ก้าวต่อ ปตท. กับ Social Collaboration วิสัยทัศน์ดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคม สู่ความยั่งยืน

ก้าวต่อ ปตท. กับ Social Collaboration วิสัยทัศน์ดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคม สู่ความยั่งยืน

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกกำลังถูกท้าทายด้วยกระแสการเปลี่ยนแปลงของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ที่เป็นผลจากเทคโนโลยีดิจิทัลและยังรุกคืบมาถึงการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มเดินไปสู่เส้นทางของพลังงงานสะอาดเพื่อโลกมากขึ้น

ด้วยบทบาทผู้นำด้านนวัตกรรมของประเทศ ทำให้กลุ่ม ปตท. ที่มองเห็นสัญญาณความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเตรียมพร้อมที่จะปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความท้าทายต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น

โดยไม่เพียงการเตรียมการรองรับทั้งเชิงกลยุทธ์ที่ต้องเร่งแสวงหาธุรกิจใหม่ที่เป็น New S-Curve และนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ ควบคู่กับการพัฒนาคนให้มีความพร้อมเป็นพลังขับเคลื่อน ตามวิสัยทัศน์ Change for future of Thailand 4.0 เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและสังคมที่ยั่งยืนแล้ว

กลุ่ม ปตท. ยังตระหนักถึงความรับผิดชอบและเป็นอีกหนึ่งส่วนหนึ่งของพลังที่ร่วมขับเคลื่อนสังคมไทยและโลก ที่ยึดแนวทางการสานพลังสู่ความยั่งยืน หรือ Sustainable Growth for All โดยมีหลักการดำเนินงาน 3 ด้านอย่างสมดุลได้แก่

People มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่คนในสังคม Planet ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือก ลดมลพิษ พร้อมมุ่งมั่นส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสุดท้าย Prosperity ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาล บนภารกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

โดยแนวคิดการให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศชาติ องค์กร สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ก้าวต่อ ปตท. กับ Social Collaboration วิสัยทัศน์ดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคม สู่ความยั่งยืน

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ได้แสดงวิสัยทัศน์ดังกล่าวในงาน Sustainable Brands Bangkok 2018ภายใต้หัวข้อ “Technology for Social Collaboration” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงาน Sustainable Brands Bangkok 2018 ณ คุ้งบางกะเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ แสดงให้เห็นถึงทิศทางและแนวทางการดำเนินงานด้านเทคโนโลยี ดิจิตอล นวัตกรรม ที่กลุ่ม ปตท. นำมาปรับใช้

โดยกล่าวว่า นับตั้งแต่วันก่อตั้งจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าสี่สิบปี แนวทางการดำเนินการของ ปตท.ที่มีมาตลอดคือพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และดูแลชุมชนรอบข้าง

“แต่วันนี้ เรามองไปถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลประเทศด้วย รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่เราไปดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่ง ปตท.พยายามนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริหารจัดการที่ดีเพื่อเป็นแบบอย่างให้หลากหลายพื้นที่ เช่น การพัฒนาปั๊มแยกขยะ หรือโครงการแยกแลกยิ้ม เป็นต้น”

ในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสู่ความยั่งยืนเป็นภารกิจที่ ปตท.ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การจัดตั้งสถาบันปลูกป่ามาตั้งแต่ปี 2537 ที่ต่อยอดขยายผลกลายเป็นอีกหลากหลายโครงการ ซึ่งล้วนเป็นบทพิสูจน์ถึงความจริงจังในการดูแลรับผิดชอบโลกใบนี้

ก้าวต่อ ปตท. กับ Social Collaboration วิสัยทัศน์ดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคม สู่ความยั่งยืน

“หลากหลายโครงการที่เรามี จนอาจเรียกได้ว่าเรามีแซนด์บ็อกซ์เป็นของเราเอง ได้แก่ โครงการป่าในกรุง ป่าวังจันทร์ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินีรวมถึงป่าอีกกว่าล้านไร่ที่กระจายอยู่ใน 50 จังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้เรายังมีการจัดกิจกรรมรางวังลูกโลกสีเขียว โครงการอาสาพัฒนารักษาป่า เพื่อให้การสนับสนุนและดูแลผืนป่าของคนไทย”

ส่วนวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานต่อจากนี้ ซีอีโอคนล่าสุดของ ปตท. ย้ำชัดเจนว่าจะดำเนินการผ่านการสานพลังจากหลากหลายหน่วยงานในรูปแบบ Social Collaborationที่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการพัฒนาจากเดิมที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาเฉพาะด้าน ไปสู่การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม โดยมีความต้องการของชุมชนเป็นพื้นฐานและเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน

“เป็นปรัชญาในการดำเนินงานของ ปตท. ที่ต้องดูแลโลก ดูแลประเทศไทยด้วยอย่างยั่งยืน แต่การดำเนินงานต่างๆ เหล่านี้จะต้องใช้เวลาและงบประมาณค่อนข้างมาก ปตท.จึงค่อยๆ ทำไปและทำอย่างต่อเนื่องดังนั้น Social Collaboration จะเป็นแนวทางใช้พลังของการร่วมกันคิดร่วมกันทำ ตามความถนัดของแต่ละฝ่ายมาร่วมกันขับเคลื่อน”

สำหรับการดำเนินโครงการร่วมพัฒนา “คุ้งบางกะเจ้า” พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่กว่า 12,000 ไร่ ใกล้กรุงเทพฯ   ที่ถูกยกให้เป็นสถานที่ที่สร้างออกซิเจนบริสุทธิ์ทำหน้าที่ฟอกอากาศให้คนกรุงเทพ สมุทรปราการและพื้นที่ใกล้เคียงที่มีคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว สังคม วัฒนธรรม

ก้าวต่อ ปตท. กับ Social Collaboration วิสัยทัศน์ดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคม สู่ความยั่งยืน

ปตท. ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 ผ่านโครงการรักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์คุ้งบางกะเจ้าต่อมาในปี 2561 ได้ขยายความร่วมมือในรูปแบบ Social Collaboration กับภาคีเครือข่าย ภายใต้โครงการ OUR Khung Bang Kachaoซึ่งเป็นการสานพลังร่วมเพื่อพัฒนาสังคม (Social Collaboration with Collective Impact) โดยความร่วมมือทั้งราษฎร์ – รัฐ – เอกชน ระหว่างชุมชนคุ้งบางกะเจ้า 6 ตำบล และ 34 องค์กรชั้นนำของประเทศ ภายใต้การกำกับของมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมน้อมนำศาสตร์พระราชาแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักการดำเนินงานเพื่อร่วมอนุรักษ์และพัฒนาให้คุ้งบางกะเจ้าเป็นพื้นที่สีเขียวอันอุดมสมบูรณ์

ชาญศิลป์กล่าวต่อว่าเป้าหมายของความร่วมมือครั้งนี้คือความยั่งยืนในการร่วมพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการเติบโตทางเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้นด้วยการตอบสนองความต้องการของชุมชนที่แท้จริง (Community Centric Development) เป็นตัวตั้งบนการทำงานที่มีเป้าหมายร่วม (Shared Goal) เพื่อสร้างผลลัพธ์ร่วมกัน

“การวางแผนดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมต้องร่วมมือกับชุมชน เพราะเขาเป็นคนที่รู้พื้นที่ดีกว่าในการดำเนินการทุกอย่าง จริงๆ ชุมชนต้องรักษาไว้ ซึ่งการจะสร้างจิตสำนึกให้ช่วยกันรักและหวงแหนท้องถิ่น เราต้องปลูกป่าในใจคน”

โครงการ “OUR Khung Bang Kachao”มุ่งเน้นการพัฒนา6 มิติ เพื่อตอบโจทย์การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่และแก้ปัญหาที่คนในชุมชนต้องการได้แก่ 1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว 2. การจัดการน้ำและการกัดเซาะริมตลิ่ง 3. การจัดการขยะ 4. การส่งเสริมอาชีพ 5. การท่องเที่ยว และ 6. การพัฒนาเยาวชนและการศึกษา

ซึ่งนอกจากการรับผิดชอบในมิติการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับคุ้งบางกะเจ้าแล้ว ผู้บริหาร ปตท. เสริมว่าในอนาคต ปตท. อาจนำความรู้ทางเทคโนโลยีต่างๆ ที่มี เช่น Data Analytic ระบบเซนเซอร์ ไลน์ หรือแอพพลิเคชันมาช่วยให้ประสิทธิภาพการพัฒนาพื้นที่ต่อไป

ทั้งนี้งานประชุม Sustainable Brands Bangkok 2018 เป็นการประชุมสัมมนาด้านความยั่งยืนของแบรนด์ระดับโลก โดยครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่ 12-13 ตุลาคม 2561 ณ พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย คุ้งบางกะเจ้า ภายใต้แนวคิด “Redesigning The Good Life”  เป็นการระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการดำเนินธุรกิจและสร้างแบรนด์ ให้ตอบสนองการสร้างชีวิตที่ดีในสังคม โดยได้รับเกียรติจากผู้บรรยายทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ