“ญี่ปุ่น vs อเมริกา ปักหมุดลงทุนฝั่งไหน คว้ากำไรปี ‘60”

“ญี่ปุ่น vs อเมริกา ปักหมุดลงทุนฝั่งไหน คว้ากำไรปี ‘60”

 

บลจ.กรุงศรี ส่งสองกองทุน FIF น้องใหม่ KF-HUSINDX และ KF-HJPINDX

ลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาและญี่ปุ่น ชี้ตลาดมีปัจจัยบวกจากสภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และนโยบายภาครัฐหนุนตลาดหุ้นโต แนะนักลงทุนเพิ่ม FIF ไว้ในพอร์ต

เพื่อโอกาสสร้างผลกำไรในระยะสั้นท่ามกลางตลาดหุ้นไทยที่ยังมีความผันผวน

เมื่อเร็วๆ นี้ บลจ. กรุงศรี ได้จัดสัมมนาพิเศษ ในหัวข้อ “ญี่ปุ่น vs อเมริกา ปักหมุดลงทุนฝั่งไหน คว้ากำไรปี ‘60” โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญการลงทุน คุณฉัตรแก้ว เกราะทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก และคุณเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก มาให้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบสภาวะเศรษฐกิจและทิศทางของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น พร้อมวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ความเสี่ยงในการลงทุน ปัจจัยที่จะส่งเสริมการเติบโตของตลาด สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน โดยงานสัมมนาจัดขึ้นที่ Access Place อาคารเพลินจิต ทาวเวอร์ เมื่อวันพฤสบดีที่ 29 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา

นายเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ กล่าวถึงตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาว่ามีปัจจัยเติบโตจากสภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มแข็งแกร่ง มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน จนนำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ การเติบโตของภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งภาคการบริโภค ผลิต บริการ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนอัตราการว่างงานที่ลดลง และค่าจ้างแรงงานที่ปรับขึ้น โดย IMF คาดการณ์ว่า GDP ของสหรัฐจะเติบโตจาก1.6% ในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 2.3% ในปีนี้ นอกจากนี้ ปัจจัยที่จะเข้ามาส่งเสริมเศรษฐกิจสหรัฐได้อีก คือ นโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเฉพาะใน 3 ประเด็นหลักๆได้แก่ นโยบายการลดภาษีนิติบุคคลจาก 35% เหลือ 15% ที่จะทำให้บริษัทมีกำไรสูงขึ้นและมีเงินลงทุนไหลกลับเข้าประเทศ การลดข้อจำกัดต่างๆ ในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในภาคการเงินการธนาคารและภาคพลังงาน ทำให้ภาคธุรกิจมีการเติบโต และเรื่องการพัฒนาสาธารณูปโภคที่มีแผนการใช้เงินลงทุนในโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐส่งสัญญาณไปในทิศทางบวก หลังจากที่ทรัมป์ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี

“ญี่ปุ่น vs อเมริกา ปักหมุดลงทุนฝั่งไหน คว้ากำไรปี ‘60”

GDP สหรัฐอเมริกา แหล่งข้อมูล: IMF World Economic Outlook (มกราคม 2560)

สำหรับปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความกังวลเรื่องการปฏิบัติตามนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ตามที่ได้หาเสียงไว้และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยบลจ.กรุงศรีมองว่าทรัมป์น่าจะปฏิบัตินโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตได้บางส่วน ซึ่งก็เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตได้มากขึ้นจากระดับปัจจุบันที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว ขณะที่นโยบายกีดกันการค้า มีโอกาสทำได้ยากเนื่องจากมีเสียงคัดค้านมาก สำหรับประเด็นอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นนั้นเป็นแค่การปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจากระดับที่ต่ำมากๆ จึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น ทั้งนี้ตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากครั้งนี้เป็นการปรับดอกเบี้ยขึ้นเพราะเศรษฐกิจดี

ด้านตลาดญี่ปุ่น คุณฉัตรแก้ว เกราะทอง กล่าวว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ การเติบโตของการบริโภคภายในประเทศที่มีสัดส่วนมากถึง 58% ของ GDP ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเติบโต ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อมีทิศทางที่ดีขึ้นจากเดิมที่เคยประสบภาวะเงินฝืดตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

“ญี่ปุ่น vs อเมริกา ปักหมุดลงทุนฝั่งไหน คว้ากำไรปี ‘60”

ข้อมูล: Cabinet Office, IMF WEO Oct’ 16, Krungsri Research

นอกจากนี้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ ที่เรียกว่า “Abenomics” ที่นำมาใช้ระหว่างปี 2055 – 2559 และเน้นในสามประเด็นหลัก ได้แก่ 1. นโยบายด้านการเงิน โดยอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อให้เกิดเงินเฟ้อและกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคประชาชน 2. นโยบายด้านการคลัง เพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐ และ3. นโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจ เช่นการลดภาษีนิติบุคคล การเพิ่มแรงงานกลับเข้าสู่ระบบ การเพิ่มค่าจ้างแรงงาน ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลง มีเม็ดเงินกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น บริษัทมีผลกำไรเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว และการที่ญี่ปุ่นจะได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ในปี 2563 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ

สำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่น นับตั้งแต่มีการดำเนินนโยบายอาเบะโนมิกส์ เป็นต้นมา ส่งผลให้ดัชนี Nikkei225 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 80% และยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีก จากปัจจัยสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องโดยในปีที่ผ่านมาธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เพิ่มปริมาณการเข้าซื้อกองทุน ETF ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากขึ้น จาก 3.3 ล้านล้านเยนต่อปี เป็น 6 ล้านล้านเยนต่อปีและในปี 2560คาดว่าจะมีการซื้อหุ้นคืน(Share buybacks) จากบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้นเป็น 7.8 ล้านล้านเยนจาก5 ล้านล้านเยนในปี 2559อีกทั้งปัจจุบันสัดส่วนการถือครองหุ้นในประเทศของกองทุนบำเน็จบำนาญที่ใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง GPIF ที่ยังไม่ถึงกรอบเป้าหมาย 25% (จากปัจจุบันที่ 23.76% ข้อมูล ณ ธันวาคม 2559) จึงมีโอกาสที่จะมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จากแนวโน้มการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯและญี่ปุ่นปรับเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินเยนมีโอกาสอ่อนค่าลงเทียบดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในญี่ปุ่นมากขึ้น โดยในปีนี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์การเติบโตของผลกำไรจะเติบโตที่ระดับ 9-12%

จากปัจจัยบวกที่ส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นของทั้งสองประเทศ บลจ.กรุงศรีได้ส่งสองกองทุนใหม่เพื่อเป็นทางเลือกให้นักลงทุนเข้าถึงโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาและหุ้นญี่ปุ่น ได้แก่ KF-HUSINDX (กองทุนเปิดกรุงศรียูเอสเออิควิตี้อินเด็กซ์เฮดจ์เอฟเอ็กซ์) ซึ่งลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ iShares Core S&P 500 ETF และ KF-HJPINDX (กองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนอิควิตี้อินเด็กซ์เฮดจ์เอฟเอ็กซ์) ที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Nikkei 225 Exchange Traded Fund (Nikkei 225) บริหารโดย Nomura Asset Management โดยทั้งสองกองทุนเป็นกองทุนแบบ Passive เน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงดัชนี S&P 500 และดัชนีนิกเคอิ กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 บลจ.กรุงศรีเชื่อว่า ทั้งสองตลาดมี upside อยู่ที่ประมาณ 9% และชี้ว่านักลงทุนควรจับจังหวะการลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนที่ดีกว่า

“ญี่ปุ่น vs อเมริกา ปักหมุดลงทุนฝั่งไหน คว้ากำไรปี ‘60”

แหล่งข้อมูล: ข้อมูลผลการดำเนินงานกองทุนจาก Morningstar ณ 21 ก.พ. 60. ข้อมูลกองทุนจาก Fact sheet, iShares by Blackrock ณ 31 ธ.ค. 59. ข้อมูลที่แสดงเป็นการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนรายวัน ตั้งแต่วันจัดตั้งกองทุน จนถึง 21 ก.พ. 60. ทั้งนี้การแสดงข้อมูลดังกล่าวเพื่อเปรียบเทียบการเติบโตและการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนเท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงผลการดำเนินงานจริงของกองทุน

“ญี่ปุ่น vs อเมริกา ปักหมุดลงทุนฝั่งไหน คว้ากำไรปี ‘60”

แหล่งข้อมูล: ข้อมูลผลการดาเนินงานกองทุนจาก Morningstar ณ 21 ก.พ. 60. ข้อมูลกองทุนจาก Fact sheet, Nomura ณ 30 ธ.ค. 59. ข้อมูลที่แสดงเป็นการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนรายวัน ตั้งแต่วันจัดตั้งกองทุน จนถึง 21 ก.พ. 60. ทั้งนี้การแสดงข้อมูลดังกล่าวเพื่อเปรียบเทียบการเติบโตและการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนเท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงผลการดาเนินงานจริงของกองทุน. ข้อมูลอันดับของกองทุนอ้างอิงจาก Japan Exchange Group ณ 21 ก.พ. 2560 โดยการจัดอันดับดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของสมาคมจัดการกองทุนแต่อย่างใด

สำหรับผู้ที่ต้องการปรับพอร์ตการลงทุนในปี 2560 นี้ ผู้เชี่ยวชาญของ บลจ.กรุงศรีแนะนำพอร์ทการลงทุนสำหรับผู้รับความเสี่ยงได้ปานกลาง ให้น้ำหนักลงทุนในตราสารหนี้ 37% ลงในตราสารทุน 63% โดยแบ่งเป็นตลาดหุ้นไทย 33% หุ้นในตลาดพัฒนาแล้ว20% และตลาดเกิดใหม่ 10%

นอกจากนี้บลจ. กรุงศรียังได้แนะนำกองทุนต่างประเทศอื่นๆอีก 7 กองทุน ที่มีศักยภาพในการทำกำไรและมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับลงทุนระยะยาวให้นักลงทุนเลือกลงทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ได้แก่

- กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลสมาร์ทอินคัม (KF-SINCOME) และกองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลคอลเล็คทีฟสมาร์ทอินคัม (KF-CSINCOM) กระจายลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเภททั่วโลก ผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ PIMCO Income Fund เป็นทางลือกสำหรับการลงทุนที่ไม่ต้องเสี่ยงสูง แต่ให้โอกาสรับผลตอบแทนมากกว่ากองทุนตราสารหนี้แบบเดิมที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้บริษัทเอกชนในประเทศ

- กองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนเฮดจ์ปันผล (KF-HJAPAND) อีกทางเลือกในการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ Eastspring Investments – Japan Dynamic Fund ที่ใช้การบริหารเชิงรุก จับจังหวะลงทุนในหุ้นคุณภาพดีที่ราคายังน่าสนใจ

- กองทุนเปิดกรุงศรีบริคสตาร์ (KF-BRIC) ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ Schroder ISF BRIC Fund เน้นลงทุนในประเทศที่เป็นผู้นำการส่งออกของโลก ได้แก่บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งแต่ละปรเทศมีปัจจัยบวกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ที่การเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญ เช่น รัสเซียที่มีโอกาสเติบโตจากการผลิตและผู้ส่งออก นํ้ามัน ก๊าซธรรมชาติ หรืออินเดียที่ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน IT และอุตสาหกรรมการแพทย์

- กองทุนเปิดกรุงศรีลาตินอเมริกาอิควิตี้ (KF-LATAM) ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ Templeton Latin America Fund ลงทุนในกลุ่มประเทศลาตินอเมริการ ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ของโลกที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว

- กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลเทคโนโลนีอิควิตี้ (KF-GTECH) ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ T.Rowe Price Funds SICAV – Global Technology Equity Fund ลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก จากการที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ล้วนแต่มีความสำคัญทั้งกับผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก ทำให้บริษัทในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นมาก

- กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลเฮลธ์แคร์อิควิตี้ปันผล (KF-HEALTHD) ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ JPM Global Healthcare Fund เน้นลงทุนในบริษัทกลุ่ม Healthcare ที่มีศักยภาพทั่วโลก มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีแนวโน้มเติบโตสูง จากการคาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชากรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น เพราะมีจำนวนประชากรเข้าสู่วัยชรามากขึ้นและมีอายุขัยนานขึ้นด้วย

- กองทุนเปิดกรุงศรีโกลด์ (KF-GOLD) และกองทุนเปิดกรุงศรีโกลด์เฮดจ์ (KF-HGOLD) ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ SPDR Gold Trust ทางเลือกการลงทุนในทองคำ เพื่อช่วยกระจากความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุนโดยรวม

คำเตือน

  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงราคา/ผลตอบแทนในอนาคต

สำหรับกองทุน KF-HUSINDX และ KF-HJPINDX

  1. กองทุน KF-HUSINDX จะนำเงินไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ของ NAV โดยกองทุนหลักจะเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี S&P 500 Index เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 Index ในขณะที่กองทุน KF-HJPINDX จะนำเงินไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Nikkei 225 Exchange Traded Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ของ NAV โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี Nikkei 225 หรือหุ้นที่กำลังจะมาเป็นส่วนประกอบของดัชนี Nikkei 225 ดังนั้นกองทุนทั้งสองอาจมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ/หรือการเมืองภายในประเทศ จนทำให้ภาวะตลาดเปลี่ยนแปลงไปจนมีผลกระทบต่อราคาหุ้น
  2. กองทุนไทยและ/หรือกองทุนหลักอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน ทำให้กองทุนอาจมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงและรับความเสี่ยงได้สูงกว่าผู้ลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวมเมื่อมีความเข้าใจในความเสี่ยงของสัญญาฯ โดยคำนึงถึงประสบการณ์การลงทุน วัตถุประสงค์การลงทุน และฐานะการเงินของผู้ลงทุนเอง ทั้งนี้ กองทุนหลักจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงเท่านั้น
  3. กองทุนไทยจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในสกุลเงินตราต่างประเทศที่กองทุนไทยถืออยู่เทียบกับสกุลเงินบาท ณ ขณะใดขณะหนึ่งโดยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยง โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนไทยโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
  4. กองทุนไทยอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non–Investment grade) หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วนหรือทั้งจำนวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการ
  5. บริษัทจัดการกองทุนอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) สำนักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้อนุมัติการจัดตั้งกองทุนเปิดกรุงศรียูเอสอิควิตี้อินเด็กซ์เฮดจ์เอฟเอ็กซ์ (KF-HUSINDX) และ กองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนอิควิตี้อินเด็กซ์เฮดจ์เอฟเอ็กซ์ (KF-HJPINDX) แต่ไม่ได้รับผิดชอบในการบริหารกองทุนและไม่ได้รับประกันราคาหน่วยลงทุนของกองทุน

สำหรับกองทุนแนะนำอื่นๆ

1. นโยบายกองทุนและความเสี่ยงกองทุน

  • กองทุน KF-SINCOME และ KF-CSINCOM มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ PIMCO GIS Income Fund เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV | มีความเสี่ยงกองทุนระดับ 5 | การจ่ายผลตอบแทนของกองทุนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งอาจมีโอกาสที่นักลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนในบางช่วงเวลา
  • กองทุน KF-HJAPAND มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ Eastspring Investments – Japan Dynamic Fund เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV | มีความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
  • กองทุน KF-BRIC มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ Schroder ISF BRIC Fund เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV | มีความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • กองทุน KF-LATAM มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ Templeton Latin America Fund เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV | มีความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • กองทุน KF-GTECH มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ T. Rowe Price Funds SICAV – Global Technology Equity Fund เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV | มีความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • กองทุน KF-HEALTHD มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ JPM Global Healthcare เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ | มีความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • กองทุน KF-GOLD และ KF-HGOLD มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ SPDR Gold Trust เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ | ทั้งสองกองทุนมีความเสี่ยงกองทุนระดับ8

2. นโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินของกองทุน

  • กองทุน KF-SINCOME/ KF-CSINCOM/ KF-HJAPAND และ KF-HGOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะใดขณะหนึ่งโดยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมฯ โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
  • กองทุน KF-BRIC/ KF-LATAM/ KF-GTECH และ KF-HEALTHD อาจเข้าทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมฯ โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงฯ ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • กองทุน KF-GOLDมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยกองทุนอาจเข้าทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมฯ โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงฯ ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกาไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนกองทุนได้ที่

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด
ชั้น 1-2 โซนเอ, 12, 18 อาคารเพลินจิต เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์ 0 2657 5757 l โทรสาร 0 2657 5777

E-mail: [email protected] | Website: www.krungsriasset.com