหญ่ รวมถึงการว่างงานได้ โดยหากเกิดภาวะเหล่านี้รัฐบาลจะแก้ไขด้วยออกนโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ดังเช่นที่รัฐบาลไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงประชาชนหรือพรรคการเมืองต่างๆ ช่วยกันผลักดันและเสนอแนะจนเกิดเป็นโครงการสนับสนุนการลงทุน เป็นต้น นอกจากนั้นพรรคการเมืองจะร่วมเสนอแนะแนวทางแทนประชาชนแล้ว ยังมีหน้าที่ร่วมตรวจสอบการทำงานของภาครัฐในเรื่องเหล่านี้ด้วย

ดังนั้นนักธุรกิจจึงไม่ควรละเลยต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการติดตามข่าวสารเรื่องการเมือง  เพราะเชื่อแน่ว่าต้องส่งผลต่อการวางกลยุทธ์หรือมองทิศทางการตลาดให้กับธุรกิจของคุณ การร่วมออกเสียง การใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การร่วมตรวจสอบการทำงาน การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่คุณมีอุดมการณ์ร่วมกัน และการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้านการเงินแก่พรรคการเมือง เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของพรรคการเมืองและช่วยผลักดันให้นโยบายที่ต้องการมีโอกาสเกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็นจากการบริจาคภาษีในห้วงช่วงเวลาครบรอบการเสียภาษีประจำปี คุณสามารถเลือกบริจาคภาษีให้พรรคการเมืองที่ชอบได้โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม หรือการบริจาคเงินสนับสนุนพรรคการเมืองโดยตรง ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

ในส่วนของหน่วยงานที่จะมาดูแลเรื่องการจัดสรรเงินบริจาคให้กับพรรคการเมืองแต่ละพรรค ก็คือกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ภายใต้องค์กรหลักอย่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. โดยในวันนี้กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองได้ทำวิดีโอบอกเล่าเรื่องราวความสำคัญของพรรคการเมืองที่จะทำให้คนทั่วไปได้เข้าใจและใส่ใจมากขึ้นด้วยเวลาเพียง 2 นาที

ไม่เพียงเท่านั้นยังเพิ่มช่องทางความรู้ แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมได้ที่

Facebook : กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง หรือ www.facebook.com/กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง-205981099944062/

..เพราะเรารู้ว่าคุณมีกำลังช่วยกันได้...