มุสลิมไทยแฟร์ ครั้งที่ 4

มุสลิมไทยแฟร์ ครั้งที่ 4

ภายใต้วิถีสังคมพหุวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 2-4 พฤศจิกายนนี้ ณ ลานพลาซ่าอินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพฯ

“งานมุสลิมไทยแฟร์”ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของพี่น้องไทยมุสลิม ซึ่งจะจัดขึ้นในต้นฤดูหนาวของทุกปี สำหรับในปีนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิดหลักคือ “Muslim@Ratanakosin” วิถีงดงามบนแผ่นดินพหุวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 2-4 พฤศจิกายนนี้ ณ ลานพลาซ่าอินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก “รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน” ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานจัดงาน ภายประกอบด้วยส่วนแสดงนิทรรศการศิลปะอิสลาม การเขียนคอตอาหรับ อาภรณ์ตานี@ชายแดนใต้ ผ้าสะระบั่น นิทรรศการแสดงถึงประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต อัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิมเก่าแก่ในกรุงเทพมหานครและมลายูภาคใต้ รวมถึงการออกบูธขององค์กรและมูลนิธิต่าง ๆ ร้านค้าเครื่องแต่งกาย และอาหารกว่า 250 บูธ

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “สังคมพหุวัฒนธรรม”ซึ่งเป็นหลักคิดของการจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้ว่าเมื่อช่วงก่อนหน้านี้ได้มีทีมฟุตบอลหมูป่าได้เข้าไปติดอยู่ในถ้ำหลวงเขาน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย แต่พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่กันคนล่ะด้านของประเทศได้ร่วมกันละหมาดฮายัตขอพรให้เด็กๆและทีมช่วยเหลือทุกคนปลอดภัยโดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนนั่นก็ถือเป็นความเข้มแข็งของสังคมพหุวัฒนธรรมของบ้านเรา ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยถือเป็นเสน่ห์อีกอย่างที่น่าสนใจ อย่างชุมชนมุสลิมในภาคใต้ที่มีอยู่ถึง 80-90% ก็ยงมีความแตกต่างหลากหลายของแต่ล่ะในพื้นที่

แนวคิดของการจัดงานในครั้งนี้คือ สังคมพหุวัฒนธรรมสอดคล้องกับแนวคิดของสภาปฎิรูปด้านวัฒนธรรมอย่างลงตัว เราจะเห็นได้ว่าในประเทศอื่นจะมีความสมัครสมานสามัคคีกันในเรื่องของสังคมพหุวัฒนธรรมแทบไม่มีเลย ซึ่งต่างกับประเทศไทยซึ่งตรงนี้ถือเป็นจะเด่นของสังคมพหุวัฒนธรรมแบบไทยๆ และควรจะแสดงให้โลกได้เป็นถึงตรงนี้ อย่าง“งานมุสลิมไทยแฟร์” นี่เราจะเห็นได้ชัดว่านี่เป็นงานของคนมุสลิมที่ไม่ได้มีแต่คนมุสลิมมาเที่ยวชมงานเท่านั้น แต่มีคนต่างศาสนิกเข้ามาเที่ยวชมงานมากมาย เพราะเขาเข้ามาแล้วไม่รู้สึกแตกต่างแต่กลับอบอุ่นที่ได้มาสัมผัสวัฒนธรรมมุสลิม และยังได้เข้าถึงความหลากหลายในสังคมมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมแบบอินโดนิเซี่ย มุสลิมแบบเขมร มุสลิมแบบอาหรับ แบบเปอร์เซีย ฯลฯซึ่งจะสะท้อนออกมาในด้านของอาหาร เครื่องแต่งกาย

ซึ่งงานลักษณะนี้จัดออกมาค่อนข้างยากซึ่งตรงนี้ต้องชื่นชมคณะผู้จัดงานทุกท่าน อย่างที่เห็นชัดๆภายในงานนี้คือผ้าสะระบั่น ไม้ตะพด หรือกริชถ้าสังเกตุดูจะเห็นได้ว่าของชาวไทยมุสลิมเองจะแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยความเป็นเอกลักษณ์แบบไทยๆ ซึ่งความแตกต่างนั้นมันมาจากการยอมรับของสังคมไทยที่มีต่อสังคมมุสลิมในอดีต ทำให้ศิลปะไทยเข้าไปกลมกลืนกับศิลปวัฒนธรรมของอารับ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างจากวัฒนธรรมอิสลามที่อื่นๆซึ่งเราจะได้เห็นกันในงานนี้

วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่สินค้า และวัฒนธรรมต่างๆของพี่น้องมุสลิมให้เป็นที่รู้จักของพี่น้องชาวไทยโดยทั่วไป และเชื่อว่าภายในงานนี้จะมีผู้เข้าเยี่ยมชมไม่ต่ำกว่า 100,000คน มีเม็ดเงินสะพัดไม่ตำกว่า 50ล้านบาท จึงอยากจะใคร่ขอเรียนเชิญพี่น้องชาวไทยทั้งที่เป็นมุสลิม และทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชมสัมผัสวัฒนธรรมไทยมุสลิม รวมทั้งจับจ่ายใช่สอยกระจายเม็ดเงินเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย