ห่วงโซ่อุปทานในอาเซียนอ่อนไหว

ห่วงโซ่อุปทานในอาเซียนอ่อนไหว

ห่วงโซ่อุปทานเป็นแรงขับเคลื่อนในการตัดสินใจด้าน ESG ที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับ 2 สำหรับบริษัทในเอเชียขนาดใหญ่

 

บริษัทในเอเชียโดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีห่วงโซ่อุปทานบริษัทข้ามชาติลดลงหากไม่ได้ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG)รายงานที่ธนาคารเอชเอสบีซีได้มอบหมายให้บริษัท East & Partners จัดทำขึ้นได้เปิดเผยมุมมองดังกล่าวว่า ทัศนคติและการปฏิบัติการขององค์กรธุรกิจและนักลงทุนสถาบันจำนวน 1,731 รายที่มีต่อนโยบายด้าน ESG งานวิจัยยังได้รวบรวมความคิดเห็นจากบริษัทและนักลงทุนต่าง ๆ ในเอเชียกว่า 300 ราย โดยเฉพาะในจีน ฮ่องกง และสิงคโปร์

 

บริษัทในเอเชียกำหนดกลยุทธ์ด้าน ESG ล้าหลังกว่าบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก รายงานของธนาคารเอชเอสบีซี ระบุว่า ร้อยละ 24 ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชีย มีการกำหนดกลยุทธ์ด้าน ESG เทียบกับร้อยละ 48 ของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก และร้อยละ 87 ของบริษัทในยุโรปและในสหราชอาณาจักร

 

แนวทางใหม่ในการบริหารห่วงโซ่อุปทาน และแรงกดดันต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นแรงขับเคลื่อนด้าน ESG ที่สำคัญสำหรับบริษัทในเอเชีย

รายงานวิจัย พบว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีและผลตอบแทนด้านการเงินเป็นแรงขับเคลื่อน 2 ประการที่ใหญ่ที่สุดสำหรับบริษัททั่วโลกที่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ESG

อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจของบริษัทในเอเชียแตกต่างจากบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก ในขณะที่สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นแรงขับเคลื่อนที่ใหญ่ที่สุด บริษัทในเอเชียรู้สึกว่าแรงกดดันต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแนวทางใหม่ในการบริหารห่วงโซ่อุปทานยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจดำเนินนโยบายด้าน ESG ด้วย โดยอันที่จริง ห่วงโซ่อุปทานเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับ 2 สำหรับบริษัทในเอชียขนาดใหญ่

 

การที่บริษัทในเอเชียกำหนดกลยุทธ์ ESG ที่ช้าจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในอาเซียนหรือไม่

การไม่สอดรับกันของการกำหนดกลยุทธ์ ESG ระหว่างบริษัทในเอเชียและบริษัทในยุโรป และความอ่อนไหวต่อแรงกดดันต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทในเอเชีย และแนวทางใหม่ในการบริหารห่วงโซ่อุปทาน ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาในลักษณะที่จะส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

บริษัทในยุโรปและบริษัทในสหราชอาณาจักรมีความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานกับอาเซียนที่สำคัญและลึกซึ้ง ตัวอย่างเช่น บริษัทในยุโรปหลายแห่งกำลังลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ และยานยนต์ในภูมิภาค และความเชื่อมโยงที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น

  • ในช่วงปี 2543-2559 เงินลงทุนโดยตรงจากยุโรป คิดเป็นร้อยละ 22 ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดที่เข้าสู่อาเซียน
  • งานวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ร้อยละ 51 ของบริษัทในยุโรป มองว่าอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด รองลงมาคือ จีน (ร้อยละ 26)
  • ร้อยละ 86 ของบริษัทในยุโรป คาดว่าปริมาณการค้าและการลงทุนในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของอาเซียน โดยมีการจ้างแรงงานโดยตรงจำนวนกว่า 2.5 ล้านคน ทั้งนี้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มีสัดส่วนการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เกินกว่าร้อยละ 90 ของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของอาเซียน
  • ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสิ่งทอของมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจาก 24.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2544 มาเป็น 71.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2557 โดยในปี 2559 การส่งออกเฉพาะประเทศเวียดนาม คิดเป็นมูลค่า 42 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนอินโดนีเซียมีการส่งออกสินค้าในหมวดสิ่งทอ คิดเป็นมูลค่า 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ
  • ธุรกิจยานยนต์ในประเทศไทยเป็นหนึ่งในภาคธุรกิจสำคัญของเศรษฐกิจไทย ซึ่งยังคงเติบโตต่อเนื่องที่ราวร้อยละ 8.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)

แรงกดดันของบริษัทในเอเชียในการบริหารห่วงโซ่อุปทานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ถูกรวบรวมไว้ในรายงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งจัดทำโดยโครงการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Carbon Disclosure Project) ชี้ให้เห็นว่า ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของธุรกิจถึงร้อยละ 80-90 หรือมากกว่านั้นเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน

 

 

นายแดเนียล คลิแอร์ ผู้อำนวยการบริหารระดับเครือข่ายสาขาทั่วโลก สายงานการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า “ด้วยบทบาทการเป็นผู้นำที่ชัดเจนของยุโรปในการกำหนดนโยบายด้าน ESG จึงเป็นเหตุสมควรที่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ อยากจะเห็นการยกระดับแนวทางการดำเนินนโยบายด้าน ESG ของผู้จัดหาสินค้า (Supplier) เช่นเดียวกัน อาเซียนกำลังกลายเป็น “โรงงาน” แห่งห่วงโซ่อุปทานเพิ่มขึ้นในการเป็นฐานที่มั่นของหลายภาคธุรกิจสำหรับเยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และจีน ซึ่งรวมทั้งอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ และยานยนต์ด้วย โดยบริษัทเหล่านี้กำลังประกาศกลยุทธ์ด้าน ESG ที่ชัดเจนอย่างยิ่ง รวมไปถึงความคาดหวังที่มีต่อ Supplier ของตนเอง ทั้งนี้ บรรดา Supplier ในอาเซียนของลูกค้าในยุโรปที่ไม่ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะตกขบวนหรือถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”

 

ต้นแบบ Green Finance ของบริษัทในเอเชียเป็นการดำเนินโครงการที่เฉพาะเจาะจง

ผลงานวิจัยของธนาคารเอชเอสบีซี พบว่า เมื่อบริษัทในเอเชียดำเนินมาตรการการเงินสีเขียว (Green Finance) ส่วนใหญ่มักเป็นการดำเนินการสำหรับโครงการที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าเป็นการดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์โดยทั่วไป รายงานของธนาคารเอชเอสบีซี ระบุว่า ร้อยละ 78 ของบริษัทในเอเชีย ที่ดำเนินนโยบาย Green Finance นำเงินทุนไปใช้ในโครงการธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นข่าวดี เนื่องจากบริษัทในเอเชียจะมีโอกาสสูงที่จะมีสิทธิในการระดมทุนภายใต้ Asia Pacific Loan Market Association Green Loan and Green Bond Principles ทั้งนี้ การสนับสนุนเงินทุนที่มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมกำหนดให้บริษัทต้องระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินทุน รวมทั้งการกล่าวถึงการดำเนินการต้องมีการติดตามและตรวจสอบ

นายโจนาธาน ดริว หัวหน้าคณะทำงานด้าน Green Finance ในเอเชีย ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า “งานวิจัยบ่งชี้ว่าบริษัทในเอชียที่กำหนดกลยุทธ์ด้าน ESG มีจำนวนน้อยกว่าบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทเหล่านี้มองหาเงินลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ESG ก็น่าจะต้องการนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะโครงการ ซึ่งจะสร้างโอกาสให้แก่ทั้งบริษัทในเอเชียที่จะตอกย้ำจุดยืนของตนเองโดยใช้เงินทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อสื่อสารนโยบายที่มุ่งเน้นความยั่งยืน และเป็นโอกาสสำหรับบริษัทอื่น ๆ นอกเอเชียที่จะได้เปรียบเหนือคู่แข่งท่ามกลาง “ภาวะผู้นำแห่งความยั่งยืน” ยังค่อนข้างหาได้ยาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้อง เนื่องจากเรากำลังเห็นแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่ผู้กำหนดนโยบาย นักลงทุน และลูกค้าในห่วงโซ่อุปทานต้องการความเข้าใจ และความโปร่งใสมากขึ้นว่าบริษัทกำลังจัดการปัญหาด้าน ESG โดยรวมหรือไม่และอย่างไร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุน “ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม” ถูกนำไปใช้อย่างไร และสอดคล้องกับคำประกาศที่เคยให้ไว้หรือไม่”

 

“ดังนั้น ESG ได้กลายเป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขัน และมีความจำเป็นเร่งด่วนอันมาจากการเป็นผลตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่สำคัญสำหรับบริษัทในเอเชียที่จะเดินหน้าจัดการปัญหาในขณะนี้ และสื่อสารแนวทางปฏิบัติด้าน ESG กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดย Green Finance เป็นเครื่องมือชั้นเยี่ยมในการบรรลุเป้าหมายการเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG ด้วยการเปิดเผยข้อมูลแนวทางการปฏิบัติการที่ดีขึ้นผ่านการจัดทำรายงานการประเมินผล เพื่อจำแนกการลงทุนที่ยั่งยืนทางการเงินออกจากการลงทุนที่มีความยั่งยืนทางการเงินน้อยกว่า ซึ่งไม่เพียงแต่จะเปิดแง่มุมใหม่ ๆ ที่สนใจนอกเหนือจากประเภทธุรกิจที่คุณเข้าไปเกี่ยวข้องแล้ว ยังรวมถึงแนวทางที่คุณดำเนินธุรกิจนั้นอย่างไรด้วย ถ้าหากคุณเป็นบริษัทที่เสนอขายพันธบัตรสีเขียว (Green Bond) หรือปล่อยสินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Loan) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือนักลงทุนที่ลงทุนในบริษัทของคุณได้ทราบว่าพวกเขากำลังสนับสนุนธุรกิจที่กำลังใส่ใจต่อปัญหาหรือความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม นั่นย่อมเป็นภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรและมีผลต่อต้นทุนเงินทุนด้วย”

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

วรนันท์ สุทธปรีดา              โทร. 02 614-4609              อีเมลล์ [email protected]

สาวิตรี หมวดเมือง              โทร. 02-614-4606             อีเมลล์ [email protected]