ปันน้ำปุ๋ยสู่ชุมชนโมเดลซีพีเอฟช่วยเกษตรกรผ่านวิกฤติภัยแล้ง

ปันน้ำปุ๋ยสู่ชุมชนโมเดลซีพีเอฟช่วยเกษตรกรผ่านวิกฤติภัยแล้ง

นำไปรดต้นไม้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี กล้วยผลสวยลูกใหญ่ผลดก ทำให้มีแนวคิดว่าน่าจะทำโครงการใช้น้ำปุ๋ยสำหรับสวนเกษตรในหมู่บ้าน

 

ปี 2562 ประเทศไทยเสี่ยงเผชิญวิกฤตภัยแล้งมากกว่าปีก่อนๆ จากผลพวงของปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำในเขื่อนทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบหลายปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าปัญหานี้ย่อมส่งต่อเกษตรกรโดยเฉพาะผู้เพาะปลูกพืชไร่พืชสวนที่จำเป็นต้องใช้น้ำเป็นหนึ่งในต้นทุนการผลิตที่สำคัญ

 

แม้ว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะเริ่มส่งผลกระทบบางพื้นที่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน แต่เกษตรกรหลายรายยังยิ้มออก เพราะไม่ต้องกังวลว่าพืชพันธุ์ที่ตนเองลงทุนเพาะปลูกนั้นจะตายหรือผลผลิตเสียหายจากการขาดน้ำ เนื่องจากเกษตรกรเหล่านี้มี “น้ำปุ๋ย” จากซีพีเอฟ ส่งมาหล่อเลี้ยงต้นพืชให้เติบโตช่วยให้เกษตรกรผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้งในทุกๆปีไปได้

 

กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ ที่หมู่ 7 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ที่สมาชิกทั้ง 35 คน คือหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จจากการนำน้ำปุ๋ยจากฟาร์มสุกรจันทบุรี 2 ของซีพีเอฟ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบจากภาวะแล้งแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้อย่างดีด้วย

 

ณรงค์สิชณ์ สุทธาทิพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิสภาเกษตรกร และประธานหมอดินจังหวัดจันทบุรี บอกว่า การนำน้ำปุ๋ยมาใช้กับสวนผลไม้ของกลุ่มเกษตรกรนี้ เกิดจากการที่เขาได้เห็นผลผลิตของเกษตรกรที่มีสวนกล้วยอยู่ติดกับฟาร์มและใช้น้ำปุ๋ย ซึ่งเป็นน้ำที่ออกจากระบบไบโอแก๊สของฟาร์มหมู และผ่านการบำบัดจนมีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด จึงสามารถนำไปรดต้นไม้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี โดยพบว่ากล้วยผลสวยลูกใหญ่ผลดก ทำให้มีแนวคิดว่าน่าจะทำโครงการใช้น้ำปุ๋ยสำหรับสวนเกษตรในหมู่บ้าน

 

“พวกเราเริ่มขอรับน้ำปุ๋ยจากฟาร์มหมูจันทรบุรี 2 เมื่อปี 2553 ตอนนั้นเกษตรกรยังใช้ถัง 1,000  ลิตรไปบรรทุกน้ำจากฟาร์มมาใช้ จากหนึ่งคนก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นจากการบอกกันปากต่อปากว่าผลผลิตกล้วยดีขึ้น พอเอาไปรดต้นเงาะลูกก็งามเหมือนกัน ผมจึงปรึกษาเรื่องนี้กับทางฟาร์มว่าอยากทำเป็นโครงการปันน้ำให้สวนเกษตรภายในหมู่บ้าน ทางบริษัทก็เห็นด้วย และเริ่มโครงการกันทันที ชาวสวนและชาวฟาร์มจึงช่วยกันต่อท่อ PVC ที่ได้รับจากกรมชลประทานมาต่อเป็นท่อส่งน้ำให้แต่ละสวน โดยซีพีเอฟให้น้ำอย่างไม่จำกัดแก่เกษตรกรสมาชิกทั้ง 35 ราย แต่ละรายมีเนื้อที่สวนประมาณ 10 ไร่ มีทั้งที่ปลูก กล้วย เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลำไย พริกไทย ฯลฯ ซึ่งน้ำปุ๋ยสามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด” ณรงค์สิชณ์ เล่า

 

ส่วนการปันน้ำเกษตรกรจะร่วมกันวางแผนการใช้น้ำโดยให้ใช้ 1-2 รายต่อวัน เปิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยปี 2561 ที่ผ่านมา ได้รับน้ำจากฟาร์มถึง 25,000 ลูกบาสก์เมตร ส่วนข้อดีของการใช้น้ำปุ๋ยคือ การช่วยปรับสภาพดินทำให้มีลักษณะร่วนซุย เพราะในน้ำมีจุลินทรีย์ที่ช่วยปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้น ที่สำคัญยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกไปได้ถึง 40% อย่างสวนของณรงค์สิชณ์ที่ปลูกผลไม้แบบผสมผสานบนพื้นที่ 10 ไร่ เขาพบว่าผลผลิตมีคุณภาพดี รสชาติก็อร่อยกว่าเมื่อก่อน พริกไทยก็งามได้ผลดีมาก เขาบอกว่ารู้สึกภูมิใจมากที่ซีพีเอฟกับชาวสวนร่วมกันทำโครงการดีๆที่ช่วยพี่น้องเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม ช่วยลดต้นทุนและพัฒนาให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น เท่ากับช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง

 

ถัดจากสวนของณรงค์สิชณ์ เป็นสวนกล้วยไข่ของ โชติ ไหมทอง ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มแรกๆ ที่นำน้ำปุ๋ยมาใช้ เพราะได้ยินจากเพื่อนเกษตรกรว่าใช้น้ำนี้แล้วผลผลิตกล้วยดีขึ้นมากจึงทดลองบ้าง ปรากฏว่าได้ผลดีจริง จึงใช้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน เขาบอกว่าตั้งแต่ใช้น้ำปุ๋ยก็เลิกใช้ปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยขี้ไก่กับสวนกล้วยไปเลย เรียกว่าประหยัดค่าปุ๋ยได้ 100% ใบกล้วยใหญ่ ต้นงาม ผลดก คุณภาพก็ดีขึ้นมาก โดยเขาใช้น้ำปุ๋ยเดือนละ 1-2 ครั้ง ใช้รดทั้งต้นกล้วย ทุเรียน กับเงาะ ใช้น้ำมาเกือบ 10 ปี ไม่มีปัญหาอะไร ดินก็ดี ผลไม้ก็งาม สังเกตว่าผลไม้ลูกใหญ่ขึ้น โชติบอกว่าโครงการนี้ดีมาก ชาวสวนที่ใช้น้ำทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าน้ำปุ๋ยช่วยลดต้นทุนและทำให้ผลไม้และพืชสวนต่างๆมีผลผลิตดีขึ้นจริงๆ

 

ส่วนเกษตรกรในเขตภาคเหนือ สิงห์คำ เชียงปัญญา เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวโพด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่เคยได้รับผลกระทบจากภัยแล้งแต่สามารถผ่านพ้นปัญหานี้ได้จากน้ำปุ๋ยของซีพีเอฟ บอกว่า  ตนเองทำไร่ข้าวโพด 6 ไร่ เมื่อก่อนมีปัญหามากตอนฤดูแล้งที่น้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงทำเรื่องขอใช้น้ำจากฟาร์มหมูซีพีเอฟ จอมทองมาตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 16 ปี ด้วยการสูบน้ำปุ๋ยไปใช้โดยตรงปริมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตรต่อรอบการปลูก แต่ละปีปลูกได้ 2 รอบ พบว่าผลผลิตเพิ่มขึ้น จากเดินเคยได้ผลผลิตข้าวโพด 1,500 ตันต่อรอบการปลูก หลังใช้น้ำปุ๋ยผลผลิตเพิ่มเป็น 2,500 ตันต่อรอบการปลูก เรียกว่าทั้งหมดปัญหาน้ำแล้งและได้รายได้เพิ่มไปพร้อมๆกัน

 

สำหรับเขตอีสาน ภณิตา โชติรัตน์ทัตกุล ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรคูเมือง จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า สหกรณ์ฯ มีพื้นที่ติดกับฟาร์มหมูซีพีเอฟบุรีรัมย์ เล่าว่า เมื่อปี 2559 ในพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรอย่างหนัก เมื่อเห็นว่าฟาร์มมีน้ำปุ๋ยคุณภาพดีจึงประสานงานกับฟาร์มและทำเรื่องขอใช้น้ำผ่าน อบต.คูเมือง จากนั้นจึงต่อท่อส่งน้ำและสูบน้ำเข้าแปลงปลูกหญ้าเนเปียร์ บนพื้นที่ 100 ไร่ของสมาชิกสหกรณ์ 30 ราย โดยขอน้ำมาใช้ตลอดระยะปลูก 3 เดือน หนึ่งปีปลูกได้ 3 รอบ โดยหลังจากนำน้ำปุ๋ยมาใช้พบว่าผลผลิตหญ้าเนเปียร์เพิ่มขึ้นถึง1เท่าตัวจากที่เคยได้หญ้า 5 ตันต่อไร่ เพิ่มเป็น 10 ตันต่อไร่และยังช่วยลดการซื้อปุ๋ยเคมีลงถึงครึ่งหนึ่ง จากแต่ก่อนใช้ปุ๋ยไร่ละ 50 กิโลกรัมปัจจุบันใช้เพียงไร่ละ 25 กิโลกรัม

 

“เกษตรกรทุกคนพอใจมากที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตที่มากขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง สามารถต่อยอดสู่การผลิตปุ๋ยจากหญ้าเนเปียร์ และไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอีกเลย ขอขอบคุณซีพีเอฟและ ฟาร์มบุรีรัมย์ที่มีโครงการดีๆแบบนี้ให้กับชุมชน” ภณิตา พูดแทนสมาชิกทุกคน

 

ฟากฝั่งเกษตรกรที่ร่วมโครงการปันน้ำปุ๋ย ชลธิชา อินธิราช เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรขุนกับซีพีเอฟ เจ้าของ "นพดลฟาร์ม" ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร บอกว่าฟาร์มของตนเองเป็นกรีนฟาร์ม "เลี้ยงหมูเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" โดยติดตั้งระบบไบโอแก๊ส ที่ช่วยให้มีแก๊สธรรมชาติสำหรับใช้ปันไฟลดต้นทุนด้านไฟฟ้า ช่วยป้องกันกลิ่นเหม็นที่อาจรบกวนชุมชน และยังได้น้ำปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบถ้วนเพื่อแบ่งปันให้เกษตรกรรอบๆ สำหรับรดพืชไร่ พืชสวนและนาข้าว ทำให้สามารถช่วยเพื่อนเกษตรกรผ่านพ้นภาวะภัยแล้งและช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดี

 

ด้าน สมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ บอกว่า บริษัทมุ่งมั่นมีส่วนร่วมลดผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ จึงเดินหน้าโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกรในชุมชนต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี 2547 โดยฟาร์มเลี้ยงหมูของบริษัทซึ่งกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศ รวมทั้งเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟ ได้ร่วมกันจัดโครงการดังกล่าว ด้วยการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดในระบบแก๊สชีวภาพ สู่บ่อบำบัดน้ำหลังระบบ ต่อไปสู่บ่อพักน้ำ จนได้น้ำสะอาดที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีธาตุอาหารที่เหมาะสมกับพืช อาทิ โพแทสเซียม ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม จนถึงปัจจุบันซีพีเอฟแบ่งปันน้ำปุ๋ยช่วยเหลือเกษตรรอบฟาร์มรวม 148 ราย ที่นำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกพืช อาทิ นาข้าว อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา ยูคาลิปตัส หญ้าเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ในพื้นที่รวมกว่า 4,066 ไร่ ซึ่งไม่เพียงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดน้ำในภาวะวิกฤติภัยแล้งเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร รวมถึงช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยรวมประมาณ 2 ล้านบาทต่อปี

 

การแบ่งปันทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์และก่อเกิดคุณค่าแก่เกษตรกรทุกคน ผ่านโครงการปันน้ำปุ๋ยให้ชุมชนนี้ ถือเป็นตัวอย่างของการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างพึ่งพาอาศัย จากความต้องการให้เกษตรกรรอบข้างผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้งในทุกๆปีไปให้ได้ ขณะเดียวกัน น้ำปุ๋ยที่แบ่งปันนี้ก็มีคุณภาพดีส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ  ที่ผ่านมาจึงมีรายจ่ายลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งภาพสะท้อนความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของซีพีเอฟที่มีต่อเกษตรกรรอบข้าง เป็นการสร้างประโยชน์แ