สังคมแห่งการแบ่งปัน โตโยต้าขับเคลื่อนความสุข ที่ไม่สิ้นสุด

สังคมแห่งการแบ่งปัน โตโยต้าขับเคลื่อนความสุข ที่ไม่สิ้นสุด

สังคมแห่งการแบ่งปัน โตโยต้าขับเคลื่อนความสุข ที่ไม่สิ้นสุด

          ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าทั่วโลก คือ “ส่งเสริมพัฒนาการ และสวัสดิการของประเทศ ร่วมกับการเจริญเติบโต ของชุมชนในประเทศที่โตโยต้าเข้าไปดำเนินธุรกิจ” ซึ่งโตโยต้าได้ยึดถือมาตลอดในการดำเนินงานภายในประเทศไทยเช่นเดียวกัน และในโอกาสครบรอบการดำเนินงานภายในประเทศไทย 50 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2555 โตโยต้าได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานภายใต้สโลแกน “โตโยต้า ขับเคลื่อนความสุข” โดยมุ่งมั่นขับเคลื่อนความสุขสู่สังคมไทย ผ่านการส่งต่อ 3 คุณค่าขององค์กร ได้แก่1.การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ 2.การพัฒนาธุรกิจและบุคลากรและ 3.การส่งเสริมกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

            นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยกล่าวว่า ความสุขเกิดขึ้นได้จากหลายรูปแบบ แต่รูปแบบความสุขที่โตโยต้าเล็งเห็นนั้น คือ ความสุขที่ยั่งยืน อันเกิดจากการที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือหรือสร้างความสุขให้ผู้อื่น และคนเหล่านั้นสามารถส่งต่อความสุขให้กับคนอื่นๆ ต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นความสุขที่เกิดจาก “การแบ่งปัน” โตโยต้าเห็นคุณค่าของการแบ่งปันแต่เราเชื่อว่าการแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุดคือการ “แบ่งปัญญ์” หรือการ “แบ่งปันภูมิปัญญา” เราจึงดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยยึดมั่นแนวทางดังกล่าวมาตลอดเพราะเชื่อว่าจะนำไปสู่ความสุขของสังคมไทยอย่างยั่งยืน

         

          ตลอดระยะเวลากว่า 55 ปี โตโยต้าดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมภายใต้การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างมากมาย ทั้งด้านการศึกษา การพัฒนาชุมชนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการรณรงค์เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ด้วยความมุ่งมั่นจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ “ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยผ่านการดำเนินงาน ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่

          การส่งเสริมสังคมในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการแบ่งปันโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสภายใต้โครงการ “มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย” ตลอดจนการแบ่งปันความรู้เรื่องการใช้รถใช้ถนนและการขับขี่ อย่างปลอดภัย ปลูกฝังวินัยจราจรและน้ำใจของการขับขี่รถที่ดีให้กับสังคมไทยภายใต้โครงการ “โตโยต้า ถนนสีขาว”

          นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย กล่าวว่า มูลนิธิฯ ก่อตั้งขึ้นด้วยความตระหนักว่าชุมชนและสังคมที่เข้มแข็งย่อมอยู่บนรากฐานที่มั่นคงของการศึกษาและคุณภาพชีวิตที่ดี จึงมุ่งมั่นในการดำเนินงานผ่าน 3 ส่วน ได้แก่ 1.พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กเยาวชนและคนพิการ 2.ส่งเสริมการดำเนินการขององค์กรสาธารณกุศลต่างๆ และ 3.ส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน จวบถึงปัจจุบัน มูลนิธิฯ ให้การส่งเสริมโครงการที่มีทิศทางการดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯจำนวนทั้งสิ้น 57 โครงการ และอีกด้านที่มูลนิธิฯ ให้ความสำคัญก็คือ การส่งเสริมสังคมทางด้านการศึกษาโดยแบ่งปันโอกาสแก่เยาวชนที่ขาดแคลนเป็นทุนการศึกษาไปแล้วทั้งสิ้น 13,641 ทุน โดยหวังว่านักเรียนทุนจะนำภูมิปัญญา และโอกาสที่ได้รับไปถ่ายทอด ต่อยอด สร้างประโยชน์แก่ผู้อื่น

 

          ด้านสิ่งแวดล้อม : การมุ่งเน้นในการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการแบ่งปันองค์ความรู้ และสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนทั่วประเทศ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ “โตโยต้าเมืองสีเขียว เพื่อธรรมชาติเพื่อทุกชีวิต” ซึ่งมาจากพันธสัญญาที่เป็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทโตโยต้าทั่วโลก ในการลดผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์ และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน หรือ ‘Toyota Environmental Challenge 2050’

 

          โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จึงยึดมั่นในการบริหารจัดการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ ตั้งแต่กระบวนการ ต้นน้ำ นั่นคือ การจัดซื้อ การขนส่ง ต่อเนื่องมาถึงกระบวนการ กลางน้ำ คือการผลิตในโรงงาน จนถึงปลายน้ำนั่นคือ ผู้แทนจำหน่าย โตโยต้า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์ มารีไซเคิลหรือการกำจัดซากอย่างถูกวิธีประกอบกับความมุ่งมั่นที่ จะเป็นส่วนหนึ่งในการ สร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทย จึงได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อแบ่งปันความรู้ด้าน สิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ

 

สังคมแห่งการแบ่งปัน โตโยต้าขับเคลื่อนความสุข ที่ไม่สิ้นสุด

          ด้านเศรษฐกิจ: การแบ่งปันประสบการณ์และองค์ความรู้ในการทำธุรกิจขององค์กร ให้แก่ธุรกิจชุมชนของไทยเพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถดำเนินงานอย่างมืออาชีพได้ด้วยตัวเองผ่านโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ทั้งนี้ธุรกิจชุมชนเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่จากสถิติพบว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน เนื่องจากประสบปัญหาในการบริหารจัดการธุรกิจโตโยต้าจึงนำประสบการณ์ในการทำธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อันได้แก่ ระบบการผลิตแบบโตโยต้าวิถีโตโยต้า และปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่งมาถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการOTOP และ SMEs

          ดังสุภาษิตจีนที่ว่า “ถ้าท่านให้ปลาแก่คนจน เขาจะมีปลากินเพียงแค่วันเดียว แต่ถ้าท่านสอนวิธีจับปลาให้เขา เขาจะมีกินตลอดชีวิต”เป็นแนวทางที่จะสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจประเทศไทยโดยผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ถ่ายทอดประสบการณ์ “ไคเซ็น-การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไร และอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

 

          “ในขั้นต้นเราเน้นการแบ่งปันประสบการณ์แก่ธุรกิจชุมชน ซึ่งก็คือ ผู้ประกอบการและพนักงานทั้งหมดถ่ายทอดผ่านพนักงานเกษียณอายุผู้เชี่ยวชาญระบบการผลิตแบบโตโยต้า ที่ร่วมดำเนินงานศึกษาปัญหาและปรับปรุงธุรกิจของชุมชนเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มุ่งหวังคือธุรกิจชุมชนที่ดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ สามารถลดต้นทุนเพิ่มกำไรซึ่งจะทำให้เกิดการแบ่งปันขั้นที่สอง นั่นคือชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและความสุขของพนักงานและชุมชน” นายวุฒิกรกล่าว

 

 

สังคมแห่งการแบ่งปัน โตโยต้าขับเคลื่อนความสุข ที่ไม่สิ้นสุด

สังคมแห่งการแบ่งปัน โตโยต้าขับเคลื่อนความสุข ที่ไม่สิ้นสุด

 

          ส่วนการแบ่งปันขั้นสุดท้าย จะเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจชุมชมสามารถพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงธุรกิจได้ด้วยตัวเองโตโยต้าจะตกลงกับผู้ประกอบการในการยกระดับให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์สู่ธุรกิจชุมชนอื่นๆ ต่อไป

 

          โตโยต้ายังคงมุ่งมั่นในการพัฒนา และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนไทย มีความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการให้บริการด้วยความใส่ใจเสมือนเป็นคนในครอบครัวตลอดจนการแบ่งปันภูมิปัญญา เพื่อสร้าง“การแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุด” ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้

 

สังคมแห่งการแบ่งปัน โตโยต้าขับเคลื่อนความสุข ที่ไม่สิ้นสุด

 

          ในส่วนของมูลนิธิฯ มีแผนขยายการดำเนินงาน ผ่านการสนับสนุนทุนการศึกษาพยาบาล สาขาผู้สูงวัย และทุนพัฒนาศักยภาพเด็ก และเยาวชน เนื่องจากตระหนักถึงแนวโน้มของปัญหาสังคมสูงวัย และปัญหาเยาวชนที่ถูกละเลยจากบิดา มารดาที่ไปทำงานในเมืองหลวง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม: จะมีการเปิดตัว “โตโยต้าเมืองสีเขียว อยุธยา” ศูนย์การเรียนรู้แห่งแรกนอกโรงงาน เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า ใน 5 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวการอนุรักษ์น้ำ การใช้พลังงานทดแทน การเดินทางอย่างยั่งยืน และการจัดการขยะ แก่คนในชุมชน นักท่องเที่ยว เพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ ก่อนที่จะขยายองค์ความรู้ สู่ชุมชนในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

 

          สำหรับ โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ มีการวางแผนที่จะขยายโครงการ ให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ และขยายศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ด้วยความร่วมมือกับภาครัฐชุมชน และผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า ในการเดินหน้าส่งต่อประสบการณ์แก่ธุรกิจชุมชนทั่วประเทศทั้งหมดนี้ โตโยต้าหวังว่าการส่งต่อองค์ความรู้ และประสบการณ์สู่ธุรกิจชุมชนทั่วประเทศ จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่าง “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” และจะเป็นการขับเคลื่อนความสุขสู่สังคมไทย ผ่าน “การแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุด” อย่างแท้จริง