โรคข้อนิ้วงอติดหรือข้อนิ้วล็อค (Trigger finger)

โรคข้อนิ้วงอติดหรือข้อนิ้วล็อค (Trigger finger)

 

โรคข้อนิ้วงอติด หรือ ข้อนิ้วล็อค (Trigger finger)

สาเหตุ

เกิดจากการใช้งานของนิ้วมือมาก และเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในท่างอ เหยียด นิ้วบ่อยๆ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นของนิ้วมือ  พบบ่อยในแม่บ้าน (ซักผ้าด้วยมือเป็นเวลานาน ถือถุงหิ้วของ จับด้ามกระทะ  ใช้มีด) ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า นักกีฬา หรือผู้ที่ชอบเล่นกีฬาบางประเภท ได้แก่ กอล์ฟ เทนนิส แบดมินตัน รวมทั้งเกิดในสตรีมีครรภ์ที่ส่งผลให้ปลอกหุ้มเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบวม

ผู้เสี่ยงต่ออาการนิ้วล็อค

 * ผู้ที่ต้องงอเหยียดนิ้วมือบ่อยๆ เช่น นักดนตรี ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล

 * ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น รูมาตอยด์ เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย

 * มักจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

โรคข้อนิ้วงอติดหรือข้อนิ้วล็อค (Trigger finger)

อาการ  ปวดบริเวณฝ่ามือ นิ้ว  นิ้วเคลื่อนไหวไม่สะดวก มีอาการสะดุด หรือนิ้วยึดอยู่ในท่างอ

การป้องกัน  หลีกเลี่ยงการใช้งานมือที่ต้องงอนิ้ว  กำบีบหิ้วสิ่งของต่างๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน

การรักษา   ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

 

อาการกำเริบไม่บ่อย  จะรักษาดังนี้

            * หลีกเลี่ยงการงอเหยียดนิ้วบ่อยๆ หรือถือสิ่งของเป็นเวลานาน

            * ทานยาต้านการอักเสบของเส้นเอ็น

            * แช่น้ำอุ่นวันละ 1 -2 ครั้ง

ผู้ที่มีอาการรุนแรง จะทำการรักษาโดย

          * ให้ยาต้านการอักเสบ  ลดบวมของเส้นเอ็น

          * ฉีดยาบริเวณที่มีอาการอักเสบ  โดยทั่วไปไม่ควรฉีดเกิน 2 -3 ครั้ง

การผ่าตัด  กระทำเมื่ออาการรุนแรง หรืออาการไม่ดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวเบื้องต้น  โดยการผ่าตัดคือ การตัดพังผืดของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้ว เพื่อขยายช่องปลอกหุ้มเอ็น วิธีการฉีดยาเฉพาะที่ หลังผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้ และเริ่มใช้งานนิ้วได้เบาๆ ทันที

การดูแลหลังผ่าตัด  ขยับข้อนิ้วมือเบาๆ ใช้งานได้ปกติ  และควรงอเหยียดข้อนิ้วให้สุด หลีกเลี่ยงการโดนน้ำ 7 - 10 วัน จนกระทั่งตัดไหม

 

 ศูนย์โรคกระดูกและข้อ

 โรงพยาบาลธนบุรี

โรคข้อนิ้วงอติดหรือข้อนิ้วล็อค (Trigger finger)