หัวเว่ย รับรางวัลจากเวที Smart City Expo World Congress 2018

หัวเว่ย รับรางวัลจากเวที Smart City Expo World Congress 2018

หัวเว่ย ปลื้มลูกค้าโซลูชัน Smart City ได้รับการยกย่องบนเวที Smart City Expo World Congress 2018

หัวเว่ย และลูกค้าโซลูชัน Smart City จำนวนสามราย ได้รับรางวัลหรือได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอันทรงเกียรติ ในการประชุม Smart City Expo World Congress (SCEWC) 2018 ซึ่งให้การยกย่องความสำเร็จจากความร่วมมือในการสร้างสรรค์นวัตกรรมระหว่างหัวเว่ยกับลูกค้าสามรายนี้ รวมถึงความสำเร็จอันโดดเด่นในการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คน เสริมศักยภาพในการบริหารจัดการ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเมืองเกาชิง ประเทศจีน ได้รับรางวัล Digital Transformation Award จากความสำเร็จในการดำเนินโครงการสมาร์ทซิตี้ ขณะที่เมืองรุสเทนเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ ได้เข้าชิงรางวัล Award for the Governance & Finance Project ส่วนเมืองชิงเต่า ประเทศจีน เข้าชิงรางวัล Award for the Innovation Idea Project จากความสำเร็จในโครงการพัฒนาคุณภาพข้าวเกษตร รางวัลอันทรงเกียรติเหล่านี้สะท้อนถึงการยอมรับที่แวดวงอุตสาหกรรมมีต่อเทคโนโลยีชั้นนำและโซลูชันระดับนวัตกรรมของหัวเว่ย ตลอดจนความสำเร็จจากการดำเนินงานในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่า ประชากรในเขตเมืองปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 55% ของประชากรทั้งหมดทั่วโลก และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองในสามภายในกลางศตวรรษนี้ โดยเมืองต่าง ๆ ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาล้วนเผชิญกับความท้าทายเดียวกัน นั่นคือวิธีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการตอบรับกับความต้องการของพลเมือง เพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัย ในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและคล่องแคล่วยิ่งขึ้น และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางพาณิชย์ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย โดยการประชุม SCEWC มีพันธกิจ "เพื่อขับเคลื่อนเมืองและรวบรวมนวัตกรรมเขตเมืองทั่วโลก" ขณะที่รางวัล World Smart City Awards มีเป้าหมายเพื่อยกย่องแนวคิดริเริ่มและโครงการต่าง ๆ ที่มีความโดดเด่นที่สุด

หยู ตง ประธานฝ่ายโซลูชันและการตลาดอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า "หัวเว่ยเชื่อว่า กลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ คือการส่งมอบคุณประโยชน์และประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแก่พลเมืองและภาคธุรกิจ หัวเว่ มองเมืองว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง และมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบประสาทให้กับเมือง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เมืองสามารถรับรู้ คิด เรียนรู้ด้วยตนเอง และเติบโตต่อไป โดยเราได้รวบรวมองค์ประกอบหลัก ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มของเรา ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมทรัพยากรต่าง ๆ ของเมือง และเชื่อมโยงสิ่งอำนวยความสะดวกและแอปพลิเคชันเมืองทั้งหมด เพื่อใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เสริมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ลงบนแพลตฟอร์มดิจิทัล สืบเนื่องจากที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชัน AI ที่ครบถ้วนรอบด้าน (full-stack) และใช้ได้ในทุกสถานการณ์ (all-scenario) และสิ่งนี้จะเข้ามาเร่งนวัตกรรมพัฒนาเมืองอัจฉริยะต่อไป ทั้งนี้ เราขอแสดงความยินดีต่อเมืองเกาชิงและเมืองชิงเต่าของจีน รวมถึงเมืองรุสเทนเบิร์กของแอฟริกาใต้ ที่ได้คว้าความสำเร็จในการสร้าง Smart City โดยการสร้างเมืองอัจฉริยะทั่วโลกนั้นได้ส่งสัญญาณแสดงการมาถึงของยุคแห่งการใช้แพลตฟอร์ม และทางหัวเว่ย จะเดินหน้าสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลต่อไป เพื่อช่วยให้เมืองอัจฉริยะทั้งหลายบรรลุเป้าหมายในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างแท้จริง"

เมืองเกาชิงของจีนชนะรางวัล Digital Transformation Award สาขาการสร้างแบบจำลองเมืองอัจฉริยะขนาดกลางและขนาดย่อม

ในฐานะเมืองอัจฉริยะที่มีความครอบคลุมระดับประเทศของจีน เมืองเกาชิงถือเป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเกาชิงได้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลของหัวเว่ยเพื่อบรรลุผลสำเร็จในการบริการเมืองอัจฉริยะ การพัฒนาอุตสาหกรรม และการเพิ่มพูนผลประโยชน์ให้กับประชาชน ด้วยเครือข่ายข้อมูลเมืองที่มีความครอบคลุมซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยเครือข่ายเทคโนโลยี eLTE สำหรับรัฐบาลโดยเฉพาะ โซลูชันดังกล่าวจึงได้บูรณาการบิ๊กดาต้า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) คลาวด์วิดีโอ แหล่งทรัพยากรคำสั่งและการส่งของ และแหล่งทรัพยากรคลาวด์คอมพิวติ้งเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้งานแอปพลิเคชันอัจฉริยะอีกกว่า 30 แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ อาทิ การบริหารเมือง การเปลี่ยนผ่านทางองค์กร การผลิตที่มีความปลอดภัย และการปกป้องสิ่งแวดล้อม โซลูชันดังกล่าวได้ช่วยให้เมืองเกาชิงเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยยกระดับมาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชาชนกว่า 400,000 คน โดยโครงการริเริ่มเมืองอัจฉริยะนี้ได้เปิดทางให้เมืองเกาชิงบรรลุเป้าหมายในการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่ พร้อมพัฒนาบริการของภาครัฐเพื่อประโยชน์ของประชาชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านการใช้อุตสาหกรรมอัจฉริยะ ณ ปัจจุบัน เมืองเกาชิงได้ร่วมมือกับหัวเว่ยและพันธมิตรอีกกว่า 20 รายในการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเมืองอัจฉริยะขนาดกลางและขนาดย่อมในจีน พร้อมส่งเสริมการใช้โซลูชันการบริหารจัดการเมืองในประเทศและเมืองอื่น ๆ

เมืองรุสเทนเบิร์กในแอฟริกาใต้เข้ารอบสุดท้ายของการประกวดรางวัล Governance & Finance Award สาขาการสร้างระบบนิเวศทางดิจิทัลที่ชาญฉลาดและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประชากรในเมืองรุสเทนเบิร์กเพิ่มขึ้นถึง 400% ส่งผลให้เกิดความท้าทายในหลายด้าน อาทิ ความมั่นคงทางสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมอัจฉริยะ โครงการเมืองอัจฉริยะของรุสเทนเบิร์กจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลและดัชนีชี้วัดที่สำคัญแบบเรียลไทม์ โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ การวิเคราะห์ด้วยบิ๊กดาต้าและ IoT เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างถูกต้องแม่นยำเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน แอปพลิเคชันหลัก ๆ อาทิ แพลตฟอร์มการชำระเงินแบบบูรณาการ ไฟถนนอัจฉริยะ ที่จอดรถอัจฉริยะ และระบบคมนาคมอัจฉริยะ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อยกระดับการบริหารระบบสาธารณูปโภคและการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของเทศบาล ด้วยเหตุนี้ การบริโภคพลังงานในระดับเทศบาลจึงลดลงกว่า 50% ขณะที่อัตราการใช้บริการขนส่งสาธารณะมีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเชื่อมต่อและผลผลิตที่ดีขึ้นของเมืองยังช่วยยกระดับมาตรฐานการใช้ชีวิตของประชาชนกว่า 600,000 คน สำหรับด้านความปลอดภัยสาธารณะนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้การติดต่อสื่อสาร การตรวจตรา และการวิเคราะห์ข้อมูลวิดีโอที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งช่วยลดเวลาในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ส่งผลให้อัตราอาชญากรรมลดลงกว่า 50% และทำให้เมืองมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ส่วนในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของเมืองรุสเทนเบิร์กนั้น ได้มีการเปิดให้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรีในเขตเมืองที่มีความยากจน และก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 1,500 ตำแหน่ง นอกจากนี้ โครงการเมืองอัจฉริยะในรุสเทนเบิร์กยังนำไปสู่การสร้างแอปพลิเคชันเมืองและองค์กรอีกหลายแอปพลิชัน รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อผู้ประกอบการ การเชื่อมต่อประชาชนเข้าด้วยกัน การพัฒนารัฐบาล และการพัฒนาองค์กรขนาดเล็กและย่อม โดยรุสเทนเบิร์กยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลและระบบนิเวศที่มีความสร้างสรรค์ต่อไป

เมืองชิงเต่าในประเทศจีนเข้ารอบสุดท้าย รางวัล Innovation Idea Award จากโครงการพัฒนาคุณภาพข้าวเกษตรด้วยการพลิกฟื้นที่นา

นักวิชาการ หยวน หลงผิง ได้เป็นผู้นำศูนย์การวิจัยและพัฒนาข้าวที่ทนต่อดินเค็ม-ด่างแห่งชิงเต่า (Qingdao Saline-Alkali Tolerant Rice Research and Development Center) เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวเค็ม-ด่าง ซึ่งข้าวพันธุ์นี้ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 620 กก.ต่อ mu (เทียบเท่าพื้นที่ราว 666.66 ตร.ม.) ในประเทศจีน และ 500 กก.ต่อ mu ในเขตทะเลทรายของดูไบ ความสำเร็จนี้เกิดจากนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ประกอบกับระบบ Element IoT ของหัวเว่ย โดยเซ็นเซอร์ในระบบ IoT ที่ระดับพื้นผิวและใต้ดินจะคอยเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทต่าง ๆ อาทิ แสง ความชื้น ความเค็ม และความเป็นด่าง จากนั้นจึงส่งข้อมูลที่ได้ไปยัง Huawei Cloud Big Data Center ผ่านทางเครือข่าย eLTE โดยระบบ AI และผู้เชี่ยวชาญจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อให้คำแนะนำเรื่องการพ่นยาฆ่าแมลงอย่างตรงเป้าเฉพาะจุด รวมถึงการให้ปุ๋ย และการควบคุมแมลง เพื่อปรับปรุงผลผลิตข้าวเค็ม-ด่าง ทั้งยังส่งผลให้ลดการใช้น้ำลงได้ 30% ลดการใช้ปุ๋ย 50% และเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 20% การพลิกพื้นพื้นที่เค็ม-ด่างขนาด 100 ล้าน mu สามารถให้ผลผลิตข้าว 3 หมื่นล้านกก. และเป็นอาหารให้กับประชาชน 80 ล้านคน นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับประชากรทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวฯ ภายใต้การนำของคุณหยวนและบริษัทหัวเว่ย ยังได้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมร่วม Agricultural IoT Global Joint Innovation Center เพื่อพัฒนา "Agricultural Fertile Soil Platform" สำหรับอุตสาหกรรมการเกษตรทั่วโลก โดยมีเป้าหมายที่จะเร่งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ 4.0 ซึ่งสนับสนุนโดยเทคโนโลยี IoT, บิ๊กดาต้า, การเชื่อมต่อมือถือ และคลาวด์คอมพิวติ้ง

Smart City Solution ของหัวเว่ย ได้ให้บริการเมืองต่าง ๆ แล้วมากกว่า 160 เมืองในกว่า 40 ประเทศ ทั้งนี้ งาน Smart City Expo World Congress (SCEWC) 2018 จัดขึ้นที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน สามารถพบกับ หัวเว่ย ได้ที่บูทหมายเลข B200 ในห้องจัดแสดง Gran Via 2 (Hall 2) และดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Smart City Solution และหลักปฏิบัติของหัวเว่ย ได้ที่ http://e.huawei.com/topic/smartcity2018/en/index.html

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20181115/2301104-1

คำบรรยายภาพ: เมืองเกาชิงของจีน ชนะรางวัล Digital Transformation Award