เด็กมีภาวะบกพร่องทางการได้ยินรักษาได้ด้วยประสาทหูเทียม

เด็กมีภาวะบกพร่องทางการได้ยินรักษาได้ด้วยประสาทหูเทียม

Make The Difference เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น โดย “ทีเอ็มบี” ได้ให้การสนับสนุนในการรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ ภาวะบกพร่องทางการได้ยิน

“ อาการเด็กแรกเกิดที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยินเสียง หากไม่มีการตรวจทดสอบการได้ยิน หรือหมั่นคอยสังเกตพฤติกรรมเด็ก โดยผู้ปกครองเด็กไม่มีข้อมูลเรื่องนี้เลย จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเด็กมีความผิดปกติหรือไม่ และกว่าที่จะรู้ เด็กก็มีอายุ 3-4 ขวบแล้ว ทำให้พัฒนาการการได้ยินของเด็กช้าออกไป และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหูหนวกที่ไม่อาจรักษาได้ หากปล่อยไว้นานเกินไป ” ผศ.พญ.จรินรัตน์ กล่าว

จากคำกล่าวเบื้องต้นเพื่ออธิบายถึงอาการผิดปกติของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยินเสียงในปัจจุบัน ได้ถูกเล่าเรื่องราว โดย ผศ.พญ.จรินรัตน์ สิริรัฐวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาโสต สอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และแพทย์ที่ปรึกษาในชมรมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย ซึ่งได้กล่าวภายในงาน “ทีเอ็มบี” ส่งมอบโครงการมิราเคิล ออฟ ซาวน์ ให้แก่ชมรมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย โดย คุณปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี ให้เกียรติเป็นผู้ส่งมอบโครงการ นับเป็น 1 ใน 37 กิจกรรมการเปลี่ยนชุมชนเพื่อความยั่งยืนของปี 2561 ภายใต้แนวคิด Make The Difference เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น โดย “ทีเอ็มบี” ได้ให้การสนับสนุนในการรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับภาวะบกพร่องทางการได้ยิน พร้อมทั้งสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญการตรวจสอบทางการได้ยินและรักษาอย่างถูกวิธี และเป็นที่ปรึกษาในการยกระดับชมรมประสาทหูเทียมฯ ให้ก้าวไปสู่การจัดตั้งเป็นสมาคมประสาทหูเทียม เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยินให้ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

ผศ.พญ.จรินรัตน์ สิริรัฐวรรณ ได้กล่าวให้ข้อมูลภายในวันจัดกิจกรรมดังกล่าวว่า จากการให้คำปรึกษาและรักษาเด็กที่มีปัญหาการได้ยินเสียง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งครรภ์ของคุณแม่ว่าดูแลตัวเองได้ดีแค่ไหน จากการตรวจเด็ก 1,000 คน พบว่ามีปัญหา 3 คน บ้านเราจะพามารักษาช้าตอนเด็กอายุ 3-4 ขวบแล้ว อาจเพราะรู้ช้า หรือบางรายอาจจะปฏิเสธการรักษา ขอแนะนำให้พาเด็กแรกเกิดตรวจทดสอบการได้ยิน หลังจากนั้นให้สังเกตเมื่อพูดคุยกับลูก โดยลองเรียกเขาจากด้านหลัง ถ้าเขาไม่ตอบเสียงเรียกก็อาจจะมีอะไรผิดปกติ หรือเมื่อเด็กอายุ 1 ขวบแล้วยังไม่เรียกพ่อ แม่ ควรนำเด็กมาตรวจการได้ยินเสียง อย่างช้าไม่เกินขวบครึ่ง อย่าปล่อยให้ประสาทหูเสื่อมจนกลายเป็นหูหนวก จะไม่สามารถรักษาได้ ในรายที่ประสาทหูเสื่อมไม่มาก ให้ใช้เครื่องช่วยฟัง แล้วฝึกพูด ฝึกฟัง ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้

สำหรับรายที่หูเสื่อมมากใช้เครื่องช่วยฟังไม่ได้ผล ควรรักษาด้วยการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม การผ่าตัดยิ่งเร็วยิ่งดี ผ่าตอน 1 ขวบ เด็กจะตามกันทันที่ 3-4 ขวบ แต่ถ้าผ่าหลัง 5-7 ขวบไปแล้ว พัฒนาการด้านการได้ยินของเด็กจะช้าลง วันแรกที่เปิดเครื่องใช้ประสาทหูเทียม คือวันแรกที่เด็กได้ยินเสียง ซึ่งเขาจะต้องได้รับการฝึกฟัง ฝึกพูด จนกว่าจะสามารถพูดได้เป็นปกติในอีก 2 ปีถัดไป

คุณสรเทพ โรจน์พจนารัช กรรมการและผู้ร่วมก่อตั้งชมรมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย ได้เล่าให้ฟังถึงวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งชมรมประสาทหูเทียมฯ ว่า เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สังคมเกี่ยวกับภาวะความบกพร่องทางการได้ยิน ที่ไม่ใช่อาการหูหนวก ว่าสามารถรักษาให้หายได้ หากรีบรักษาแต่เนิ่นๆ อีกทั้งพยายามผลักดันให้ภาครัฐฯ ยื่นมือเข้ามาช่วยเรื่องค่ารักษาแก่เด็กที่มีภาวะความบกพร่องทางการได้ยิน

“สิ่งที่สำเร็จเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมแล้วคือ ลูกข้าราชการสามารถเบิกค่าผ่าตัดและค่าอุปกรณ์ได้ 80% มีการออกกฎหมายบังคับให้โรงพยาบาลทุกแห่งต้องทำการทดสอบการได้ยินของเด็กแรกเกิดทุกคน มีการจัดตั้งศูนย์การฝึกการพูดทั่วประเทศ ช่วยฝึกพูดหลังการผ่าตัดเพื่อให้เด็กพูดได้เป็นปกติ และจะผลักดันต่อไปในเรื่อง สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กที่ผ่าตัดใช้ประสาทหูเทียม ต้องมีสิทธิสมัครเข้าเรียนโรงเรียนใดก็ได้ และจะเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้เด็กทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นลูกข้าราชการสามารถเบิกค่ารักษาได้ด้วย

จากชมรมเล็กๆ เรากำลังจะจัดตั้งเป็นสมาคมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทยในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า ต้องขอบคุณทีเอ็มบี ที่ให้การช่วยเหลือในหลายด้าน รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนด้านข้อมูลในการดำเนินการเพื่อขอจัดตั้งสมาคม และช่วยจัดทำวิดีโอคอนเทนต์ เพื่อให้ความรู้เรื่องการฝึกสอนการพูดแก่เด็กที่ไม่ได้ยินเสียง ในช่วงฟื้นฟูการพูดหลังการผ่าตัด และ ทีเอ็มบี ยังจัดหาสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยถูกพิเศษ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองสามารถกู้เป็นค่าผ่าตัดและค่าอุปกรณ์

น้องพีพี” ด..อดุลวิทย์ โรจน์พจนารัช อายุ 15 ปี บุตรชายของคุณสรเทพ โรจน์พจนารัช ครอบครัวผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นสมาชิกในชมรมประสาทหูเทียมฯ ซึ่งได้รับการผ่าตัดใช้ประสาทหูเทียมเมื่อตอนอายุ 4 ขวบ เพราะกว่าจะรู้ว่าน้องพีมีอาการผิดปกติเมื่อตอน 3 ขวบแล้ว ได้เล่าให้ฟังถึงการรักษาที่ผ่านมาว่า หลังการผ่าตัดใช้ประสาทหูเทียม เริ่มได้ยินเสียงพ่อแม่เป็นครั้งแรกรู้สึกตกใจมาก หลังจากนั้นแม่จะพาไปฝึกฟังฝึกพูดทุกวัน ซึ่งใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งปี ก็เริ่มพูดได้ “ในช่วงแรกผมรู้สึกว่ามันยากและรู้สึกท้อ แต่ผมก็พยายามฝึก เพราะผมอยากพูดได้เหมือนคนอื่น และมีพ่อแม่ให้กำลังใจ ทุ่มเทเวลาให้ผมเต็มที่ ผมเลยมีพัฒนาการที่ไวกว่าคนอื่น”

ทางด้าน “น้องโปรตอน” ด..ทีปกร ผุดผ่องแผ้ว อายุ 12 ปี บุตรชายคนโตของคุณทิพย์วรรณ บุญฉัตรสุริยา สมาชิกร่วมก่อตั้งชมรมประสาทหูเทียมฯ อีกครอบครัว ก็ได้ทำการผ่าตัดใช้ประสาทหูเทียมเช่นกัน เมื่อตอนอายุ 2 ขวบ ได้เล่าให้ฟังว่า หลังการผ่าตัดสามารถได้ยินเสียงชัดเป็นปกติ แต่ต้องปรับตัวและฝึกฟังฝึกพูดเยอะมาก จึงสามารถพูดได้เหมือนคนอื่น ซึ่งปัจจุบันน้องโปรตอนเรียนหนังสือโปรแกรมสองภาษาและมีผลการเรียนที่ดี สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติเหมือนเพื่อนร่วมชั้น

สำหรับผู้มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมประสาทหูเทียมฯ สามารถติดต่อได้ที่ เฟสบุ๊ค ชมรมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย

สามารถติดตามกิจกรรมดีๆ ของอาสาสมัครทีเอ็มบี เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจ หรือสนับสนุนการ “เปลี่ยน” เพื่อสังคมที่น่าอยู่ ได้ที่ https://www.tmbfoundation.or.th, https://www.instagram.com/makethedifference_by_tmb

------------------------------------------------------------

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ : บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด โทร.0 2631 – 2290 – 5

คุณเกษณีภร เจษฎาบัณฑิต (เนส) โทร. 084 – 665 – 6159 / E-mail: [email protected]