การเรียนรู้ของนักศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ของนักศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21

 

เดิมการเรียนของนักศึกษาไทยยังไม่มีนวัตกรรมและโอกาสทดลองลงสนามจริงตั้งแต่เริ่มเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นปีที่1 มากนัก โชคดีที่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีก้าวไกล ยิ่งเข้าสู่ยุค4.0 จึงทำให้เกิดโมเดลการเรียนรู้ในศตวรรษที่21ขึ้นมา...

โมเดลการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยบวกกับโมเดลธุรกิจ โดยสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ เรียกกันว่า “House Project” ซึ่งคือการจำลองบริษัทขนาดย่อมโดยกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่1 ถึง ปีที่4 โดยนักศึกษาได้แทนคำว่า “บริษัท” เป็นคำว่า “บ้าน” เพื่อสร้างเอกลักษณ์และบ่งบอกถึงความเป็นครอบครัวของสมาชิกในบริษัทนั้นๆนั่นเอง

ศตวรรษที่21 มีครบทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม ช่องทางการสื่อสารที่ทั่วถึงกัน ทำให้โมเดลการเรียนรู้คู่ประสบการณ์จริงช่วยสร้างรายได้ให้แก่นักศึกษาไปแล้วหลายต่อหลายคน มันจะดีแค่ไหนหากเด็กรุ่นใหม่ไฟแรงที่อาจจะเป็นคนในครอบครัวของคุณ ได้เข้ามาเรียนรู้วิธีการทำงาน การทำธุรกิจจริงๆคู่กับการเรียนในมหาวิทยาลัยไปด้วย เป็นเวลา4ปีติดต่อกัน ไม่เพียงแค่ได้ทฤษฎีในหนังสือเรียน แต่สิ่งที่นักศึกษารุ่นใหม่จะได้รับคือความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ก่อนนักศึกษาจากที่อื่น และยิ่งดีไปกว่านั้นเมื่อนักศึกษาได้แรงสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเพื่อไปแข่งขันธุรกิจจริงภายนอก

การเรียนรู้ของนักศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ของนักศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 น.ส.ณัฐสรัญ เดชาอมร น.ส.นิรชา คำสัตย์ น.ส.พนิดา วงษ์สูงและ น.ส.เปรมสิณี ภาคสุวรรณ จากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 จากเวที Startup Thailand League 2018- Songkhla

สิ่งที่น่าสนใจในโมเดลนี้อีกอย่างคือการดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวของนักศึกษาออกมาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่สำคัญนี่คือการเปิด “โอกาส” ให้ตัวนักศึกษาเอง ประเทศไทยจะได้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่มีศักยภาพมากพอที่จะเข้าไปอยู่ในตลาดสากลได้ เหตุผลก็เพราะในโมเดลการเรียนรู้นี้ ทางสาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ได้จัดการแข่งขัน ชิงเงินรางวัลที่จะนำไปต่อยอดเป็นทุนสร้างธุรกิจ โดยจัดการประกวดธุรกิจยอดเยี่ยมเป็นประจำทุกปีเพื่อวัดผลการทำงานและศักยภาพของแต่ละบริษัทในปีที่ผ่านมา

การเรียนรู้ของนักศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21

เพื่อให้คุณได้เห็นภาพมากขึ้น จึงจะขอยกตัวอย่าง “บ้าน Godfrey (ก็อดฟรี)” หนึ่งในบรรดาธุรกิจที่ทาขึ้นมาอย่างจริงจัง กลุ่มนักศึกษามีการทางานเป็นฝ่ายถอดแบบจากการทางานในบริษัทจริง เช่น ทีมบริหาร โดยมีCEO 2 คนด้วยกัน ได้แก่ น.ส.ณัฐสรัญ เดชาอมร และน.ส.นิรชา คาสัตย์ นักศึกษาชั้นปีที่4 รวมทั้งยังมีฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และฝ่ายHR ทาให้สมาชิกในบ้านมีโอกาสได้ลงมือทางานกันจริงๆ พูดถึงสินค้าของ Godfreyมีด้วยกันถึง 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ อย่างแรกคือเซรั่มที่มีสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่ใช้รักษาสิวได้และอีกสินค้าหนึ่งคือครีมบารุงผิวหน้าที่สามารถสกัดเซลล์ผิว ฟื้นฟูผิวหน้าอย่างชุ่มชื่นภายใต้ชื่อ Feodor ซึ่งคุณสามารถดูธุรกิจของนักศึกษากลุ่มนี้ได้จากเฟสบุ๊คGodfrey ที่นี่ https://www.facebook.com/GFacneserum โดยนักศึกษากลุ่มนี้ได้พัฒนาธุรกิจตั้งแต่การจัดสัมมนาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัด workshop startup และออกอีเว้นท์อีกมากมาย จนได้เริ่มมีการส่งออกไปยังต่างประเทศแล้วในปีที่ผ่านมา

การเรียนรู้ของนักศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
ทีมงานบ้านGodfrey ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ

การเรียนรู้ของนักศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
Feodor – New Product ของบ้าน Godfrey

ก่อนที่ธุรกิจแบบนี้จะเกิดขึ้น นักศึกษาทุกคนได้ศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนและนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีที่อยู่รอบตัว ตั้งแต่กระบวนการการสำรวจตลาด ทดลองตลาด ดูความต้องการของลูกค้า จนถึงขั้นตอนผลิตและสร้างคอนเทนท์ทำการตลาดออกไป โดยตั้งจุดมุ่งหมายคือกรเข้าไปทำธุรกิจในตลาดสากลให้ได้การเรียนรู้ในโมเดลนี้มีรุ่นพี่คอยดูแลและสนับสนุนรุ่นน้องให้พัฒนาทักษะรอบด้านเสมอ โมเดลการเรียนรู้ยุคศตวรรษที่21 ของสาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศนี้ เป็นการตอกย้ำการเรียนภาคทฤษฎีด้วยการลงมีปฏิบัติจริง เรียกได้ว่าเล่นจริงเจ็บจริง

นี่สิการเรียนยุคใหม่ เรียนทั้งในหลักสูตรบวกการปฏิบัติจริง สร้างประสบการณ์ก่อนเริ่มชีวิตวัยทำงานตั้งแต่เริ่มเรียนมหาวิทยาลัยก้าวแรก นักศึกษาไทยก้าวไกลด้วยโมเดลการเรียนในรู้ศตวรรษที่21จากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สาขาการจัดการระหว่างประเทศ